แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - นักศึกษา22

หน้า: 1 ... 12 13 [14]
196
ประโยชน์ของค่า Swap
ค่า Swap นี้ถือถ้าในจังหวะที่ค่าเงินผันผวนและมีมูลค่าที่สูงขึ้น คุณก็จะได้ประโยชน์จากมันในรูปแบบของอัตราดอกเบี้ย แต่ว่าไม่มากนัก ซึ่งแน่นอนว่าเงินฝากที่มีมากขึ้นย่อมส่งผลต่อจำนวนเงินที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
นำมาประยุกต์ใช้ในการทำกำไรโดยการ carry trade ซึ่งหมายถึง การดำเนินการดีลที่ตรงข้ามสองดีลพร้อมกันด้วยมูลค่าในวันที่ต่างกัน หนึ่งในดีลปิดตำเเหน่งที่เปิดอยู่เเล้วและอีกดีลเปิดทันทีพร้อมกัน เป็นการรวมสองดีลด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน ซึ่งกลยุทธ์นี้จะใช้งานได้ดีกับคู่สกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่างกันสูงสุด ตัวอย่างเช่น NZD/JPY, AUD/JPY เป็นต้น
ใช้หลักแนวคิดถือ Order buy ข้ามคืน ทำกำไรจากดอกเบี้ย ลักษณะคล้ายๆ กับฝากเงินในธนาคาร ซึ่งมีข้อดีคือจะได้ดอกเบี้ยแบบข้ามคืนครับ



โทษของค่า Swap
โดยทฤษฏีแล้ว Swap มีทั้งบวก ทั้งลบ คือถ้าเราถือ ออเดอร์ Sell ข้ามคืนจะเสียSwap แต่ถ้าถือออเดอร์ Buy ข้ามคืน ก็จะได้ Swap ส่วนอัตราที่ได้กับเสีย ก็แล้วแต่โบรกเกอร์จะกำหนดและแจ้งไว้ โดยส่วนมากโบรกเกอร์ก็จะขอกินค่า swap หน่อย คือถ้าเราเสีย swap โบรกก็จะเก็บเยอะ แต่ถ้าเราได้ swap โบรกก็จะจ่ายน้อยกว่า

ซึ่งโดยปกติแล้ว Swap จะน้อยจนเราไม่ใส่ใจกัน แต่ถ้าโดนคืนวันพุธ จะโดนหนักหน่อย เพราะเขาจะยกเอา Swap ของวันเสาร์กับอาทิตย์ มาคิดรวมไว้ในคืนวันพุธเป็นหลักการการคิดล่วงหน้าในวันหยุด ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการถือออเดอร์ Sell ข้ามคืนในคืนวันพุธนะครับ และขณะเดียวกัน วิธีคิดล่วงหน้าหลายเท่านี้ อาจจะถูกนำไปใช้ในวันหยุดนักขัตฤกษ์ด้วยก็ได้ ซึ่งตรงนี้ควรจะเปิดศึกษารายละเอียดในแต่ละโบรกเกอร์ให้ดีครับ

Swap กับการเทรด Forex
สุดท้ายเลยคือ ค่า Swap กับการเทรด อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าค่า Swap นั้นถือเป็นค่าที่เป็นดอกเบี้ยที่เพิ่มหรือลดเข้ามาในบัญชี จนคุณนั้นอาจตกใจว่ามันคือเงินอะไรหรือว่ามันคือค่าของอะไรกันแน่ ดังนั้น หัวใจที่สำคัญที่สุดของเรื่องนี้คือ การอย่าถือเงินข้ามวันนั้นเอง

จริงๆแล้วเมื่อคุณเริ่มต้นทำการเทรดกับ forex คุณอาจจะไม่ได้พบกับค่า Swap หรืออาจจะมองไม่เห็นหน้าตาของมันเลยล่ะครับ เว้นเสียแต่ว่าคุณมีการถือเงินข้ามวันหรือข้ามคืนขึ้นมา และต้องมีเงินฝากอยู่ในบัญชีค่อนข้างมากเสียด้วยนะ จึงจะสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ และที่สำคัญที่สุดคือ มันอาจแสดงผลออกมาทั้งในส่วนของค่าที่เป็นบวก หรือค่าที่เป็นลบได้ทั้งสิ้น

Swap คืออะไร


Swap คำๆนี้อาจถือเป็นคำที่หลายๆคนที่เข้ามาทำการเทรด forex อาจไม่คุ้นเคย เพื่อให้เกิดความกระจ่างมากยิ่งขึ้น บทความนี้จะมาขยายและอธิบายความ เกี่ยวกับค่า Swap ว่ามีความหมายว่าอย่างไร และเราจะใช้ประโยชน์ หรือป้องกันในเรื่องของค่า Swap อย่างไรบ้าง ติดตามกันครับ

Swap คืออะไร
ค่า Swap (อ่านว่า สวอป)   คือค่าผลต่างของอัตราดอกเบี้ย overnight interest บางทีก็เรียก Rollove ตามคู่เงินที่เราเทรด โดยค่า Swap มีทั้งแบบ Debit or Credit คือมีค่าทั้ง บวก และ ลบ

ดังนั้น Swap ก็คือดอกเบี้ยที่เราจะได้หรือเสียไปให้กับโบรคเกอร์ เมื่อเราทำการเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ข้ามคืน (ช่วงตี 4 – ตี 5 ในเวลาประเทศไทย ซึ่งก็แล้วแต่เวลาของ Server ในแต่ละโบรกเกอร์) ดังนั้น หากคุณไม่ต้องการให้มีค่า Swap ที่เป็นลบเกิดขึ้นกับคุณ ให้พึงระวังในการเปิดออเดอร์ข้ามคืน โดยเฉพาะการเปิดออเดอร์ที่มีเป็นจำนวนหลายๆสัญญา เป็นต้น

Swap คิดค่าเมื่อไหร่
คิดค่าที่ 5 PM ตามเวลาของ New York ตั้งแต่เวลาเปิดจนกระทั่งตลาดปิด คำนวณแบบวันต่อวัน ซึ่งเวลาช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 12 ชั่วโมง โดยทุกจุดที่เข้าเราซื้อ-ขายภายในช่วงเวลาก่อน 5PM จะเกิดค่า  overnight interest

แต่ถ้าซื้อขายเวลา 5.01 PM จะถูกนับไปเป็นอีกวันหนึ่ง และค่า Swap +/- จะโชว์ขึ้นในบัญชีเทรดหลังจากเวลาปิดตลาดประมาณ 1 ชั่วโมง

อัตราค่า Swap นั้นแล้วแต่ที่โบรคเกอร์ของคุณกำหนดไว้ ส่วนใหญ่คุณจะต้องเสียค่า Swap เล็กน้อยจนถึงมาก โดยคืนวันเสาร์และอาทิตย์ไม่มีการคิดค่า Swap แต่จะไปทบในคืนวันพุธแทนซึ่งค่า Swap คืนวันพุธจะมีค่าเป็น 3 เท่าของค่า Swap ปกติ(ซึ่งตรงนี้เองที่หลายคนพลาดแล้วรู้สึกไม่แฟร์) เนื่องจากเป็นการรวบยอดจากคืนวันเสาร์-อาทิตย์มารวมไว้ด้วย



ตัวอย่างค่า Swap

Swap คิดอย่างไร
ค่า Swap คิดจากอัตราดอกเบี้ยของคู่เงินนั้น ๆ เช่น เราเล่นคู่เงิน GbpUsd (เงินปอนด์อังกฤษและเงินดอลลาร์สหรัฐ) โดยปัจจุบัน เงินปอนด์ มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.25% (เป็นอัตราดอกเบี้ยต่อปี ดังนั้นความเป็นจริงเราอาจจะไม่เสียหรือได้เยอะขนาดนั้น)  และ เงินดอลลาร์มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50% หากเรากำลังถือ Order

buy (เข้าไปถือค่าเงินปอนด์) ดังนั้นเมื่อคิดค่า Swap แล้ว 1.25 – 0.50 = 0.75

ดังนั้นหากเราถือ buy ข้ามคืนหรือข้ามสัปดาห์ เราจะได้อัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้ด้วย ในทางกลับกัน หากเราถือ Order Sell เมื่อคิดค่า Swap 0.50 – 1.25 = -0.75

ดังนั้นหากเราถือ Sell ข้ามคืนหรือข้ามสัปดาห์ เราจะต้องเสียส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้ด้วยครับ



ส่วนการเข้าไปดู Swap สามารถเข้าไปดูได้ที่ MT 4 -> เลือก Market Watch -> คลิกขวา เลือก Symbols -> เลือกสกุลเงิน -> กดปุ่ม Properties โปรแกรมจะแสดงค่า Swap Long ซึ่งเป็นค่า Swap สำหรับคำสั่งซื้อ ส่วน Swap Short คือค่า Swap สำหรับคำสั่งขาย และมีหน่วยเป็น pip

ค่า Swap เป็นบวกจะหมายความว่าเราจะได้กำไรเมื่อเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ข้ามคืน ถ้าค่า Swap เป็นลบจะหมายความว่าเราจะขาดทุนเมื่อเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ข้ามคืน

แต่ก็มีบางโบรกเกอร์ที่ไม่คิดค่า Swap แต่ก็อย่าไว้ใจ เขาอาจไปคิดอย่างอื่น ส่วนมากเราไม่ค่อยทันเกมของโบรกหรอกครับ

 ตัวอย่างการคำนวน
เรา ซื้อ EURUSD 1 lot ที่ 1.3700 เมื่อเวลาปิดตลาดตามเวลา 5 PM EST เราจะได้รับ+หรือจ่าย- ค่า Swap เท่าไหร?

EURUSD ราคา ณ 5pm EST: 1.3700
Euro อัตรา overnight interest : 0.78125%
USD อัตรา overnight interest : 0.23700%

ดั้งนั้น: $100,000 x (0.78125% - 0.23700%) / 365 x 1.3700
ค่า Swap = $100,000 x 0.54425% / 500.05 = +$1.0883

ถ้าถือข้ามวัน การคำนวน Swap มีผลต่อกำไร/ขาดทุนนั้นน้อยมาก แต่ผมว่าไม่ติดจะดีที่สุดครับ ถ้าสามารถเปิด/ปิดก่อนเวลา ก็ไม่โดนชาร์จ อยู่ที่ว่า swap จะ เพิ่ม+ หรือ หัก- pip จาก profit ที่เราเทรดได้ต่อวันครับ

รูปแบบการลงทุนทำกำไรจากดอกเบี้ยข้ามคืนที่เรียกว่า SWAP ลักษณะคล้ายๆ กับฝากเงินในธนาคาร ข้อดีของแนวคิดนี้ จะได้รับดอกเบี้ยทุกๆวัน ไม่มีวันหยุด ใน 1 ปีจะได้ดอกเบี้ย 365 วัน ลักษณะแนวคิดการลงทุนนี้ก่อให้เกิดดอกเบี้ยทบต้นที่ไม่มีสิ้นสุด

ค่า swap คือ ค่าผลต่างของอัตราดอกเบี้ย overnight interest บางทีก็เรียก Rollove ตามคู่เงินที่เราเทรด โดยค่า Swap มีทั้งแบบ Debit or Credit มีค่าทั้ง บวก และ ลบ

 

คิดค่า Swap เมื่อไหร่5 PM ตามเวลาของ New York ตั้งแต่เวลาเปิดจนกระทั่งตลาดปิด คำนวนแบบวันต่อวัน ซึ่งเวลาช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 12 ชั่วโมง โดยทุกจุดที่เข้าเราซื้อ-ขายภายในช่วงเวลาก่อน 5PM จะเกิดค่า  overnight interest

แต่ถ้าซื้อขายเวลา 5.01 PM จะถูกนับไปเป็นอีกวันหนึ่ง และค่า Swap +/- จะโชว์ขึ้นในบัญชีเทรดหลังจากเวลาปิดตลาดประมาณ 1 ชั่วโมง

197
การหาจุด Supply zone ที่ดี

ตามหลักก่อนที่ราคาจะปรับตัวขึ้นในรอบใหญ่นั้น ต้องมีนักลงทุนรายใหญ่หรือ “Big players” ที่รู้ข้อมูลบางอย่าง และเข้าสะสม Position ก่อนที่จะดันราคาขึ้นไป โดยการเข้าของพวกนี้จะไม่สามารถเข้าภาพในไม้เดียวได้ ต้องอาศัยการสะสมของให้ครบก่อนที่จะพาราคาปรับตัวขึ้น เรียนว่าช่วง Accumulation zone

         ในช่วงนี้ราคาปรับตัวขึ้นจาก Accumulation zone นั้น คนซื้อในช่วงดังกล่าวยังคงถือ Position ซื้อไว้อยู่ ซึ่งสามารถใช้หลักการ Supple และ Demand ประกอบการเทรดได้ ซึ่งเทรดเดอร์ควรหาช่วงที่เป็น Supply zone ที่ดี เพื่อหาจังหวะการเข้าซื้อ เพื่อเล่นตาม Big players

 




ลักษณะ Supply zone ที่ดี ต้องประกอบด้วย

1) ความผันผวนปานกลาง : ในช่วงที่ความผันผวนมากอาจทำให้ราคาหลุดช่วงดังกล่าวได้ง่าย

2) เวลาสั้น : Supply zone  ที่ดีควรเกิดในช่วงเวลาอันสั้น

3) Break หลอก เป็นช่วงที่ราคาตบหลุด Low ก่อนหน้า แล้วยื้อสักพักหนึ่ง ก่อนที่จะดีดตัวขึ้นใหม่ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ Big players เข้ามาเก็บของอีกครั้ง โดยเป็นการให้รายย่อย Stop loss คลายของออกมา แล้วค่อยดันราคาขึ้นรอบใหม่

4) เป็นจุดที่ยังไม่ถูกทำลาย : คือไม่ควรนับรวมบริเวณที่ผ่านไปนานแล้ว ให้ดูบริเวณรอบล่าสุดที่ผ่านมา ว่าบริเวณที่ยังไม่เคยถูกลบล้าง ถ้าหากถูกลบล้างไปนานแล้วบริเวณนั้นก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะ Position ของเก่าที่ Big players ถือ กับของใหม่ เงื่อนไขแตกต่างกัน (อย่างเช่นไปดูกราฟย้อนหลังเป็น 10 ปี)

 

Supply zone กับการเทรด คืออะไร
 

ต้องเข้าใจหลักการเคลื่อนไหวของราคาก่อนว่า การที่ราคาขึ้นนั้นมาจาก แรงซื้อ มากกว่า แรงขาย คือ ซื้อ มากกว่า ขาย ในแนวโน้มขาขึ้นที่นิยมเรียกกันว่าช่วง Accumulation หรือ Demand zone ส่วนในช่วงที่ แรงขาย มากกว่า แรงซื้อ ในแนวโน้มขาลงเรียกว่าช่วง Distribution หรือ Supply zone

 

   หลัก Supple และ demand อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของราคา ถ้าคนต้องการซื้อสิ่งของ สิ่งหนึ่งเยอะ และปริมาณสิ่งของนั้นน้อยกว่าความต้องการ ราคาสิ่งของนั้นก็จะขยับขึ้นเพื่อให้เหมาะสม ส่วนในทางตรงกันข้าม ถ้าสิ่งของนั้นคนต้องการขาย และปริมาณสิ่งของนั้นเยอะกว่าความต้องการมาก ก็จะทำให้ราคาของสิ่งของนั้นปรับตัวลดลง

Demand หมายถึง "อุปสงค์" นั่นก็คือความต้องการ และสำหรับตลาดทุนมันก็คือ ความต้องการซื้อ ส่วน Supply หมายถึง "อุปทาน" ซึ่งก็คือ ความต้องการขาย
และในบทความนี้เราจะกล่าวถึงวิธีการเทรดโดยใช้หลักการดู Demand & Supply ซึ่งหลายคนอาจยังสงสัยถึงวิธีการดู ว่าจะดูอย่างไร หายังไง มันต่างจากแนวรับแนวต้าน (Support & Resistance) อย่างไร และจะใช้อย่างไรให้ได้ผล
การใช้งานแนวรับแนวต้านนั้น เราจะวางตามสวิง ไม่ว่าจะแนวนอนหรือแนวเฉียง ซึ่งเป็นเรื่องเบสิคที่ฝึกไม่ได้ยาก แต่เมื่อใช้บ่อย ๆ ก็จะมีความชำนาญมากขึ้น สามารถเลือกวางในแนวที่มีนัยสำคัญได้ดีขึ้น แต่ในการหา Demand & Supply นั้นต่างออกไป เราจะไม่มองเป็นแนวแต่เราจะมองเป็นโซนแทน ซึ่งถ้ารู้จักคัดกรองโซนว่าอันไหนมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ใช้ให้ถูกต้องก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการหาตำแหน่งเข้าเทรดได้ดีขึ้น
อย่างที่กล่าวข้างต้น "Demand คือความต้องการซื้อ" และ "Supply คือความต้องการขาย" แต่ทุกวันก็มีการซื้อการขายกันตลอดทั้งวัน แล้วจะดูยังไงว่าตรงไหนคือโซน ซึ่งอันที่จริงแล้ว หลักการหาดีมานซัพพลายนั้นไม่ยากเลย เริ่มด้วยการมองหาจุดที่มีแรงซื้อ (Demand) และจุดที่มีแรงขาย (Supply) ที่แข็งแกร่ง และมองหาต้นกำเนิดของแรงซื้อขายเพื่อวางโซน มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1. มองหาแท่งเทียนแท่งใหญ่ ๆ ยาว ๆ ซึ่งเป็น Strong Move ซึ่งแท่งเทียนลักษณะนี้มีความหมายในตัวเองว่า เป็นแท่งเทรนด์ที่แข็งแกร่ง และต้องแข็งแกร่งกว่าแท่งเทียนปรกติ (ใหญ่กว่าแท่งเทียนที่วิ่งตามเทรนด์แบบปรกติประมาณ 3 เท่าหรือมากกว่านั้น)
2. มองที่จุดเริ่มต้นของแท่ง Strong Move และมองหาแท่งเทียนที่มีความหมายถึงการไซด์เวย์ ได้แก่พวก แท่งเทียนที่มีบอดี้เล็ก ๆ ทั้งหลาย รวมถึงพวกแท่งพินบาร์ต่าง ๆ (ถ้าเป็นพวกพินบาร์ก็จะยิ่งดี เพราะไส้เทียนของพินบาร์ ได้บ่งบอกถึงการ Rejection ในตัวเองอยู่แล้ว ) ด้วย ซึ่งตรงนี้สำคัญ เพราะเราจะใช้ระยะของแท่งเทียนเล็ก ๆ เหล่านี้เพื่อเป็นโซนของดีมานและซัพพลาย หรือที่เรียกกันว่า "Base" นั่นเอง ซึ่งในส่วนของ Base นี้ จะมีเพียงแท่งเทียนแท่งเดียว หรือหลายแท่งก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน 6 แท่ง และจำนวนแท่ง Base ยิ่งน้อยก็ยิ่งดี
เมื่อเราเจอสิ่งที่เราตามหาแล้วก็ต้องทำการวางโซนเพื่อจะใช้ประโยชน์ในอนาคต โดยการใช้ Rectangle ที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานช่วยอำนวยความสะดวกของ MT4 ซึ่งการพิจารณาว่าจะวางจากตรงไหนถึงตรงไหนนั้นก็เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เช่นกัน บางคนอาจวางโซนแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย อยู่ที่วิจารณญาณและความชำนาญของแต่ละคน เบื้องต้นนี้สำหรับมือใหม่ให้ลองหัดใช้หลักการวางแบบโซนแบบง่าย ๆ มีดังนี้คือ
1. .ในกรณีของทั้ง Demand (ด้านล่าง) และ Supply (ด้านบน) หากแท่งเทียนหรือชุดแท่งเทียนที่เป็น base ไม่มีไส้เทียนหรือมีเพียงนิดหน่อย ก็ใช้ Rectangle ลากคลุมทั้งตัวและไส้เทียนได้เลย โดยลากยาวไปทางขวาของกราฟ เพื่อรอการใช้งานในอนาคตต่อไป
2. หากเป็น Demand และแท่งเทียนหรือชุดแท่งเทียนที่เป็น base นั้น มีไส้ เราจะลากจากไส้ด้านล่างมาจนถึงคลุมตัวบอดี้ของแท่ง base เท่านั้น หากมีไส้ด้านบน เราจะไม่เอา และในทางตรงกันข้าม หากเป็น Supply เราจะเอาเฉพาะไส้ด้านบนจนคลุมตัวบอดี้เท่านั้น ไม่เอาไส้ด้านล่าง
วิธีการหาและวางโซนก็มีง่าย ๆ เพียงเท่านี้ค่ะ ต่อมาก็มาถึงการคัดกรองซึ่งตรงนี้ขอกล่าวถึงชื่อเรียกและความหมายของโซนแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. Fresh หมายถึงโซนที่เพิ่งเกิด ยังสดใหม่อยู่ ยังไม่เคยถูกทดสอบมาก่อนเลย
2. Non-Fresh หมายถึงโซนที่เคยถูดทดสอบแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง
3. Used up หมายถึงโซนที่ราคาเคยถูกทดสอบหลายครั้งแล้ว ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของโซนอ่อนลงด้วย เพราะเมื่อราคายิ่งวิ่งมาทดสอบหลายครั้ง ก็หมายความว่านักลงทุนพยายาที่จะดันราคาผ่านโซนนั้นไปให้ได้ ทำให้มีโอกาสที่ราคาจะทะลุโซนมากขึ้นไปด้วย (ข้อนี้จะเหมือนหลักการใช้แนวรับแนวต้าน นั่นก็คือหากราคายิ่งมาทดสอบแนวมากแค่ไหน ก็มีโอกาสมากขึ้นเท่านั้นที่ราคาจะทะลุแนว เหมือนกับเวลาที่เราพยายามทำลายกำแพง เราก็จะทุบย้ำ ๆ เข้าไปที่กำแพงเพื่อให้มันทะลุ ดังนั้น ตามตำราเก่าที่บอกว่า แนวหรือโซน ยิ่งทูกทดสอบมากยิ่งแข็งแกร่งนั้น ไม่จริงค่ะ ลืมไปได้เลย )
4. Original หมายถึงโซนที่เกิดใหม่ ในจุดที่ไม่ซ้ำกับโซนเก่า ๆ ในอดีตเลย
5. Original and Fresh หมายถึงโซนที่เกิดใหม่ ไม่ซ้ำกับโซนเก่า ๆ และยังไม่เคยถูกทดสอบด้วย
เริ่มมึนรึยังคะ คงยังนะคะจำไม่ยาก ชื่อและความหมายตรงตัว มาต่อกันค่ะ ทีนี้มาดูกันต่อว่า Demand & Supply มีแบบไหนกันบ้าง
1. Rally Base Rally (RBR) มีลักษณะเป็นเทรนด์ขาขึ้นที่มาพักตัว (Base) สร้างโซน Demand ทิ้งไว้แล้วราคาก็วิ่งขึ้นต่อไปตามเทรนด์เดิม
2. Rally Base Drop (RBD) มีลักษณะเป็นเทรนด์ขาขึ้นที่พักสร้างโซน Supply แล้วราคากลับตัวลง
3. Drop Base Drop (DBD) มีลักษณะเป็นเทรด์ขาลงที่หยุดพักสร้างโซน Supply แล้วราคาวิ่งลงต่อตามเทรนด์เดิม
4. Drop Base rally (DBR) มีลักษณะเป็นเทรนด์ขาลงที่หยุดพักตัวสร้างโซน Demand แล้วราคาดีกลับตัวขึ้น
ทีนี้เกี่ยวกับ Action กันบ้าง ว่ามีแบบไหนบ้าง แต่ละแบบควรเล่นอย่างไร
First touch หมายถึง การทดสอบโซน (Fresh) ครั้งแรก ซึ่งจะมีโอกาสสูงที่สุดที่ราคาจะดีดตัวกลับ เป็นสิ่งที่ดิฉันชอบมาก โดยเฉพาะถ้าเป็น ฝั่งเดียวกับเทรนด์ก็ยิ่งดี นั่นหมายถึงกรณีที่เป็น DBD, RBR (ราคาวิ่งมาเป็นเทรนด์แล้วหยุดสร้าง Base เป็นโซน (Fresh) แล้ววิ่งไปต่อซักระยะแล้วกลับมาทดสอบโซนอีกครั้ง (First Touch)ก่อนไปต่อตามเทรนด์เดิม
Swap Zone หมายถึง การเปลี่ยนหน้าที่ของโซน โดยใช้หลักการเดียวกันกับการใช้แนวรับแนวต้าน (ต้านกลายเป็นรับ รับกลายเป็นต้าน) คือ เมื่อราคาทะลุโซนไปได้แล้วอย่างสมบูรณ์ และราคากลับมาทดสอบโซนเดิมนั้นอีก โซนนั้นจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นตรงข้าม นั่นคือ Demand กลายเป็น Supply และ Supply จะกลายเป็น Demand แทน ซึ่งที่เป็นจุดเด่นคือ ช่วงที่ราคาจะทะลุโซน ต้องทะลุไปเลย ไม่สร้างมาจอดสร้างโซนใหม่ก่อนทะลุ
Remove Zone หรือ Clear Zone เป็นลักษณะของโซนที่ถูกกำจัด เมื่อเกิดแล้วราคาจะไปยาว ๆ ไม่กลับมาทดสอบอีกแล้ว เราก็รอไหลตามเทรนด์ได้เลย ลักษณะเด่นคือ ก่อนที่ราคาจะทะลุโซนนั้นๆ จะสร้างโซนใหม่ก่อน กรณีที่โซนนี้นเป็น Demand ราคาก็จะวิ่งมาชะงักที่โซนก่อน แล้วสร้าง โซน Supply ใหม่ ก่อนที่จะวิ่งทะลุโซนไป และในทางตรงกันข้าม ถ้าโซนนั้นเป็น Supply ราคาก็จะสร้าง Demand ก่อนที่จะวิ่งทะลุไป
Demand & Supply จะใช้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหากใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ
* การเลือกเทรดจากโซนที่เป็นฝั่งเดียวกับแนวโน้ม จะเพิ่มโอกาสการทำกำไรได้มากขึ้น ซึ่งส่วนมากแล้วจะไม่ต้องนั่งลุ้นรอนาน ออเดอร์ก็จะบวกได้ไม่ยาก และยังมีโอกาสได้รันกำไรยาวด้วย หากว่าเทรนด์เพิ่งกลับตัวมาได้ไม่นาน (ถ้าเข้าเทรดได้ในเวฟ 3 ของ Elliott Wave จะมีโอกาสรันกำไรได้ยาวจนเวฟ 5)
* การคัดกรองคุณภาพแท่งเทียนที่เป็น Base อย่างที่กล่าวข้างต้น ถ้าเป็นพวกพินบาร์ที่มีความหมายถึงการกลับตัวแบบแท่งเดี่ยวได้อย่าง Hammer, Invert Hammer , Hanging Man, Shooting Star ก็จะทำให้โซนนั้นมีคุณภาพมากขึ้น
* ยิ่ง Time Frame ใหญ่ก็ย่ิงมีนัยสูงขึ้น การใช้ Demand & Supply ใน TF เล็ก ๆ ก็ใช้ได้ แต่มีโอกาสผิดพลาดสูงกว่า และระยะในการทำกำไรก็สั้นกว่าด้วย หากจะใช้สำหรับการ Scalping แนะนำว่าอย่าต่ำกว่า TF 15m และเน้นเล่นเฉพาะ First Touch และจะดีกว่าถ้าเทรดฝั่งเดียวกับเทรนด์
* หากโซนเกิดตามตามจุดกลับตัวของ Chart Pattern ก็จะยิ่งมีโอกาสสูงขึ้นที่ราคาจะกลับตัวได้ง่าย และแรง อย่างเช่น เกิดที่ขาแรกของ Double Top/ Bottom เราก็สามารถวางแผนและดักรอเข้าที่ขาสองได้ โดยเพียงดักรอแท่งเทียนกลับตัวซักแท่งก็ตัดสินใจเข้าเทรดได้ไม่ยาก เป็นต้น


https://www.youtube.com/watch?v=wxq96UIF8X0

198
ข้อดีของการใช้ stop-loss (SL)
สำหรับข้อดีของการตั้งค่า stop-loss (SL) ไว้เสมอในทุกๆการเทรด forex ของคุณมีดังนี้

1.ช่วยให้คุณมีการเทรดที่เป็นระบบ
        คำว่าเทรดอย่างเป็นระบบคือ เป็นการกำหนดระบบมาเสียตั้งแต่แรกว่า หากต้องการเทรด forex ในตานั้นๆเพื่อการทำกำไร จะต้องกำหนดจุดขาดทุนไว้ที่เท่าไหร่ เพื่อที่ว่า จะทำให้คุณไม่เจออาการล้างพอร์ตในช่วงที่กราฟมีการสวิงตัวอย่างรุนแรง

2.ปกป้องเงินของคุณ
        แน่นอนว่า stop-loss (SL) ช่วยปกป้องเงินของคุณในยามที่กราฟเกิดอาการรวน หรือรีโควทขึ้นมา คุณจะได้ไม่ต้องเสียเงินไปโดยใช่เหตุในช่วงเวลาดังกล่าว และผมบอกเลยครับว่า ทุกครั้งที่คุณเทรด ห้ามลืมเด็ดขาดในการตั้ง stop-loss (SL)

3.ปกป้องกำไรของคุณ
คุณคงไม่ต้องการให้กำไรที่คุณกำลังเริ่มทำของคุณหายไปหมดเลย เพียงเพราะกราฟเกิดการดีดกลับในทีเดียว ดังนั้นจงเลือกปกป้องกำไรของคุณด้วยการเลื่อนค่า stop-loss (SL) ออกมาไว้เหนือเส้นเทรดสัญญาของคุณ เพียงเท่านี้คุณก็จะปลอดภัยและได้กำไรจากการเทรดอย่างแน่นอน

stop loss (SL) คืออะไร (4)

4.ทำให้คุณละสบายตาจากจอได้
ในเมื่อทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้ว คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งเฝ้าหน้าจอแต่อย่างใด คุณสามารถปล่อยให้ระบบทำการเทรดไปเรื่อยๆ และเมื่อถึงจุดที่คุณสามารถทำกำไรได้แล้ว ก็จะได้กำไรทันที โดยที่ไม่ต้องมากังวลอะไรทั้งสิ้น     

stop-loss (SL) กับ Cut loss
stop-loss (SL) เราจะใช้ในเมื่อเราเป็นคนกำหนดจุดขาดทุนตั้งแต่แรกด้วยตนเอง แต่ถ้าเป็น Cut loss อันนี้จะเป็นการทำต่อเมื่อเราเทรดไปแล้วไม่ได้กำหนดจุด stop-loss (SL) จนกราฟเกิดการขาดทุนลงไป อย่างนี้เราต้องคิดเรื่องการ Cut loss ไว้แทนครับ



stop-loss (SL) คืออะไร
สำคัญคำต่อไปที่ช่วยให้การเทรด forex ของเรานั้นสามารถทำเงินและทำกำไรได้อย่างรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น คือคำว่า stop-loss (SL) ซึ่งคำนี้นั้นหลายๆคนอาจเอาไปสับสนกับการใช้คำว่า Cut loss ดังนั้นบทความนี้เราจะไปเจาะลึกการใช้คำว่า stop-loss (SL) ในการเทรด forex ว่ามีวิธีการในการใช้อย่างไรบ้าง

stop-loss (SL) คืออะไร
คำว่า stop-loss (SL) คือการกำหนดจุดของการขาดทุนไว้ ว่าต้องการปิดสัญญา ที่เท่าไหร่ ซึ่งในการเทรด forex จุดของการ stop-loss (SL) อาจเป็นการหยุดขาดทุนกำไรก็ได้ หมายความว่าคุณได้กำไรอยู่แล้ว แต่ป้องกันพีคดิ่งลงมากเกินไปก็ตั้งค่า stop-loss เอาไว้ เช่น ตอนนี้บวกอยู่ 10 จุด แต่เราตั้ง Stop-loss ไว้ที่บวก 5 จุด เมื่อกราฟขึ้นสูงแล้วและกำลังลงไปในทางที่จะติดลบมากๆมันก็จะปิดที่บวก 5 จุดครับ ซึ่งการตั้งค่า stop-loss (SL) ถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่เป็น Must Do(ต้องทำ) ในการเทรด forex ของคุณในทุกๆตา เพื่อป้องกันการขาดทุนครับ


4 เทคนิค Stop Loss แบบเทรดเดอร์ชั้นเซียน

ผมกล้าบอกได้เลยว่าการ Stop Loss เป็นสิ่งสำคัญมากในการเทรด

เพราะอะไรรู้ไหมครับ !?

เพราะ การ Stop Loss นี่แหละครับ คือเครื่องมือที่ทำให้เราไม่ขาดทุนหนัก

เปลี่ยนการ ขาดทุน ไปเป็น ต้นทุน ในการทำธุรกิจการเทรด

ทำให้เราสามารถวางแผนการเทรดได้อย่างชัดเจน

และเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ชั้นเซียนทุกคน “พูดตรงกันว่าต้องมี”

คุณจะทำกำไรได้ในระยะยาวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า คุณ Stop Loss เป็นหรือเปล่า

และสิ่งที่ผมนำมาแบ่งปันทุกท่านในบทความนี้ คือ

เทคนิคการ Stop Loss ที่เหล่าเทรดเดอร์ชั้นเซียนใช้ครับ!!

ในตลาด Forex ที่การเทรดมีการใช้ Leverage ทำให้การเคลื่อนไหวของราคาเพียงนิดเดียว ก็สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล แต่ในทางกลับกัน การขยับผิดไปจากที่เราคิดไว้ ก็สร้างการขาดทุนมหาศาลให้เราได้เช่นกัน ถ้าเราไม่รู้วิธีใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ เราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ 1 ในเทรดเดอร์ชั้นเซียนที่กล่าวถึงการ Stop Loss ได้ดี ก็คือ Bennett McDowell ผู้เขียนหนังสือ A Trader’s Money Management System: How to Ensure Profit and Avoid the Risk of Ruin ผมแนะนำให้เทรดเดอร์ทุกท่านลองไปหาอ่านกันดูครับ เขากล่าวว่า…

เมื่อไรที่คุณเทรดโดยไม่มี Stop Loss ก็เหมือนกับการที่คุณกำลังขับรถไปยังจุดหมาย โดยไม่มีเบรค!!
ลองคิดภาพตามดูครับว่า…ถ้าคุณขับรถแล้วคุณไม่มีเบรคให้ใช้ ผลลัพธ์จะเป็นยังไง คำตอบที่ได้ ผมคงไม่ต้องบอกนะครับ

ในเมื่อเทรดเดอร์อย่างเรา ๆ รู้ถึงความสำคัญของเครื่องมือหยุดการขาดทุนแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่เทรดเดอร์หลายต่อหลายคนยังเข้าใจผิดเรื่องเทคนิคการ Stop Loss ยังมีอยู่มาก ทำให้พวกเขายังได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจ และสิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ เป็นเทคนิคที่ผมศึกษา จากเทรดเดอร์ชั้นเซียนหลาย ๆ คน ทั้งจากหนังสือและเว็ปไซต์ต่างประเทศ ที่เทรดเดอร์ชั้นเซียนหลาย ๆ คน นำมาแบ่งปัน และนำมาทดลองใช้กับตัวเอง ซึ่งพบว่าได้ผลดี จึงนำมาแบ่งปันทุกท่านกัน และ นี่คือ 4 เทคนิค Stop Loss แบบเทรดเดอร์ชั้นเซียน ครับ

ก่อนจะไปพบกับ 4 เทคนิค Stop Loss แบบเทรดเดอร์ชั้นเซียน ถ้าคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ Share บทความนี้ ให้กับเพื่อน ๆ ของคุณอ่านด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

เทคนิคที่ 1 : ไม่กำหนด Pips แบบเดาสุ่ม เมื่อตั้ง Stop Loss

นี่คือข้อแรกที่สำคัญมาก แต่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ นั่นก็คือ การตั้ง Stop Loss ที่ดี ไม่ใช่การตั้ง Stop Loss โดยกำหนด Pips แบบเดาสุ่ม
การกำหนด Pips แบบเดาสุ่มเป็นยังไง ? อธิบายง่าย ๆ เช่น สมมติว่าเราเทรดคู่เงิน EURUSD แล้วกำหนดไปว่า ตั้ง Stop Loss ที่ 50 pips ละกัน โดยไม่มีที่มาที่ไปที่อธิบายได้อย่างมีเหตุผลว่าทำไมถึงตั้ง Stop Loss ที่จุดนี้ จากประสบการณ์ที่ผมเจอ คือ ทุกคนจะอธิบายตรงกันว่า “คิดว่าราคาไม่น่าจะวิ่งมาชนจุด Stop Loss นี้” ผมบอกได้เลยว่า “ความคิดนี้ผิดอย่างแรง!!”
ผมขอตอบเลยว่า ราคาวิ่งไปได้ทุกที่ ที่มันอยากจะไปครับ !! เพราะ นี่คือธรรมชาติของตลาด Forex ตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ความคิดของคุณ (ที่ยังฝึกฝนมาไม่ดีพอ) ไม่มีทางชนะ พวกเทรดเดอร์ชั้นเซียนที่คุมเงินหลายล้านเหรียญได้!!
สิ่งที่ผมต้องการจะบอกก็คือ มันมีวิธีที่ดีกว่า การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม ครับ ซึ่งผมจะอธิบายในหัวข้อถัดไป แต่ผมอยากให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้ จำให้ขึ้นใจเลยว่า…อย่าตั้ง Stop Loss เพราะ ตัวเองคิดว่า… เด็ดขาดครับ จุด Stop Loss ที่คุณตั้ง ต้องมีเหตุผล อธิบายได้ ไม่ใช่เกิดจากการคาดเดา ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ไม่งั้นคุณจะโดน Stop Loss บ่อย จนขาดทุนหนักแล้วจิตคุณจะตก จนไม่มี Focus ในการเทรดเลยครับ


เทคนิคที่ 2 : ให้ตลาดเป็นตัวกำหนดจุด Stop Loss

ถ้าไม่ให้ตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่มเอาเอง แล้วต้องตั้งยังไงอ่ะ !? ผมว่านี่คงเป็นคำถามคาใจของเทรดเดอร์หลาย ๆ คน
คำตอบก็คือ คุณต้องให้ตลาดเป็นตัวกำหนดจุด Stop Loss ครับ ตลาดจะเป็นตัวบอกคุณเองว่า คุณควรจะตั้งจุด Stop Loss ตรงไหน เพราะ คุณต้องไม่ลืมว่า ราคาที่เคลื่อนไหวในตลาด ก็คือ ผลจากการกระทำของเทรดเดอร์คนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทรดเดอร์รายใหญ่ ๆ ที่มีจำนวนเงินมากกว่าเราหลายเท่ามาก
ทีนี้เมื่อคุณรู้แล้วว่า แนวคิดของเทรดเดอร์เก่ง ๆ คือ การตั้ง Stop Loss ตามจุดที่ตลาดบอก สิ่งที่คุณจะพบเหมือนผมข้อแรกก็คือ คุณจะโดน Stop Loss น้อยลง หรือ โดน Stop Loss ยากขึ้น และ คุณจะยังมี Order ที่เปิดถูกทาง (แต่ไม่โดน Stop Loss) มากขึ้นครับ
นี่แหละครับ คือ ข้อดีของการให้ตลาดเป็นตัวบอกว่าเราควรจะตั้ง Stop Loss ตรงไหน
แต่ประเด็นก็คือ แล้วไอ้ที่บอกว่า ตั้ง Stop Loss ตามจุดที่ตลาดบอกนี่ล่ะ มันคืออะไร ไม่เห็นเข้าใจ!!?
ตอนที่ผมไปค้นคว้าจากเทรดเดอร์เก่ง ๆ แรก ๆ ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนทุกท่านนี่แหละครับ งง มาก ว่ามันคืออะไร
แต่สุดท้ายก็ได้คำตอบครับ คำตอบนี้ผมนำมาลองใช้เองก็พบว่ามีข้อดีหลายอย่างมาก
แนวคิดของเทรดเดอร์ชั้นเซียนที่ว่า “ให้ตลาดเป็นตัวกำหนดจุด Stop Loss ก็คือ ตั้งตามแนวรับ-แนวต้าน นั่นเองครับ!!” 
แนวรับ-แนวต้าน นี่แหละครับ คือ ร่องรอยจากการกระทำที่เทรดเดอร์คนอื่น ๆ ทำไว้ เป็นจุดที่เทรดเดอร์เหล่านั้นตัดสินว่า “จะไม่ให้ราคาวิ่งเกินจากจุดนั้น” หากเราเข้าใจข้อนี้ ชีวิตเราจะง่ายขึ้นมากครับ
ทำไมชีวิตถึงง่ายขึ้น ? เพราะ คุณสามารถใช้จุดเหล่านี้ เป็นจุดตั้ง Stop Loss ได้เลย โดยที่ไม่ต้องคาดเดาเอาเอง (เพราะตลาดบอกไว้อยู่แล้ว)


เทคนิคที่ 3 : Risk : Reward ต้องมาก่อน

เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องสำคัญที่เทรดเดอร์อย่างเรา ๆ ต้องรู้เลยครับ เพราะ จากประสบการณ์ที่ผมศึกษาทั้งแนวคิดและวิธีการเทรดของเหล่าเทรดเดอร์ระดับโลก ไม่มีคนไหน ไม่พูดถึงเรื่อง Risk : Reward เลย แม้แต่คนเดียว!!
Risk : Reward แปลเป็นไทยว่า ผลตอบแทนต่อความเสี่ยง มักเทียบเป็น จำนวนเท่าของความเสี่ยง เช่น หากพูดว่า Order นี้มี Risk : Reward ที่ 1:2 หมายความว่าถ้า Order นั้น ชนะ จะได้กำไรเป็น 2 เท่าของความเสี่ยง โดย Risk : Reward ย่อว่า RR
แล้ว Risk หาจากไหน ? Risk นั้นมักจะเป็นจำนวนเงินที่ได้จากแนวคิดเรื่อง Money Management ครับ ซึ่งเราเรียกว่า R Value หรือ Risk per Trade เช่น พอร์ต 10,000 $ มี Risk per Trade = 500 $ หมายความว่าทุกครั้งที่เทรดจะเสี่ยง เท่ากับ 500 $ เสมอ สำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง R Value ผมแนะนำบทความ 4 หัวใจสำคัญของ Money Management ครับ ผมเขียนอธิบายเรื่อง R Value ไว้แล้ว
แล้วเทรดเดอร์อย่างเรา ๆ ควรจะตั้ง RR เท่าไร ? เทรดเดอร์ระดับโลกแนะนำว่า คุณไม่ควรตั้ง Risk : Reward ต่ำกว่า 1:2 ถ้าคุณอยากทำกำไรได้ในระยะยาว หมายความว่า ผลตอบแทนต่อความเสี่ยง ในแต่ละ Order ของคุณ ไม่ควรต่ำกว่า 2 เท่า ของความเสี่ยง
ตัวอย่างเช่น พอร์ต 10,000 $ R = 500 $ ถ้าตั้ง Risk : Reward ที่ 1 : 2 แปลว่า ทุกครั้งที่คุณเสี่ยง 500 $ คุณมีโอกาสได้เงิน 1,000 $ (2 เท่าของ 500 $) การคิดในทำนองนี้ ทำให้เราควบคุมผลตอบแทนและความเสี่ยงได้ง่ายขึ้นมาก ถ้าคุณลองนำมันไปใช้คุณจะรู้ทันทีว่า “ชีวิตคุณง่ายขึ้นเยอะ” 
การตั้ง Stop Loss ทุกครั้งเราต้องคำนึงถึง Risk : Reward เสมอ เพราะ ถ้าจุดที่ตั้ง SL ไกลเกินไปจะทำให้ RR ต่ำลง ราคาต้องวิ่งไกลจึงจะ Take Profit ตามที่เราต้องการ เมื่อราคาต้องวิ่งไกลโอกาสถึงจุด Take Profit ก็จะน้อยลง
ดังนั้น การตั้ง Stop Loss ทุกครั้ง ทั้งจุดเข้า จุดออก และจุด Stop Loss ต้องสัมพันธ์กัน พูดง่าย ๆ คือ คุณต้องวางแผนทุกอย่างไว้ก่อนเข้าเทรดแล้วนั่นเองครับ

เทคนิคที่ 4 : Risk:Reward, Stop Loss และ Position Size รวมเป็นหนึ่ง

มาถึงเทคนิคสุดท้าย เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ Method (วิธีที่คุณใช้เทรด) รวมกับ Money Management ได้อย่างลงตัว
ถึงแม้เราจะรู้วิธีเทรดอย่างชำนาญ แต่หากไม่มีการนำ เทคนิคการบริหารพอร์ตมาใช้ ก็ยากที่จะเทรดได้กำไรในระยะยาว (ซึ่งส่วนใหญ่จะเจ๊งก่อนตลอด) เพราะ เราไม่รู้ว่า เราต้องเปิดกี่ Lot เพื่อให้เหมาะสมกับ ความเสี่ยงที่กำหนดไว้ 
เทคนิคนี้จึงเป็นเทคนิคสำคัญที่เทรดเดอร์ชั้นเซียนบอกว่า ใช้เสมอ !! วิธีนี้จะทำให้คุณเปลี่ยนการนับ ผลตอบแทน จาก เป็น Pips หรือ เป็นจำนวนเงิน ไปเป็น Risk : Reward ได้
แล้วทำยังไง ? เรามาดูวิธีกันครับ ขั้นแรกเลยคุณต้องมี R Value ประจำตัวก่อน เพราะ R Value นี้จะนำไปใช้ในทุก ๆ Order ที่คุณเปิดว่า คุณต้องเปิดกี่ Lot หากตั้ง Stop Loss ณ จุดนั้น

สรุป การ Stop Loss เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราไม่ขาดทุนหนัก ทำให้เราสามารถวางแผนการเทรดได้อย่างชัดเจน และเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ชั้นเซียนทุกคน “พูดตรงกันว่าต้องมี” คุณจะทำกำไรได้ในระยะยาวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า คุณ Stop Loss เป็นหรือเปล่า และสิ่งที่ผมนำมาแบ่งปันทุกท่านในบทความนี้ คือ เทคนิคการ Stop Loss ที่เหล่าเทรดเดอร์ชั้นเซียนใช้ครับ!! ลองเอาไปใช้กันดูนะครับ ผมรับรองว่า ชีวิตคุณจะง่ายขึ้นเยอะเลย เพราะ ทั้ง 4 เทคนิคเป็นสิ่งที่ผมค้นคว้าและศึกษามาจากเทรดเดอร์หลาย ๆ คน ลองนำมาทดลองใช้เองและพบว่า มันเป็นวิธีที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ได้ผลจริง (เพราะ จริง ๆ แล้วมีวิธีการ Stop Loss หลากหลายมาก ๆ)

https://www.youtube.com/watch?v=TvOkNyUtAh4

199
กระทู้นี้เรามีหลักการดีในการจำมาฝากกันครับ

order แบบ Limit  (Buy Limit , Sell Limit) คือ ซื้อถูกๆ - ขายแพงๆ เหมือนกับการซื้อขายของทั่วๆไป ที่เราย่อมต้องการซื้อของเข้ามาถูกๆ และต้องการขายของออกไปแพงๆ

order แบบ stop  (Buy Stop , Sell Stop) คือ ซื้อแพงๆ - ขายถูกๆ ขัดกับการซื้อขายของทั่วๆไป


ไปอ่านเจอการประยุกต์ใช้ pending order อันนึงคือ การนำไปเล่นกับข่าวแรงๆสีแดง โดยก่อนข่าวออกประมาณ 1 นาที  ตั้ง order แบบ Sell stop  ต่ำกว่าราคาปัจจุับัน  และ Order แบบ Buy stop สูงกว่าราคาปัจจุับัน เพื่อดักทางข่าว  ส่วนจะตั้งห่างเท่าไหร่  แล้วแต่ความผันผวนของค่าเงินคู่ที่เราเล่น 

 - ถ้าตั้งไว้ใกล้เกินไป โอกาสที่กราฟจะเหวี่ยงขึ้นลงมาเก็บทั้ง buy และ sell  ก้มี  ซึ่งจะกลายเป้นเราเปิดทั้งสองด้าน เป็นการคาน  เราก็จะไม่ได้กำไร
 - ถ้าตั้งไว้ห่างเกินไป จะปลอดภัยกว่าในการเกิดการคาน แต่ก็เสียโอกาสในการทำกำไรไปบ้าง

ข่าวที่เหมาะสมในการใช้ pending order ดัก  คือข่าวสีแดงที่มีความสำคัญมากๆ และเป็นตัวเลขชัดเจน ซึ่งตลาดสามารถตีความทิศทางได้ง่าย ซึ่งมักจะทำให้เกิดการพุ่งของราคาไปในทิศทางตามข่าวทันที โดยไม่เกิดการเหวี่ยงไปมาก่อน อย่างเช่น การประกาศอัตราดอกเบี้ยต่างๆ  ตัวเลขจ้างงาน

วิธีนี้ ถ้าโชคร้ายกราฟเหวี่ยงมาเก็บทั้งสองด้าน ก็จะเป็นการคานครับ ก็ไม่เสียหายมากเท่าไหร่ แต่ถ้าโชคดีกราฟพุ่งไปทางเดียวเลย คุ้มค่าแก่การรอคอยแน่นอนครับ

การเช็คว่าข่าวไหน มีการวิ่งรุนแรง เหมาะสมหรือไม่ ให้ลองตรวจสอบจาก เวป  forexpeacearmy.com จะมีประวัติการวิ่ง่ของกราฟย้อนหลัง ณ เวลาที่ข่าวออกครั้งก่อนๆ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำสั่ง Buy Limit,Sell Limit, Buy Stop , Sell Stop
Pending คือการตั้งล่วงหน้า ให้คือสั่งทำงาน เมื่อราคามาถึงจุดที่กำหนดไว้ครับ
(Ask Price กรณี Pending Buy Order, Bid Price กรณี Pending Sell Order)


buy stop คือ การตั้ง buy ล่วงหน้า โดยราคาปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาที่ตั้ง (วิ่งขึ้นไปชน pending แล้วหวังว่าจะขึ้นต่อ)

buy limit คือ การตั้ง buy ล่วงหน้า โดยราคาปัจจุบัน สูงกว่าราคาที่ตั้ง (วิ่งลงมาชน pending แล้วหวังว่าจะขึ้น)



sell stop คือ การตั้ง sell ล่วงหน้า โดยราคาปัจจุบัน สูงกว่าราคาที่ตั้ง (วิ่งลงมาชน pending แล้วหวังว่าจะลงต่อ)

sell limit คือ การตั้ง sell ล่วงหน้า โดยราคาปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาที่ตั้ง (วิ่งขึ้นไปชน pending แล้วหวังว่าจะลง)



ประโยชน์ของการใช้ค่า Stop Order ,Buy Stop Order ,Sell Stop Order เหล่านี้

1.ใช้เมื่อเรารู้ว่ากำลังจะเกิดข่าวขึ้นภายในเวลาไม่นาน ปกติเมื่อเกิดข่าวขึ้นมา กราฟจะมีการสวิงตัวที่แรงมากๆ ส่งผลให้เรานั้นไม่สามารถเข้าเทรดได้ทันเวลาแต่การทำ Stop Order จะช่วยให้เราสามารถเข้าเทรดได้ทันอย่างแน่นอน

2.ช่วยประหยัดเวลาในการเฝ้าหน้าจอ ข้อนี้ก็มีความสำคัญมากเช่นกัน หากคุณสามารถคำนวณได้แล้วว่า ระยะเวลาที่การเคลื่อนไหวของกราฟนั้นจะเป็นไปในทิศทางใดและรูปแบบใด คุณก็สามารถที่จะประหยัดเวลาในการเฝ้าหน้าจอได้เพราะตั้งค่ากราฟรอไว้เลยนั่นเอง

คำศัพท์เหล่านี้จะเกี่ยวพันกับเทคนิคในการตั้งราคาซื้อขายกันไว้ล่วงหน้า ทำให้เมื่อราคาวิ่งมาจนถึงตำแหน่งที่เราต้องการ เราก็จะสามารถเปิดสัญญาได้อย่างทันท่วงที เพราะบางครั้งนั้นระยะเวลาในการขยับของกราฟเข้ามาที่เส้นอาจใช้เวลาเร็วกว่าที่คิดมาก ทำให้เปิดออเดอร์ไม่ทันได้

Stop Order ,Buy Stop Order ,Sell Stop Order คืออะไร
Stop Order, Buy Stop Order, Sell Stop Order คืออะไร

มาเป็นชุดเลยกับคำศัพท์สำคัญอีกคำที่คิดว่าคุณนั้นน่าจะต้องทำความเข้าใจ เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเทรด forex สำหรับคำเหล่านี้ประกอบไปด้วยคำว่า Stop Order ,Buy Stop Order ,Sell Stop Order แต่ละคำคืออะไรและมีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง เราไปศึกษาพร้อมๆกันเลยนะครับ

Stop Order คืออะไร

คำแรกที่เราจะต้องทำความเข้าใจคือ คำว่า Stop Order คำนี้นั้น โดยรวมจะมีความหมายถึง การตั้ง Buy Stop Order เพื่อให้มีราคาที่สูงกว่าราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กับการเลือก Sell Stop order เพื่อให้มีราคาของสัญญาต่ำกว่าราคาในปัจจุบัน เทคนิคการทำ Stop Order นิยมมากที่สุดคือใช้เทรดตามที่กราฟกำลังรับกับข่าว หรือว่ามีข่าวกำลังจะเกิดขึ้น

Buy Stop Order คืออะไร

ความหมายของคำว่า Buy Stop Order คือการตั้งราคาซื้อให้มีราคาที่สูงเกินกว่าราคาปัจจุบัน เช่นๆ เราเทรดค่าเงิน EUR/USD ปรากฏว่าราคาปัจจุบันคือ 1.23456 การทำ Buy Stop Order ราคาจะตั้งล่วงหน้าในตำแหน่งที่สูงขึ้นคือ 1.32000 ถ้ากราฟวิ่งมาถึงราคานั้นก็จะเปิดสัญญา Buy ทันที ทำให้เราได้กำไรต่อเนื่องไปเรื่อยๆทันทีครับ

Sell Stop Order คืออะไร

ความหมายของคำว่า Sell Stop Order คือการตั้งราคาขายให้มีราคาต่ำกว่าราคาที่เป็นราคาปัจจุบัน เช่นตัวอย่างเดียวกันกับข้างต้นครับ เช่นๆ เราเทรดค่าเงิน EUR/USD ปรากฏว่าราคาปัจจุบันคือ 1.23456 การทำ Sell Stop Order ที่ 1.22000 แบบนี้ถ้ากราฟวิ่งลงมาถึงราคาของเรา ก็จะทำการเปิดสัญญา Sell ทันที ทำให้เรามีกำไรในส่วนของขาลงทันทีนั่นเอง

200
สวัสดีครับ วันนี้ทางเว็บ tradesabai.com ขอนำเสนอ forex spike candles และ Bullish spike candles ว่ามันคืออะไร

Bullish spike candles เราลองมาดูตัวอย่างกันนะครับ

 

กราฟตัวอย่าง AUD/USD ที่เกิดแท่งเทียนลักษณะ Spike candles ซึ่งมักจะเป็นช่วง High หรือ Low ของรอบ Swing

 

ยิ่งถ้าเรานำไปประกอบการใช้งานกับสิ่งต่างๆ อาทิเช่น แนวรับ แนวต้าน , เส้นค่าเฉลี่ย , Indicator ต่างๆ , Divergence และอีกมากมาย ก็จะยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานนั้นเพิ่มสูงขึ้น โอกาสการชนะในการเทรดของเราก็จะมากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่ออื่นมาบ้าง โดยอาจจะคล้ายกับชื่อรูปแบบแท่งเทียนต่างๆพวก Morning/evening stars, doji, hammers, dragonflies, หรือ pinbars เป็นต้น ซึ่งอย่างไปซีเรียสเรื่องพวกชื่อแท่งเทียนนี้เลยครับ ให้สนใจความหมายของมันดีกว่า เพราะเราไม่ได้จะแข่งกันด้วยชื่อ เราแข่งกันด้วยผลการเทรดมากกว่า


Spike candles คืออะไร
 

เป็นหนึ่งในรูปแบบของแท่งเทียนที่จะช่วยหาจังหวะที่เรียกว่า Market Extremes หรือช่วงสูงสุด หรือต่ำสุดของราคา โดยรูปแบบนี้จะช่วยเทรดเดอร์สาย Technical หาจังหวะการเทรดได้ดีขึ้น โดยที่เรียกว่าช่วง Extremes นั้นคือเป็นจังหวะที่แท่งเทียนนั้นเกิดรูปแบบ Spike คือมีไส้ยาวๆ ขึ้นไปในด้านหนึ่ง และส่วนราคาปิดและราคาเปิดนั้นอยู่ที่บริเวณปลายของแท่งเทียนในด้านตรงกันข้ามของไส้ยาวๆ (ตามรูปด้านล่าง)


 

            ในความหมายของพวกแท่ง Spike นั้นคือ ในระหว่างวันราคามีแรงพยายามซื้อเพื่อดันราคาขึ้นใน (ในส่วนของ Bearish spike candles) แต่สุดท้ายแล้วแรงซื้อนั้นหมดลง ถูกหักล้างด้วยแรงขายที่รุนแรงกว่า จึงทำให้ราคาลงมาปิดที่บริเวณเดียวกับราคาเปิด แสดงถึงเป็นสัญญาณเชิงลบ

201
เราจะมานำเสนอ ตัวอย่าง/หลักเกณฑ์ในการซื้อและขายกันนะครับ

forex Slingshots

เงื่อนไขการเข้า

ฝั่งซื้อ (Long)

วันแรก : ราคาสร้าง High สูงสุดในรอบ 20 วัน
วันที่ 2 : ราคากลับมาเทรดต่ำกว่าวันแรก
วันที่ 2 หรือ 3 : ซื้อตาม (Buy stop) เมื่อราคาทะลุ High ของวันแรก
วาง Stop ตามความเหมาะสม
 


USD/JPY

ราคาขึ้นทำ New High ในรอบ 20 วัน
ราคาเทรดต่ำกว่าแท่งเทียนแรก
ราคาขึ้นทะลุ High ของแท่งแรก เป็นจังหวะซื้อตาม (Buy stop)
 

ฝั่งขาย (Short)

วันแรก : ราคาสร้าง Low ต่ำสุดในรอบ 20 วัน
วันที่ 2 : ราคากลับมาเทรดสูงกว่าวันแรก
วันที่ 2 หรือ 3 : ขายตาม (Sell stop) เมื่อราคาทะลุ Low ของวันแรก
วาง Stop ตามความเหมาะสม
 



            USD/JPY ภาพราย 60 นาที

แท่งเทียนทำ Low ต่ำสุดในรอบ 20 แท่ง
แท่งเทียนที่ 2 เทรดสูงกว่าแท่งแรก
แท่งเทียนที่ 3 ลงมาต่ำกว่า Low ของแท่งแรก เป็นจังหวะเปิด Short ตาม (Sell stop)
 

พอเห็นภาพในการเทรดรูปแบบนี้กันไปแล้วนะครับ จะเห็นได้ว่าเป็นการเทรดที่ความเสี่ยงต่ำ เล่นตามแนวโน้ม สามารถกรอง Fail breakout ได้ในระดับหนึ่ง เชื่อว่า Set up จะเป็นอีกหนึ่ง Set up ที่สามารถให้เทรดนำเอาไปสร้างกำไรในตลาด Forex กันนะครับ

Slingshots คืออะไร
 

ปกติกลยุทธ์พวก Breakout มักเกิดการ Fail Break ค่อนข้างบ่อย การที่เราจะแยกแยะระหว่าง Strong กับ Weak ของการ Breakout นั้นสามารถใช้องค์ประกอบต่างๆเข้ามาช่วย โดยกลยุทธ์ Slingshots นี้จะเป็นตัวช่วยให้เทรดเดอร์ในการเทรด Forex นั้นสามารถหาจังหวะการ Braekout ที่เป็นของจริง ออกจากของปลอมได้ โดยหลักการมาจากเมื่อเกิดการ Breakout เกิดขึ้นมักจะมีจังหวะ “เขย่า” พวกมือใหม่ออกก่อนที่ราคาจะวิ่งไปตามทิศทางเดิม ซึ่งเมื่อราคาเกิด Breakout เทรดเดอร์หลายคนมักจะเข้าเทรดในจังหวะนี้ และไม่นานนัก ราคามักวกกลับเพื่อลากไปกิน Stop ของพวกเทรดเดอร์มือใหม่ แล้วค่อยวิ่งกลับสู่ทิศทางเดิม โดยกลยุทธ์ Slingshot เราจะรอจังหวะการ Break ครั้งที่ 2 เพื่อยืนยันทิศทางการ Break ในการเข้าเทรด เพื่อป้องกันการลากไปกิน Stop ในครั้งแรก

 

หน้า: 1 ... 12 13 [14]
SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums