แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Lolox101

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 17
31
YouTubeขั้นตอนเทรดForex / ทฤษฎี Elliott Wave
« เมื่อ: 31/ก.ค./2015 03:32:29 »

ย้อนกลับไปในปี 1920-30s มีอัจฉริยะด้านการบัญชีคนหนึ่งชื่อ
Ralph Nelson Elliott (ราฟ เนลสัน เอลเลียต)
ได้ทำการวิเคราะห์วิจัยตลาดหุ้นอย่างใกล้ชิด กับข้อมูลบน 75 ปี ของ ตลาดหุ้น เขาพบว่า ตลาดหุ้นนั้น มีพฤติกรรมที่การเคลื่อนไหวของราคาที่ไร้รูปแบบ
ซึ่งปกติไม่ได้เป็นแบบนั้น




เมื่ออายุ 66 ปี เขาได้หลักฐานสุดท้ายที่ทำให้มั่นใจในการค้นพบของเขา เข้าตีพิมพ์ทฤษฎีลงหนังสือ
ชื่อThe Wave Principle.
เขาบอกว่า ตลาดนั้นมีการเทรดเป็นลักษณะวงจรที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ซึ่งสาเหตุนั้นมาจาก อารมณ์ของนักลงทุน ที่ส่งผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น (ข่าวใน CNBC Bloomberg, ESPN) หรือ ข่าวที่มีผลต่อจิตวิทยา ของนักลงทุน เวลานั้น ๆ
อธิบายว่า การสวิงขึ้นลงของทิศทางราคา สาเหตุนั้นเกิดจากพฤติกรรมทางจิตวิทยา ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เสมอ ๆ
เขาเรียกการสวิงขึ้นลงของราคาในลักษณะนี้ว่า คลื่น หรือ Waves
เขาเชื่อว่า ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมราคาที่เกิดซ้ำ ๆ ได้ ก็จะสามารถทำนาย ทิศทางราคาได้ ว่ามันจะไปทางไหน (หรือว่าไม่เคลื่อนไหว) ต่อไป


สิ่งนี้ทำให้ Elliott waves นั้นเป็นที่นิยมในหมู่นักเทรด มันทำให้พวกเขาสามารถวิเคราะห์ราคา ว่าจะไป ทิศทางไหน หรือ กลับตัวที่จุดไหน หรือถ้าจะให้พูดอีกอย่าง


Elliot Wave ทำให้นักเทรดสามารถจับรูปแบบการเกิด Top จุดสูงสุด กับ Bottom จุดต่าสุดได้
ดังนั้น ท่ามกลางความวุ่นวายของทิศทางราคา Elliott สามารถค้นพบการจัดเรียงตัวของมัน


เหมือนอัจฉริยะคนอื่น ๆ เขาต้องเป็นเจ้าของการค้นพบนี้
ดังนั้น จึงมีชื่อทฤษฎีของเขาว่า The Elliott Wave Theory.


ก่อนที่เราจะเจาะลึกตัว Elliott waves ต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกก่อนว่า มันคือ Fractals

โดยทั่วไปแล้ว Fractal เป็นโครงสร้างแบบหนึ่งที่สามารถแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้ ซึ่งส่วนต่าง ๆ เหล่านั้น ที่ถูกแยกออกมา จะมีลักษณะความคล้ายคลึงกัน นักคณิตศาสตร์จะเรียกปรากฏการณ์ นี้ว่า "ความเหมือนในตัวมันเอง" หรือ Self similarity คุณไม่ต้องไปหาตัวอย่างของเรื่อง Fractal นี้ที่ไหนไกล เพราะตัวอย่างของมัน เราสามารถหาได้ตามธรรมชาติมากมาย อยู่แล้ว





เปลือกหอยทะเล ก็เป็นตัวอย่างของ Fractal แบบหนึ่ง เกล็ดหิมะก็เป็น Fractal และรวมทั้งเมฆ และสายฟ้าก็เป็น Fractal ด้วยเช่นกัน

Fractal สาคัญ อย่างไร?
สิ่งสาคัญอย่างหนึ่งของลักษณะของ Elliot Wave คือมันเป็น Fractal ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับ เปลือกหอยทะเล และเกล็ดหิมะ Elliot Wave จะแบ่งย่อย ๆ ได้เป็นกลุ่มคลื่นเล็ก ๆ ได้อีกมากมาย



Mr. Elliott กล่าวว่า ตลาดและการเคลื่อนไหวของทิศทางราคาในตลาดนั้น เคลื่อนไหวในรูปแบบที่เขาเรียกว่า 5 -3
รูปแบบคลื่น 5 คลื่นแรก เรียกว่า Impulse waves
รูปแบบคลื่น 3 คลื่น เรียกว่า Corrective waves
เวฟรูปแบบนี้ เวฟที่ 1 3 5 เป็นรูปแบบ Motive หมายถึง จะไปในทิศทางเดียวกับเทรนด์หลัก ขณะที่เวฟ 2 4 เป็น Corrective

อย่าสับสนกับเวฟ 2 และ 4 มาปนกับรูปแบบ Corrective ABC (อยู่ในเรื่องต่อไป)

รูปแบบ 5 คลื่นแบบ Impulse


กำหนดสีให้ เพื่อมีการนับคลื่นง่ายขึ้น ทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในแต่ละเวฟ


จะใช้หุ้นเป็นตัวอย่าง เพราะ หุ้นเป็นกรณีศึกษาของ Elliott แต่ไม่สาคัญ เพราะมันใช้ได้ทั้ง ค่าเงิน อนุพันธ์ ทอง สิ่งสำคัญคือ ทฤษฎี Elliot Wave สามารถประยุกต์ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราได้





คลื่นที่ 1

ราคาหุ้นพุ่งขึ้น เป็นเพราะ มีคนกลุ่มเล็ก ๆ ในตลาด (ด้วยหลาย ๆ เหตุผล ทั้งจินตนาการ หรือการคิดแบบมีเหตุผล ของพวกเขา) พวกเขาคิดว่าราคาหุ้นนั้นถูก และเป็นเวลาเหมาะที่จะซื้อ ทำให้ราคาขึ้น


คลื่นที่ 2

จุดนี้ เป็นจุดที่ผู้คนส่วนหนึ่งที่ถือหุ้นมาก่อน แล้วคิดว่าหุ้นได้แพงเกินมูลค่าของมันแล้ว พวกเขาจึงขายทำกำไร ออกมา ทำให้ราคาหุ้นลง อย่างไรก็ตาม ราคาจะไม่ต่ากว่าราคา Low เดิม (ราคาต่ำสุดครั้งก่อนหน้า) ก่อนที่จะมี การเคลื่อนไหวในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ต่อไป


คลื่นที่ 3

เป็นคลื่นที่แรงที่สุด ในบรรดาคลื่นเหล่านี้ หุ้นขึ้นมาจาก คนส่วนใหญ่ที่เข้ามาร่วมกันซื้อ ผู้คนสนใจหุ้นตัวนี้มากขึ้น และอยากจะซื้อมัน ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะทะลุราคาสูงสุดของคลื่นที่ 1 ก่อนหน้านี้ไป




คลื่นที่ 4

เทรดเดอร์เริ่มขายทำกำไร เพราะพวกเขาคิดว่าราคาหุ้นแพงไปแล้ว แต่ว่าคลื่นนี้ก็ไม่ค่อยมีแรงขายมากเท่าไร เพราะยังมีคนเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้น และยังคิดว่าหุ้นตัวนี้ยังอยู่ในขาขึ้น และอยากจะซื้อในราคาที่มันปรับฐานลงมา




คลื่นที่ 5

เป็นจุดที่คนส่วนใหญ่เข้าสู่ตลาด หุ้นซึ่งมาจากอารมณ์ของพวกเขาล้วน ๆ เพราะคุณเห็น CEO ของบริษัทออกมาพูด ในหน้าต่าง ๆ ของนิตยสารดัง ๆ ในฐานะบุคคลแห่งปี เทรดเดอร์และนักลงทุนเริ่มหาเหตุผล มาซื้อหุ้นตัวนี้ และ พยายามทำให้คุณตกใจกับราคาที่พุ่งไป ถ้าคุณคิดว่าหุ้นตัวนี้แพงมากแล้ว
ซึ่งเหตุการเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อ ราคาหุ้นเริ่มที่จะมีมูลค่าสูงเกินจริง ซึ่งพวกที่เล่น Short ก็จะเริ่มเข้ามา Sell ในตลาด เมื่อหุ้นเริ่มเข้าสู่ภาวะ ABC




คลื่นขยาย Impulse Waves

สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ เกี่ยวกับทฤษฎี Elliot Wave คือ คลื่นแบบ Impulse 3 คลื่น (1 3 5) ซึ่งจะมีคลื่นตัวใดตัวหนึ่ง ยาวกว่าอีกสองคลื่นเสมอ


เริ่มจาก คลื่นที่ 1 แล้วคลื่นที่ 3 จะยาวกว่าคลื่นที่หนึ่ง และคลื่นที่ 5 ตามระดับความยาวของแรงคลื่น


ตามที่ Elliott กล่าวไว้คลื่นที่ 5 จะเป็นคลื่นขยายเข้ามาตอนท้าย แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก่อนคลื่นที่ 5 เปลี่ยนไป เพราะว่าทุกคนเริ่มใช้คลื่นที่สาม มาเป็นคลื่นขยายเข้ามา

*คลื่นขยาย หมายถึง ตัวคลื่นที่มีความยาวกว่าคลื่นปกติ หรือได้ถูกขยายออกไป*

เทรนด์ของคลื่นทั้ง 5 จะถูกยืนยันจากการเกิดรูปแบบกลับตัว จากคลื่นสามคลื่น ที่ตรงข้ามกับเทรนด์ ตัวอักษรจะถูกใช้แทนการใช้ตัวเลขในการนับเทรนด์
ดูตัวอย่างของการนับคลื่นแบบ Corrective 3-wave pattern


ตลาดในภาวะกระทิง




ตลาดในภาวะหมี




ตามที่ Elliott กล่าวไว้ มีรูปแบบ Corrective Wave ABC อยู่ 21 รูปแบบ จากรูปแบบง่าย ๆ ไปจนถึง รูปแบบที่มี ความซับว้อน ไม่จำเป็นต้องจดจำรูปแบบทั้ง 21 ชนิดทั้งหมด เพราะสร้างขึ้นมาจากรูปแบบสามรูปแบบ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย

ดูรูปแบบสามรูปแบบ รูปแบบข้างล่าง ใช้กับเทรนด์ขาขึ้น แต่สามารถปรับใช้กับเทรนด์ขาลงได้เช่นเดียวกัน




รูปแบบ Zig-Zag





รูปแบบ Zig-zag เป็นรูปแบบกราฟทิศทางราคาที่มีความชันมาก ซึ่งไปในทิศทางตรงกันข้ามกับเทรนด์ คลื่น B ปกติ จะสั้น เมื่อเปรียบเทียบกับคลื่น A และคลื่น C ซึ่งรูปแบบ zig zag สามารถเกิดสองหรือสามครั้งใน Elliott wave Correction (มี zig zag สองถึงสามอันต่อกัน) และเหมือนคลื่นอื่น ๆ คลื่นแต่ละชนิดใน Zig Zag สามารถแตกย่อย เป็น 5 คลื่นได้อีกเหมือนกัน






รูปแบบราบ





รูปแบบราบ เป็นรูปแบบ Side way corrective wave ความราบของความยาวของคลื่นจะมีเท่า ๆ กัน ซึ่ง คลื่น B เป็นการกลับตัวของคลื่น A และ คลื่น C เป็นรูปแบบการกลับตัวของคลื่อน B อีกที เป็นไปได้ว่า คลื่น B อาจจะเลย จากจุดกำเนิดของคลื่น A ได้บ้างเล็กน้อย













รูปแบบสามเหลี่ยม


รูปแบบสามเหลี่ยม เป็นรูปแบบที่ราคาเป็นคลื่นเด้งขึ้นลง อยู่ในแนวเส้นรูปสามเหลี่ยม สามเหลี่ยมจะมี 5 คลื่น ที่อยู่ในรูปสามเหลี่ยม อาจจะเป็นแบบสามเหลี่ยมหดตัวลง หรือ กว้างขึ้น















คลื่น Elliott เป็น Fractal ซึ่งคลื่นแต่ละคลื่นจะมีคลื่นเล็ก ๆ แทรกอยู่


คลื่นที่ 1, 3, และ 5 จะมีคลื่นเล็ก ๆ แทรกอยู่ในคลื่นเหล่านี้ และคลื่นที่ 2 และคลื่นที่ 4 ก็มี 3 คลื่นเล็กๆ แทรกอยู่ในนั้น ด้วยเหมือนกัน
ต้องจำไว้เสมอว่า คลื่นแต่ละคลื่นจะประกอบด้วยคลื่นเล็ก ๆ อีก ซึ่งรูปแบบนี้จะมีความคล้ายตัวของมันเอง จนไม่มีที่สิ้นสุด!








ให้เราเข้าใจเรื่องนี้ง่าย สามารถบอกได้ว่า ทฤษฎี Elliott Wave เป็นการจัดลำดับจากคลื่นที่ใหญ่สุด ไปหาคลื่น ที่เล็กที่สุด ประกอบด้วย:





- Grand Supercycle


- Supercycle


- Cycle


- Primary


- Intermediate


- Minor


- Minutte


- Minuette


- Sub-Minuette



Grand Supercycle ได้มาจากคลื่น Supercycle ที่มาจากคลื่นแบบ Cycle ที่มาจากคลื่นแบบ Primary ที่มาจากคลื่นแบบ Intermediate ที่มาจากคลื่นแบบ Minor ที่มาจากคลื่นแบบ Minuette ที่็มาจากคลื่นแบบ Sub-Minuette


ทำให้ทฤษฎีที่ได้อธิบายให้ง่าย ดูว่าเราจะใช้ Elliott Wave ในกราฟจริง ได้อย่างไร


อย่างที่เห็น คลื่นไม่ได้มีรูปร่าง แบบที่เราอธิบายไป ในกราฟจริง จะพบว่ามันยากที่จะกำหนดคลื่นด้วย แต่ว่า ยิ่งคุณ ฝึกมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเข้าใจมัน ได้มากขึ้นเท่านั้น

อีกประการ ในที่นี้เราจะให้เคล็ดลับ และเพื่อให้ง่ายในการวิเคราะห์ลักษณะของคลื่น จะทำให้คุณเทรดโดยใช้คลื่น Elliotte ได้ดี มาโต้คลื่นกัน!









คุณคงจะคิดว่า การใช้ Elliot Wave ในการเทรด ขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะวิเคราะห์ตัวคลื่นได้ ในการพัฒนาการมองคลื่นของเราว่า ตอนนี้ ตลาดอยู่ในคลื่นที่เท่าไหร่


คุณจะสามารถบอกได้ว่าคุณควรจะเทรดด้านไหน Buy หรือ Sell











มีกฏสำคัญ 3 ข้อ ที่ห้ามแหกกฏ เพื่อการวิเคราะห์คลื่น ดังนั้นก่อนที่คุณจะเข้าเทรดแบบทฤษฎี Elliotte Wave คุณต้องจดบันทึกกฏต่อไปนี้ไว้





การวิเคราะห์คลื่นผิดจะทาให้เงินในบัญชีของเราหายไปอย่างมาก






กฏ 3 ข้อ ของทฤษฎี Elliott Wave Theory


- กฏข้อที่ 1 : คลื่นที่ 3 จะไม่มีทางสั้นกว่า คลื่นที่ 1 และ คลื่นที่ 5

- กฏข้อที่ 2 : คลื่นที่ 2 จะไม่ลงไปต่ากว่า จุดเริ่มต้น ของคลื่นที่ 1

- กฏข้อที่ 3 : คลื่นที่ 4 จะไม่สามารถลงไป จนถึงพื้นที่ของ คลื่นที่ 1 ได้





มีแนวทางที่จะช่วยให้คุณระบุลักษณะของคลื่น ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะไม่เหมือนกับกฏทั้ง 3 ข้อ คือ






แนวทางสามารถยืดหยุ่นได้ ดังนี้ :


- ในทางกลับกัน บางครั้ง คลื่นที่ 5 จะไม่ลงไปต่ากว่าจุดสิ้นสุด ของคลื่นที่ 3 ซึ่งเรียกว่า การแบ่งเป็นส่วน ๆ

- คลื่นที่ 5 จะไม่ทะลุเส้นเทรนด์ไลน์ ที่ลากเฉียงมาจากจุดเริ่มต้นของคลื่นที่ 3 และจุดเริ่มต้นของคลื่นที่ 5

- คลื่นที่ 3 จะยาว คม และ ขยายออกไป

- คลื่นที่ 2 และ 4 จะหลุดออกจาก แนวเส้น Fibonacci







สิ่งที่รออยู่ คือ การใช้ทฤษฎีคลื่น Elliott ในการเทรด เราจะมาดูการประยุกต์ใช้ในการหา จุดเข้า จุดหยุดขาดทุน และจุดทำกำไร





เหตุการณ์ที่ 1 ในบางสถานการณ์ การไม่ต้องมีเหตุผลอาจจะดีกว่าก็เป็นได้ :
เช่น คุณต้องการเริ่มนับคลื่น จะเห็นว่าราคาเริ่มจะมีจุดต่ำสุด และเริ่มจะมีการเคลื่อนไหวขึ้น ใช้ความรู้ของคุณเรื่อง Elliot Wave คุณเริ่มนับตรงนี้ว่า เป็นคลื่นที่ 1 และจุดแนวรับเป็นคลื่นที่สอง















ในการหาจุดเข้าที่ดี ต้องกลับไปดูกฏทั้ง 3 ข้อ และ แนวทางในการใช้ Elliott Wave มาประยุกต์ใช้ สิ่งที่จะต้องเจอคือ:

- กฏข้อที่ 2 คลื่นที่ 2 จะไม่ลงไปต่ากว่า จุดเริ่มต้น ของคลื่นที่ 1

- คลื่นที่ 2 และ คลื่นที่ 4 จะเคลื่อนไหวออกจากแนวเส้น Fibonacci





ดังนั้น เราควรใช้ทักษะของ Elliot Wave ในการเทรด ถ้าคุณลองใส่ Fibonnacci ลงไปในกราฟของคุณ ถ้าราคา อยู่ที่แนว Fibonnacci และราคากำลังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ ๆ ระหว่างเส้น Fibonacci 50% ซึ่งหมายความว่า นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้น ของคลื่นที่ 3 เป็นสัญญาณซื้อที่แรงมาก สัญญาณหนึ่ง






ตั้งแต่คุณได้เรียนรู้อะไรไปเยอะ จะเห็นว่าสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ คุณจะต้องใส่ จุดหยุดขาดทุน เข้าไปด้วย ตามกฏ ข้อที่ 2 ที่บอกว่า คลื่นที่ 2 จะไม่ไปต่ำกว่า จุดเริ่มต้นของคลื่นลูกที่ 1 ดังนั้นคุณอาจจะตั้ง จุดหยุดขาดทุน (Stop loss) ไว้ให้ต่ำกว่าจุดต่ำสุดครั้งก่อนหน้า หรือ จุดเริ่มต้นของคลื่นที่ 1 อยู่นิดหน่อย ถ้าราคาลงไปเยอะกว่า 100 % ของคลื่นลูกที่ 1 นั่นหมายความว่า คุณนับคลื่นผิด มาดูว่าเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้ ...





การวิเคราะห์ Elliott Wave ของคุณได้ผลเป็นอย่างดี และสามารถเข้าเทรนด์ใหญ่ ๆ ได้ ไม่ต้องห่วง เพราะเรา มีวิธีทำกำไร ที่คุณสามารถทำเงินได้อีกครั้ง

เหตุการณ์ที่ 2 ตอนนี้ จะให้คุณใช้ความรู้ที่คุณมี ในการวิเคราะห์ Elliot Wave แบบ corrective waves ในการหาจุดเข้า-ออก





คุณต้องเริ่มนับคลื่นตอนขาลง และสังเกตุว่า รูปแบบ ABC corrective กำลังเคลื่อนไหวเป็น Side way ซึ่งนี่เป็น รูปแบบราบ (Flat formation) หมายความว่า ราคาพึ่งจะเริ่มเป็นตัว Elliott Wave อีกครั้งเมือ ตัวคลื่น C จบลง





เชื่อในทักษะ ให้คุณส่งออร์เดอร์ Sell และจะได้ขี่เทรนด์ไปด้วยกัน ส่งออร์เดอร์หยุดขาดทุน ให้เหนือกว่า จุดเริ่มต้น ของคลื่นที่ 4 นิดหน่อย เผื่อว่าคุณจะนับคลื่นผิด






เพราะเราชอบตอนจบแบบ แฮปปี้ เอนดิ้ง การเทรดของคุณประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี และทำกำไรให้คุณได้หลายพันจุด ซึ่งเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก

คุณยังได้บทเรียนตอนนี้อีกว่า อย่าไปเล่นการพนัน แล้วใช้กำไรที่ได้ เพิ่มทุนเข้าไปให้บัญชีจะดีกว่า






- Elliott Waves เป็น fractals คลื่นแต่ละคลื่นสามารถแยกเป็นคลื่นย่อย ๆ ได้ ซึ่งเมื่อแบ่งออกมาแล้ว จะมีลักษณะ ความคล้ายกันของตัวมันเองอยู่ทุกคลื่น นักคณิตศาสตร์มักจะเรียกปรากฏการนี้ว่า ความคล้ายตัวของมันเอง หรือ "self-similarity"

- ตลาดที่เกิดเทรนด์ จะเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบ คลื่น 5 - 3


- คลื่น 5 คลื่นแรก เรียกว่า Impulse wave.

- คลื่นใดคลื่นหนึ่ง ใน 3 คลื่นแบบ impulse (1, 3, หรือ 5) จะเป็นคลื่นขยาย ซึ่งปกติจะเป็นคลื่นที่ 3

- คลื่น 3 คลื่นหลัง เรียกว่า คลื่น corrective จะใช้ตัวอักษรแทนการเรียกเป็นเลข

- คลื่นที่ 1, 3 และ 5, จะมีคลื่นเล็ก ๆ แบบ impulse อยู่ในนั้น 5 คลื่น ขณะที่คลื่น 2 – 4 จะมีคลื่นเล็ก ๆ แบบ corrective อยู่ 3 คลื่นแทรกอยู่ในนั้น

- มีคลื่นแบบ corrective อยุ่ 21 ชนิด แต่ว่ามันมีพื้นฐานมาจากพื้นฐานของ 3 ชนิด ง่ายที่จะทำความเข้าใจ

- รูปแบบพื้นฐานของ Corrective เหล่านั้นคือ ซิกแซก (zig-zags), แบบราบ (flats), และ แบบสามเหลี่ยม (triangles)

- มีกฏสามข้อในการระบุคลื่น:


-- กฏข้อที่ 1 คลื่นที่ 3 จะไม่สั้นกว่า คลื่นที่ 1 และคลื่นที่ 5

-- กฏข้อที่ 2 คลื่นที่ 2 จะไม่ลงไปต่ำกว่าจุดเริ่มเกิด คลื่นที่ 1

-- กฏข้อที่ 3 คลื่นที่ 4 จะไม่ลงไปต่ำจนถึงพื้นที่ของ คลื่นที่ 1

-- ถ้าคุณมองดูให้ดี ๆ ตลาดนั้นเคลื่อนไหวเป็นแบบคลื่นจริง ๆ

-- เพราะว่าตลาดไม่ได้เคลื่อนไหวง่าย ๆ ตามที่เราได้อธิบาย แต่ว่ามันจะใช้เวลานานมากในการวิเคราะห์คลื่น ก่อนที่คุณจะเริ่มรู้สึกว่า คุณจะหาคลื่น Elliott ได้ง่าย ขอให้คุณขยันเข้าไว้และอย่ายอมแพ้!


โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2012/12/elliott-wave.html

32



ส่วนประกอบของแท่งเทียนประกอบไปด้วย จุดเปิด จุดปิด จุงต่ำสุด และ จุดสูงสุด บริเวณที่เป็นขีด ๆ บาง ๆ บนแท่งเทียนเราจะเรียกมันว่า
Shadow หรือ หาง หรือ ไส้ แล้วแต่ใครจะถนัดเรียก ส่วนตัวของแท่งเทียนเราจะเรียกว่า Body
สิ่งที่ทำให้แท่งเทียนแต่ละแท่งมีความต่างกันออกไปคือ ระยะห่างระหว่างจุดเปิดและจุดปิดของแท่งเทียน” ยิ่งจุดปิดอยู่ไกลจากจุดเปิดแท่งไหร่
ก็แสดงว่ากราฟมีแรงมากเท่านั้นหากจุดเปิดอยู่ต่ำกว่าจุดปิดแท่งเทียนแท่งนั้นจะกหลายเป็นแท่งเทียนขาขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าจุดปิดอยู่ต่ำกว่าจุดเปิดแท่งเทียน
แท่งนั้นจะเป็นแท่งเทียนขาลง

แล้วมันสำคัญอย่างไรในเมื่อแท่งเทียนแท่งไหน ๆ ก็เหมือนกัน?
บางคนอาจจะไม่ทันสังเกตว่า การเรียงตัวกันของ จุดปิด (Close) จุดสูงสุด (High) จุดต่ำสุด (Low) สามารถบอกผู้เทรดถึงภาวะและอารมณ์ของตลาดได้โดยไม่จำเป็นต้องรอดูอินดิเคเตอร์แล้วค่อยบอกว่ากราฟเป็นเทรนหรือไม่
ยกตัวอย่างเช่น ในตลาดขาขึ้น ลักษณะของขาขึ้นที่ดี  จุดปิด (Close) จุดสูงสุด (High) จุดต่ำสุด (Low) ของแท่งเทียนควรจะเรียงตัวกันขึ้นไปเรื่อย ๆ จุดสูงสุดของแท่งเทียนปัจจุบันควรจะทะลุจุดสูงสุดของแท่งก่อนหน้าขึ้นไป
เรื่อย ๆ ในขณะที่ Low ของแท่งก็ควรจะยกตัวสูงขึ้นเรื่อง ๆ เช่นกัน ขาลงก็ตรงกันข้ามนะครับ เมื่อใดที่มีบางสิ่งผิดปกติไปเช่น ในตลาดขาขึ้น ถ้ามี จุดต่ำสุด (Low) ของแท่งทะลุ Low ของแท่งก่อนหน้าได่ นั่นอาจจะหมายความ
ว่าเริ่มมีแรงในทางตรงกันข้ามเข้ามาบ้างแล้ว ควรจะระวังตัวกันให้ดีเป็นต้น หรือ เมื่อใดก็ตามที่กราฟหยุดสร้าง High ของแท่งที่สูงขึ้นก็หมายความว่าแรงขาขึ้นอาจจะเริ่มหมดแรงแล้วเป็นต้น

ความสัมพันธ์ของ Body ของแท่งเทียน กับ ลักษณะการเรียงตัวของ จุดปิด (Close) จุดสูงสุด (High) จุดต่ำสุด (Low) ของแท่งเทียน
ถึงแม้ว่า จุดปิด (Close) จุดสูงสุด (High) จุดต่ำสุด (Low) จะเรียงตัวกันแล้วเป็นเทรนก็จริงแต่ลักษณะของ Body ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเพราะแรงจากตลาดจะแสดดงผลออกมาผ่าน Body ของแท่งเทียน
ยกตัวอย่างเช่น ในตลาดขาขึ้นถึงแม้ว่าจุดปิด (Close) จุดสูงสุด (High) จุดต่ำสุด (Low) จะเรียงตัวขึ้นเรื่อย ๆ แต่หากลักษณะของ Body มีลักษณะเล็กกว่าไส้ของแท่งเทียน (Shadow) จะเป็นการบ่งบอกว่า
แรงขาขึ้นอาจจะใกล้หมดแรงหรือกำลังมีแรงของอีกฝั่งสวนเข้ามา สรุปแล้วเป็นการบอกถึง ภาวะอ่อนแรงของเทรน” แต่ “ยังไม่ได้บอกว่าจะกลับตัว”



โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2014/10/blog-post.html

33
รูปแบบและการเทรด Gap


Gap คือช่วงราคาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เราจะเห็นว่าราคาเกิดการกระโดดขึ้นหรือลงจนทำให้เกิดช่องว่างขึ้น ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของแรงซื้อกับแรงขาย ในตลาด Forex เราจะเห็น Gap กันเป็นประจำในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ตลาดเปิด สาเหตุเพราะนักลงทุนต้องการซื้อหรือขายทันทีที่ตลาดเปิด หรือ ช่วงที่มีข่าวแรงๆ เมื่อเกิด Gap เราจะเรียก Gap ว่า Windows ซึ่งแนวที่เปิด Gap จะสามารถใช้เป็นแนวรับหรือแนวต้านที่ดีได้ และหากเราเข้าใจถึงชนิดของ Gap ที่เกิดขึ้นก็จะทำกำไรได้เป็นอย่างดี Gap กระโดดขึ้นมักแสดงแนวโน้มขาขึ้น Gap กระโดดลงมักแสดงแนวโน้มขาลง ซึ่ง เราสามารถแบ่ง Gap ออกได้เป็น 4 อย่างดังนี้


1. Common Gap มักเกิดในขณะที่แนวโน้มของราคาเกิดการเคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง (Sideways) ในบางครั้งจะเกิดช่องว่างและจะมีการปรับตัวขึ้น-ลงเพื่อปิดช่องว่าง จึงไม่น่าสนใจ เพราะไม่สามารถบอกทิศทางได้







2. Breakaway Gap เป็น Gap ที่เกิดจากการที่ราคามีการวิ่งทะลุ (breakout) ฝ่าแนวรับหรือแนวต้านไปได้หลังจากที่ราคาวิ่งเป็น Sideway พูดได้ว่า เป็นการพุ่งทะลุแนวรับ - แนวต้านหลังจากที่สะสมพลังในช่วง Sideway มาเต็มที่แล้ว อาจเห็นได้ในช่วงที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมต่างๆ แล้วพุ่งทะลุออกมา มักเกิดจากการที่ตลาดรอข่าว จึงวิ่งเป็น Sideway และเมื่อข่าวออกมา ก็มีแรงซื้อหรือแรงขายเข้ามาแบบถล่มทลาย จึงทำให้ราคากระโดดจนเป็น Gap ถ้าเกิด Gap ในลักษณะนี้ ให้หาจังหวะซื้อหรือขาย ตามทันที (โดยทั่วไปแล้ว เมื่อราคาวิ่งทะลุแนวรับหรือแนวต้าน มักจะวิ่งกลับมาทดสอบที่แนวรับ - แนวต้านนั้นอีกครั้ง หรือที่เราเรียกว่า การ "ปิดแก๊บ"  แต่บางครั้งถ้ามีการซื้อหรือขายที่มีปริมาณมากๆ แบบมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะกระแสข่าวที่ออกมาแรงมากเป็นต้น ราคาก็อาจจำไม่กลับมาทดสอบ แต่มันจะวิ่งไปเลย)





3. Runaway Gap หรือ Measuring Gap เป็น Gap ที่มักเกิดหลังจากเกิด Breakaway Gap  ซึ่งเมื่อเกิด Runaway Gap ขึ้น ก็จะเป็นการยืนยันความแข็งแกร่งของทิศทางราคานั้นๆ แม้ว่าปริมาณการซื้อขายจะอยู่ในระดับปานกลาง ไม่มากนัก แต่ก็คาดได้ว่า ราคาจะวิ่งไปอีกประมาณ 1-2 เท่าตัวเมื่อวัดจาก Breakaway Gap (ตัวอย่างตามภาพ)







4. Exhaustion Gap เป็น Gap  ที่ต้องระวัง เพราะเป็นการกระโดดขึ้นหรือลงเป็นครั้งสุดท้ายของราคา เป็นสัญญาณว่าตลาดเริ่มหมดแรง และจะมีการเปลี่ยนทิศทางในไม่ช้าด้วยปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่นจนทำให้ราคาที่วิ่งต่อไปมีลักษณะเป็นกลุ่ม จนมีลักษณะเหมือน เกาะกลางทะเล หรือที่เรียกว่า Island reversal ดังนั้นเมื่อเจอ Gap แบบนี้ก็ควรจะเตรียมตัวออกจากออเดอร์ และ เมื่อมีการคอนเฟิร์ม ก็เข้าออเดอร์ในทิศทางใหม่ตามไป ในการพิจารณา Gap ประเภทนี้เราควรพิจารณา Oscillators ต่างๆ ดูการ Overbought  หรือ Oversold ประกอบด้วย เพื่อให้มั่นใจมากขึ้น เพราะExhaustion Gap มักเกิดในช่วงที่ราคาเป็น  Overbought  หรือ Oversold หรืออาจเกิด Divergence ร่วมด้วย



Island Reversal  คือรูปแบบการกลับตัวของราคา โดยมี Gap 2 ชนิดรวมอยู่คือ ครั้งแรกจะเกิด Exhaustion Gap ก่อน อนื่องจากทิศทางเดิมนั้นอ่อนแรงลงแล้ว อาจจะมีการเทซื้อ หรือ ขายทิ้งเป็นครั้งสุดท้าย ทำให้ราคากระโดดไปจนเกิด ช่องว่างของราคาขขึ้น แล้วหลังจากนั้น ก็จะมีการซื้อขายที่หนาแน่นกลับเข้ามา ทำให้ราคาเกาะตัวกันเป็นกลุ่ม และสุดท้าย เกิด Breakaway Gap ขึ้นมาในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับแนวโน้มเดิม ทำให้เราเห็นลักษณะราคา เหมือนเป็น เกาะกลางทะเล จึงเรียกกันว่า Island Reversal


 

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/06/gap.html

34
พูดคุยForexทั่วไป / Volume ในตลาด Forex
« เมื่อ: 31/ก.ค./2015 03:28:25 »
การใช้ประโยชน์จาก Volume ในตลาด Forex


พูดถึง Volume ทุกคนรู้ว่ามันคือ ตัวชี้วัด "ปริมาณการซื้อขาย" นั่นเอง แต่เทรดเดอร์ไม่มากนักในตลาด Forex ที่รู้จักการใช้ Volume Indicator อาจเป็นเพราะเขาคิดว่ามันไม่ได้บอกสัญญาณที่สำคัญอะไรก็เลยไม่เอามันออกมาใช้ วันนี้เราจะมาคุยเรื่องของเจ้า Volume นี้กันว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง ถ้าคุณใช้เป็นและรู้ว่าจะใช้งานมันอย่างไรให้เกิดประโยชน์ในตลาด Forex เจ้า Volume นี้อาจทำให้พอร์ตคุณโตขึ้นก็ได้
แล้วเราจะไปหาเจ้า Volume Indicator มาจากไหนล่ะ ? อันที่จริง MT 4 มี Volume เป็น Indicators พื้นฐานมาให้เราแล้ว แค่คุณคลิ๊กขวาที่ที่กราฟ แล้วกด "Ctrl+L" ก็มีมี Volume ขี้นมาที่กราฟของคุณ หรือถ้าอยากจะได้ Volume ที่แยกออกมาจากกราฟ คุณก็ทำได้โดยการ เข้าไปที่ Menu ด้านบน เลือก Insert > Indicators > Volume>  หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างตั้งค่าของ Volume ขึ้นมา ให้เราเข้าไปที่ Visualization แล้ว เลือกที่ช่อง Show in data window แค่นี้คุณก็จะได้ Volume ที่มี สองสี แยกออกมาจากหน้าต่างหลัก ดูง่าย อยากได้สีอะไร เส้นหนาบางแค่ไหนคุณก็ปรับแต่เอาได้ตามสบายเลยค่ะ
 เมื่อทำตามขั้นตอนแล้ว กราฟของเราจะเป็นดังภาพตัวอย่าง



ทำไมเทรดเดอร์ในตลาด Forex ถึงไม่ให้ความสำคัญกับ Volume Indicator ?
อันที่จริงแล้ว เจ้า Forex volume indicators นั้นไม่ได้แสดงปริมาณการซื้อขายจริง คือมันไม่ได้แสดงถึงจำนวนเงินเข้ามาในตลาดโดยตรง เพราะตลาด Forex  เป็น Over the counter market  ที่มีปริมาณการซื้อขายที่มหาศาล ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามปริมาณที่แท้จริงของปริมาณเงินที่เข้ามา นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เทรดเดอร์หลายคนเชื่อว่า Forex Indicator volume ไม่แสดงการไหลของเงินจริงจึงไม่ใช้มัน


การอ่าน Volume สามารถ
  • ยืนยันได้ถึงเทรนที่แข็งแรง หรือ เตือนเราว่าเมื่อไหร่ที่เทรนกำลังอ่อนแอ Volume ที่เพิ่มขึ้น จะบอกได้ว่าเทรนนั้นมีความแข็งแกร่ง และเมื่อ Volume ลดลง ก็เป็นสัญญาณเตือนว่า เทรนที่กำลังเป็นอยู่นั้น กำลังหมดแรงและอาจใกล้ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนเทรนแล้ว
  • โวลุ่มที่สูง (พรวดพลาด) หลังจากที่โวลุ่มอ่อนค่าลงไป มักจะเป็นสัญญาณว่าเทรนกำลังจะเปลี่ยนไป
  • จุดที่น่าทำการซื้อขายที่สุด ให้สังเกตเมื่อมีปริมาณการซื้อขายสูงๆ ที่บริเวณแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
  • ปริมาณการซื้อขายนี้ สามารช่วยตรวจสอบได้ถึงการ Breakout ของราคา ว่าจริงหรือหลอก



การอ่านค่า Volume Indicator ที่มากับ MT4
แท่งสีเขียวแสดงถึงปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าแท่งก่อนหน้า และสีแดง แสดงถึงปริมาณการซื้อขายที่ลดลงมากกว่าแท่งก่อนหน้า อย่าเข้าใจผิดว่าสีเขียวแสดงถึงปริมาณการซื้อที่เยอะกว่า และสีแดงแสดงถึงปริมาณการขายที่เยอะกว่านะคะ





การอ่านสัญญาณจากปริมาณการซื้อขาย
ก่อนอื่นจงจำไว้ว่า ไม่ควรใช้ Volume เพื่อวัดปริมาณการซื้อขายใน Timeframe เล็กกว่า H1 เพราะสัญญาณที่ได้จะน้อยมากและมีสัญญาณรบกวนจากตลาดมากเกินไป และมันยังยากที่จะตรวจสอบได้ถึงสภาวะที่แท้จริงในช่วงระยะเวลาที่สั้นเกินไป ดังนั้น ควรใช้ Volume ใน TF ที่มีขนาดใหญ่ (H1, H4, D, W) เพื่อให้ Volume เก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น


Volume กับ Candle Stick
Volume บอกเราได้ถึงการต่อสู้เทรน แท่งVolume ที่ดีจะบอกเราได้ว่าใครชนะระหว่าง "หมี & กระทิง" อย่างไรก็ตาม  ถ้า Volume มีปริมาณมาก แต่ราคายังไม่ไปไหนเลย ก็เป็นสัญญาณ "อันตราย" เตือนได้ว่าตอนนี้ หมีกับกระทิงกำลังสู้กันอย่างหนัก เดี๋ยวพอได้ผู้ชนะ ราคาก็จะไปทางนั้น
  • แท่งราคายาว & Volume มาก = Trend  นั่นคือ ราคาจะยังคงเป็นเทรนเดิมต่อไป
  • แท่งราคายาว & Volume น้อย = Fake นั่นคือ สัญญาณหลอก ถ้าแท่งเป็นขาขึ้นก็ขึ้นไม่นาน ถ้าลง ก็ลงไม่นาน อาจเป็นสัญญาณ fail Break out  ถ้าเกิดบริเวณแนวรับแนวต้าน
  • แท่งราคาสั้น & Volume น้อย = Weak บอกได้ถึง เทรนนั้นกำลังอ่อนแอ ให้เตรียมตัวปิดเก็บกำไรได้
  • แท่งราคาสั้น & Volume มาก = Squat คือสัญญาณว่ามันกำลังเตรียมตัวพุ่งไปทางใดทางหนึ่ง หลังจากหมีกับกระทิงตีกันเสร็จ ใครชนะราคาก็จะพุ่งไปทางนั้น
Volume กับ Divergence
จากประสบการณ์ของตัวเองในตลาด Forex พบกว่ายังมีเทรดเดอร์บางกลุ่ม (รวมทั้งตัวเราด้วย) ได้ใช้ประโยชน์จากการดู Volume กับ Divergence ในการอ่านและคอนเฟิร์มรูปแบบ Chart Pattern ต่างๆด้วย โดยที่เราสามารถดู Divergence ได้จาก Oscillator ที่แตกต่างกัน ที่เรานิยมใช้กันมากก็มี RSI , Stochastic และ MACD  เราจะยืนยันว่า Divergence นั้นเป็นจริงได้จากการที่ Volume การซื้อขายลดลงในระหว่างการเกิด Divergence นั้น ถ้าคุณยังไม่รู้จักวิธีการดู Divergence ก็เข้าไปศึกษากันได้ที่
Divergence and Convergence Trading


ตัวอย่างการยืนยัน Divergence ของ Volume



นี่คือการอ่านค่า Volume Indicator แบบพื้นฐาน สำหรับ ตลาด Forex  อ่านง่ายๆ ไม่ซับซ้อนอย่างที่คิดใช่มั้ยล่ะคะ ลองเอาไปทดลองใช้กันดูนะคะ ไม่แน่ว่าคุณอาจจะชอบมันก็ได้

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/06/volume-forex.html

35
พูดคุยForexทั่วไป / การเทรด Currency cross
« เมื่อ: 31/ก.ค./2015 03:27:44 »


"Currency cross pair" หรือ "Cross- currency pair" หรือเรียกสั้นๆว่า "Cross" คือสกุลเงินที่ไม่มีดอลลาร์สหรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง 

ลองย้อนกลับไปดูเมื่อสมัยก่อน
ถ้ามีคนต้องการที่จะเปลี่ยนสกุลเงิน
ก่อนอื่นเขาต้องแปลงสกุลเงินเป็นดอลลาร์สหรัฐก่อน
แล้วจึงแปลงสกุลเงินที่เป็นดอลลาร์สหรัฐไปเป็นสกุลเงินที่เขาต้องการได้ 
ตัวอย่างเช่น ถ้ามีชายคนหนึ่งต้องการเปลี่ยนเงินปอนด์เป็นเยนของญี่ปุ่น
เขาก็ต้องแปลงสกุลเงินปอนด์ของเขาเป็นดอลลาร์สหรัฐก่อนหลังจากนั้นจึงนำ
ดอลลาร์มาเปลี่ยนเป็นเงินเยนได้

และเมื่อมีการนำ Currency cross มาใช้
ก็ทำให้บุคคลสามารถข้ามขั้นตอนการแปลงสกุลเงินของพวกเขาเป็นดอลลาร์สหรัฐ
และสามารถแปลงสกุลเงินเป็นสกุลที่ตนต้องการได้โดยตรง  ตัวอย่างเช่น
GBP/JPY, EUR/JPY, EUR/CHF และ EUR/GBP เป็นต้น


การหาราคาซื้อขายของ Currency cross

ในส่วนนี้อาจจะน่าเบื่อซักหน่อย
แต่ถ้าคุณชอบตัวเลขก็ไม่ยาก และข่าวดีก็คือ
จริงๆแล้วตรงส่วนนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าใจมากมายอีกต่อไป
ตั้งแต่มีเพลตฟอร์มจากโบรคเกอร์ที่ได้คำนวณอัตราของค่าเงินตรงข้ามที่เราเท
รดกันอยู่ทุกวันมาให้เรียบร้อยแล้ว
เราจึงไม่จำเป็นต้องมานั่งคำนวณเองอีกต่อไป
แต่ก็ขอกล่าวไว้ในกรณีที่คุณต้องการจะรู้ถึงหลักการทำงานของมัน
และคิดว่ามันก็เป็นการดีที่จะรู้เอาไว้
ในส่วนนี้เราจะแสดงวิธีการคำนวณราคาเสนอซื้อ (bid ) และการขอราคาสำหรับขาย
(ask)

ตัวอย่างเช่น
เราต้องการหาราคา bid/ask  ของ GBP/JPY ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำก็คือ
ดูที่ราคา bid/ask ของทั้ง GBP/USD และ USD/JPY 
ที่ต้องดูทั้งสองคู่เงินนี้ก็เพราะว่า
ทั้งสองคู่เงินมีสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯร่วมอยู่ในสกุลเงินที่พวกเขาต้องการ
(คือ GBP และ JPY)  คู่เงินทั้งสองคู่นี้ เรียกว่า "Legs" ของ GBP/JPY เพราะพวกมันเป็นคู่เงินดอลลาร์ที่เกี่ยวข้องกับ GBP/JPY

เอาเป็นว่าตอนนี้เราได้ราคา bid/ask แล้ว คือ

GBP/USD: 1.5630 (bid) / 1.5635 (ask)

USD/JPY: 89.38 (bid) / 89.43 (ask)

ในการคำนวณหาราคาซื้อ (bid) ของ
GBP/JPY ก็นำราคา bid ของ GBP/USD มาคูณกับ ราคา bid ของ USD/JPY
ก็จะเท่ากับ 1.5630 X 89.38 = 139.80

และในการหาราคาขาย (ask) ของ GBP/JPY ก็นำราคา ask ของ GBP/USD มาคูณกับ ราคา ask ของ USD/JPY ก็จะเท่ากับ 1.5635 X 89.43 = 139.82

เท่านี้เองค่ะ ง่ายมั้ยคะ


Currency cross กับโอกาสที่มากขึ้น

กว่า 90%
ของการทำธุรกรรมซื้อขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนจะเกี่ยวข้องกับเงินดอลลาร์
สหรัฐ เป็นเพราะว่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินสำรองของโลก
คุณอาจจะถามตัวเองว่า "ทำไมดอลลาร์สหรัฐ ทำไม่ไม่เป็นเงินปอนด์ หรือยูโร?"

สินค้า
ทางการเกษตรและสินค้าทางอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เช่น น้ำมัน
มีราคาเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้นถ้าประเทศต้องการที่จะซื้อน้ำมันหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ
ก่อนอื่นก็ต้องแปลี่ยนสกุลเงินของประเทศให้เป็นดอลลาร์สหรัฐก่อนจึงจะสามารถ
ซื้อสินค้าได้
 และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมหลายประเทศเก็บดอลลาร์สหรัฐไว้เป็นเงินสำรอง
เพราะมันจะช่วยให้พวกเขาสามารถซื้อสินค้าได้เร็วขึ้นมากถ้าเขามีดอลลาร์
สหรัฐไว้ในมือแล้ว

อย่างประเทศจีน,ญี่ปุ่น
และออสเตรเลียเป็นตัวอย่างของผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่
จึงเป็นผลให้พวกเขาต้องสำรองดอลลาร์สหรัฐเป็นจำนวนมากไว้ในธนาคารกลางของ
ประเทศ แล้วสิ่งนี้มันมีผลอย่างไรกับการซื้อขาย Currency cross ?

ตั้งแต่ที่โลกเรายึดติดอยู่กับดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ในการเก็งกำไรในการซื้อขายจะขึ้นอยู่กับคำถามหนึ่ง คือ "วันนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งหรือ่อน" ซึ่งคำถามนี้จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของบรรดาคู่เงินทั้งหลายด้วย

Majors pair : GBP/USD, EUR/USD, USD/CHF, USD/JPY

Commodity pairs: AUD/USD, USD/CAD, NZD/USD

สังเกตได้ว่าคู่เงินเหล่านี้จะประกอบด้วยดอลลาร์สหรัฐด้วย ซึ่งมันก็ไม่มีทางเลือกให้นักลงทุนมากนักเมื่อการตัดสินใจในการลงทุนจะต้องขึ้นอยู่กับดอลลาร์สหรัฐ






คุณจะ
เห็นได้จากการซื้อขายใน 7 สกุลเงินที่นิยมมากที่สุด
ปรกติเรามักจะเทรดทั้งค่าเงินที่ต่อต้านดอลลาร์สหรัฐ (Anti dollar)
และสกุลเงินที่สนับสนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (Pro dollar)
ซึ่งการเก็งกำไรนี้จะส่งผลกระทบต่อคู่เงินต่างๆเหล่านี้ไปในทางเดียวกัน
เกือบทั้งหมด ต่างกับในตลาดหุ้นที่มีมีหลายบริษัทให้เลือกโดยไม่มีข้อผูกพันทางความคิดในการเก็งกำไรกับสิ่งสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง





สำหรับตลาดหุ้น
จะเห็นได้ว่าแม้ตลาดจะเป็นบวก
ก็ยังมีโอกาสมากมายในการซื้อขายในหุ้นหลายๆตัว
ไม่ได้มีเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งจากหุ้นตัวหนึ่งตัวใดที่มีผลกระทบต่อตะกร้า
โดยรวมของหุ้นทั้งหมด

และในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
แทนที่เราจะมองแค่ 7 สกุลเงินหลัก ที่เป็นคู่เงินที่มีดอลลาร์สหรัฐร่วมด้วย
 (Dollar based pair) คู่เงินที่เป็น Currency cross
(คู่เงินหลักที่ไม่มีดอลลาร์สหรัฐร่วมด้วย)
ก็ให้โอกาสที่มากขึ้นในการเทรดหากำไรจากคู่เงินที่หลากหลายมากขึ้น

ในการเทรด Currency cross คุณมีโอกาสเลือกที่จะเทรดมากขึ้น เพราะสกุลเงินเหล่านี้ไม่ผูกติดกับดอลลาร์สหรัฐ
 ที่อาจมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้นในขณะที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่กำลังซื้อขายคู่เงินดอลลาร์สหรัฐ
คุณก็อาจหาโอกาสใหม่ๆจากการเทรด Currency cross

ตัวอย่างเช่น
ทุกคู่เงินที่มีดอลลาร์สหรัฐ อาจจะวิ่งไซด์เวย์
หรือวิ่งในทิศทางที่ดูลำบากมาก มันก็น่าจะเป็นการดีกว่าถ้าจะนั่งดูเฉยๆ
แทนที่จะเทรดแบบเดาสุ่ม  แต่ถ้าคุณลองเปลี่ยนไปดูคู่เงินอื่นที่เป็น
Currency cross คุณก็อาจพบได้ว่ามีโอกาสในการซื้อขายมากกว่า

เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะซื้อขายเพียงคู่เงินหลัก การคิดให้แตกต่างและเป็นคนกลุ่มน้อยอาจทำให้คุณได้เปรียบมากกว่าในการทำกำไร


แนวโน้มและกรอบราคาที่ชัดเจน

เนื่องจากว่าเทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักชอบเท
รดคู่เงินดอลลาร์สหรัฐฯกันซะมากกว่า
ก็เลยทำให้เห็นได้ว่ารายงานข่าวต่างๆที่ออกมาจะมีผลกระทบให้ค่าเงินดอลลาร์
ผันผวนตามไปด้วย นอกจากนี้สหรัฐฯเองยังมีข่าวเศรษฐกิจที่มากที่สุดในโลก
ซึ่งเป็นผลให้นักเก็งกำไรตอบสนองเป็นอย่างมากต่อรายงานข่าวของสหรัฐ
ถึงแม่ว่ามันจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนักต่อปัจจัยพื้นฐานในระยะยาว
อย่างที่เราเห็นกันอยู่ว่าเวลามีมีข่าวราคาจะผันผวนมาก
บ่อยครั้งที่เราเห็นกราฟลากขึ้นลากลงแล้วสุดท้ายก็มาวิ่งวนๆที่เดิม
และถึงแม้ว่าจะเกิดแนวโน้มใหม่มันก็ทำให้เราหาจุดบ่งชี้แนวโน้มหรือช่วงราคา
ได้ยากกว่าปรกติ





ในวันที่มีข่าวเศรษฐกิจของสหรัฐ
มักจะทำให้ราคาของคู่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างเช่น EUR/USD (ในภาพด้านบน)
หลุดออกจากแนวโน้มที่เรียบง่าย เนื่องจากราคาวิ่งรุนแรงมากกว่าปรกติ





แต่ในทางตรงกันข้ามเราจะเห็นว่าในวัน
เดียวกัน EUR/JPY ก็ยังวิ่งแบบเรียบง่าย
อย่างในตัวอย่างด้านบนเห็นได้ว่าราคาค่อยๆวิ่งขึ้นตามแนวโน้ม
ที่เป็นอย่างนี้ก็อาจเพราะว่า
คู่เงินนี้ได้รับผลกระทบเพียงน้อยนิดจากข้อมูลของสหรัฐ
จึงทำให้เห็นว่าราคามีการผันผวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

และอย่างที่คุณเห็นในกราฟทั้งสองด้านบน
ที่แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินยูโรปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน
แต่กราฟคู่หนึ่งไม่มี USD ร่วมด้วยนั่นก็คือ EUR/JPY เทรดง่ายกว่า EUR/USD
มาก

และถ้าคุณเป็นเทรดเดอร์ที่ชอบเล่นตามเทรนด์ (Trend Fallow) แล้วละก็ การเทรดคู่เงินที่เป็น Currency cross จะทำให้คุณเทรดได้ง่ายขึ้น
 
เพราะมันง่ายกว่าในการที่จะมองแนวโน้มและมีความมั่นใจมากขึ้นในการหาจุดเข้า
 
เพราะคุณจะรู้ว่าระดับแนวรับแนวต้านทางเทคนิคนั้นจะมีนัยยะที่สำคัญมากกว่า
ในคู่เงินหลัก (Majors pair) 

และในหัวข้อต่อไปเราจะมาพูดถึงการเทรด Currency cross โดยใช้ประโยชน์จากความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยในการเทรด


การใช้ประโยชน์จากความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย

การขายสกุลเงินของประเทศที่มีอัตรา
ดอกเบี้ยต่ำกว่าเมื่อเทียบกับอีกประเทศมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า
จำทำให้คุณได้กำไรจากอัตราดอกเบี้ย (ที่เรียกวันว่า Carry trade)
เช่นเดียวกับการได้กำไรจากการแข็งค่าของราคา

Currency crosses มีหลายคู่เงินที่มีความแตกต่างสูงในอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีความสำคัญมากในการ Carry trade





จากภาพตัวอย่างด้านบน
เป็นแนวโน้มขาขึ้นของ AUD/JPY ซึ่งถ้าคุณได้เข้าบายไว้ในคู่นี้
คุณก็จะได้กำไรเยอะเลยทีเดียว นอกจากนี้แล้ว AUD และ JPY
ยังมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกันเยอะมากด้วย ตั้งแต่ปี 2002-2007
ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่ที่ 6.25%
ในขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0%
ซึ่งก็หมายความว่าคุณได้กำไรจากการบายคู่นี้
และยังได้ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างในระหว่างการถือออเดอร์บายด้วย

ส่วนเรื่องของ Carry trade
เราจะเอารายละเอียดมาให้อ่านกันทีหลังนะคะว่าเค้ามีหลักการยังไงในการเลือก
คู่เงินที่จะเทรด บอกคร่าวๆก็คือว่า
หลักการเค้าจะเทรดกันยาวๆเพื่อดอกเบี้ยที่สูงกว่านั่นเองค่ะ


Obscure Crosses (คู่เงินที่ไม่โดดเด่น)

ในบรรดาคู่เงินที่เป็น Currency cross คู่ EUR และ JPY เป็นคู่เงินที่มีสภาพคล่องมากที่สุด
 นั่นก็เป็นเพราะเทรดเดอร์ส่วนมากชอบเทรดคู่เงินที่ Popular
แต่คู่เงินอื่นๆที่ไม่มีสกุลเงิน USD,EUR และ JPY
ร่วมอยู่ด้วยเราจะเรียกพวกนี้ว่า  "Obscure crosses"
ซึ่งก็หมายถึงคู่เงินที่ไม่ได้มีสภาพคล่องที่สูงมาก
เพราะเป็นสกุลเงินที่ไม่โดดเด่นนัก อย่างเช่น AUD / CHF, AUD / NZD, CAD /
CHF และ GBP / CHF ซึ่งเทรดเดอร์บางคนอาจไม่เคยเปิดกราฟไปดูมันเลยด้วยซ้ำ
จริงมั้ย?? และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราเรียกพวกนี้ว่า "Obscure crosses"

ในการเทรดคู่เงินที่เป็น Obscure crosses นี้จะยากและมีความเสี่ยงมากกว่าการเทรดคู่เงินที่มีสกุลเงิน EUR หรือ JPY
 เพราะว่ามีผู้ซื้อขายคู่เงินเหล่านี้น้อยมาก
และปริมาณการซื้อขายที่ต่ำทำให้มีสภาพคล่องที่น้องลง
ทำให้ราคาของคู่เงินเหล่านี้ผันผวนมาก
ดังนั้นการราคาวิ่งเป็นรูปแบบสลับฟันปลาจึงเป็นเรื่องปรกติ

ลองมาดูตัวอย่างต่อไปนี้จาก  AUD / CHF และ GBP / CHF





และแน่นอนว่าถ้าคุณเทรดคู่เงินเหล่านี้
คุณก็คงไม่อยากให้ราคามาโดนจุดตัดขาดทุนของคุณก่อนที่จะได้กำไร
และนั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมคนที่เทรดคู่เงินเหล่านี้จะต้องตั้งจุดตัดขาดทุน
ในระยะที่กว้างกว่าปรกติ
แต่อย่างไรก็ตามการตัดสินใจเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของคู่ obscure crosses
ก็ยังยากมากที่จะจับทิศทางราคาในการเทรดได้อยู่ดี





จากภาพตัวอย่างคุณคงเข้าใจแล้วว่าเราหมายถึงอะไร และนอกจากนี้แล้ว การคู่เงิน obscure crosses ไม่ค่อยจะมีใครเค้าเทรดกันมากนัก ทำให้มันมีค่า Spread ที่สูง
 
และถ้าคุณอยากจะเทรดคู่เงินเหล่านั้นก็ควรเตรียมตัวไว้สำหรับความผัวผวนที่
น่าเวียนหัวและค่า Spread ที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้งด้วย
แต่ส่วนตัวเราขออยู่ห่างๆดีกว่า

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/08/currency-cross.html

36
Hedging strategy
hedging strategy หรือ กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยง เป็นกลยุทธ์การเทรดเพื่อป้องกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยที่จะเปิดออเดอร์ทั้งสองทาง ( Buy-Sell) ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเทรด EUR/USD คุณเปิดทั้งออเดอร์ Buy และ Sell ไว้อย่างละ 1 ออเดอร์ ออเดอร์ละ 1 lot ดังนั้น ไม่ว่าราคาจะวิ่งไปในทิศทางใด คุณก็จะไม่มีทางได้หรือเสีย ยอดรวมบัญชีของคุณจะความสมดุล หรืออาจกล่าวได้ว่า ความเสี่ยงในการเทรดของคุณเป็น 0
แล้วกลยุทธ์แบบนี้มันน่าสนใจตรงไหนล่ะ ?
ที่น่าสนใจก็ตรงที่ กลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยง หรือ Hedging นี้ถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องผลกำไร และใช้ประโยชน์ได้เมื่อเวลาที่ราคามีการปรับตัว


การป้องกันเงินทุน 
ถ้าออเดอร์ที่คุณเปิดมีการป้องกันความเสี่ยง ก็เท่ากับว่าคุณไม่ได้เสี่ยงอะไรเลย แม้ว่าจะมีความผันผวนเกิดขึ้นกับคู่เงินที่คุณเทรด แต่ยอดเงินทุนของคุณก็จะไม่เปลี่ยนไปเลย การป้องกันความเสี่ยงจะถูกนำมาใช้เมื่อมีการเปิดออเดอร์ไปแล้วแล้วเกิดไม่มั่นใจในทิศทางของราคาในอนาคตขึ้นมา ก็จะใช้การ Hedging เพื่อเป็นการป้องกันผลกำไรที่มีอยู่จากออเดอร์ที่เปิดไว้แล้ว





ตัวอย่างที่ 1 
คุณเปิดออเดอรN Buy ที่ตำแหน่ง 1.3950 หลังจากนั้นราคาได้ขึ้นไปและปิดที่ 1.4000 แต่คุณไม่แน่ใจว่า ราคาจะผ่านแนวต้านที่ระดับนี้ไปได้หรือไม่ (แนวต้านที่ 1.4000)  ดังนั้นคุณจึงป้องกันความเสี่ยง (Hedge) โดยการ Sell เพื่อให้คุณได้รอดูว่าราคาจะผ่านแนวต้านนี้โดยที่ออเดอร์ของคุณยังปลอดภัย นอกจากนี้แล้วยังเป็นการป้องกันผลกำไรของคุณที่มีอยู่ก่อนหน้าในตำแหน่ง Buy ด้วย
สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้
ถ้าราคาวิ่งผ่านแนวต้านที่ 1.4000 ก็เท่ากับว่าได้เสียกำไรที่ควรจะได้จากการเปิดเออเดอร์ Buy ครั้งแรก เพราะตั้งแต่จุดที่ทำการ Hedge ด้วย ออเดอร์ Sell เราจะไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้คุณได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น นั่นก็คือ ราคาได้ทุผ่าน 1.4000 ขึ้นมาได้แล้ว ทีนี้เราก็สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ใหม่ในการเทรดสำหรับออเดอร์แรกที่ Buy ไว้ได้แล้ว ซึ่งคุณอาจจะปิดออเดอร์ที่คุณ Sell ไว้ แล้วปล่อยให้ออเดอร์ Buy ครั้งแรกของคุณทำกำไรต่อไป หรือแม้แต่เลือกที่จะเปิดออเดอร์ Buy เพิ่มนั่นก็แล้วแต่คุณ
อีกกรณีหนึ่งก็คือ ถ้าราคาไม่ทะลุผ่านแนวต้านที่ 1.4000 ขึ้นไป แต่ราคากลับลงไปที่ 1.3950 แต่คุณยังเชื่อว่าราคาจะต้องกลับชึ้นไปในทิศทางเดิม ก็สามารถที่จะปิดออเดอร์ที่ Short ลงมาจาก 1.4000 แล้วเก็บกำไรตรงส่วนนี้เอาไว้ก่อน และยังเก็บออเดอร์ Buy ของคุณเอาไว้ ผลกำไรที่คุณได้จากตรงนี้ก็เท่ากับว่าเป็นกำไรจากการ Buy ครั้งแรกไปจนถึงตำแหน่ง 1.4000 นั่นเอง เท่ากับว่าคุณได้ปกป้องกำไรในส่วนนั้นไว้ และตอนนี้คุณก็จะต้องเผชิญหน้ากับความผันผวนจากความเสี่ยงในออเดอร์ Buy ของคุณอีกครั้งหนึ่ง


ตัวอย่างที่ 2
คุณ Buy EUR/USD ตั้งแต่ 1.3950 และราคาในปัจจุบันคือ 1.4000 แต่กำลังจะมีการประกาศข่าวที่สำคัญของค่าเงิน USD และคุณคาดว่าจะมีความผันผวนที่อาจทำให้ราคาวิ่งไปชนจุด Stop Loss ของคุณได้ คุณจึงจะหาทางที่จะปกป้องผลกำไรของคุณโดยการ Hedge เพื่อป้องกันความเสี่ยงของออเดอร์ของคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเอา Stop Loss ของคุณออกได้ชั่วคราวในช่วงที่มีความเสี่ยงจากภาวะราคาผัวผวนมากๆจากข่าว และที่นี้คุณก็สามารถืออเดอร์รอดูข่าวได้อย่างไม่ต้องมีความเสี่ยงใดๆ ถ้าข่าวที่ออกมาส่งผลดีกับออเดอร์แรกของคุณ (Buy) คุณก็สามารถปิดออเดอร์ Hedge (Sell) ของคุณได้เพื่อให้ ออเดอร์ Buy ของคุณวิ่งทำกำไรต่อไปในแนวโน้มขาขึ้น


ประโยชน์จากการ Hedge เมื่อราคาปรับตัว
คุณสามารถใช้ประโยชน์จากการ Hedging ออเดอร์ของคุณ เมื่อราคามีการปรับตัวในราคาวิ่งไปตามแนวโน้ม ซึ่งจะทำให้ผลกำไรของคุณเพิ่มเป็น 2 เท่า คือ คุณจะได้กำไรจากทั้งการ Buy และ Sell และในการใช้กลยุทธ์นี้ในการเทรด คุณควรจะต้องรู้ก่อนว่าจุดกลับตัว หรือจุด Retracement นั้นอยู่ตรงไหน เพื่อที่จะเข้าออเดอร์ได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
ตัวอย่าง
คุณคาดว่า EUR/USD จะวิ่งในทิศทางขาขึ้น คุณจึงเปิด Buy ที่ 1.3950 และเป้าหมาย Take profit ของคุณอยู่ที่ 1.4100 ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 1.4000 และคุณคาดว่าราคาจะลงมาพักตัวที่ระดับ 1.3980 ดังนั้นคุณจึง Hedge ด้วยการ Sell ที่ 1.4000 และคุณ และเมื่อราคาลงมาถึงระดับ 1.3980 คุณก็ปิดออเดอร์ Sell ของคุณ คุณก็จะได้กำไรในส่วนนี้ไปก่อน แต่คุณยังเก็บออเดอร์ Buy ในครั้งแรกของคุณไว้และหวังว่าราคาจะวิ่งไปถึงเป้าหมายของคุณ (1.4100) แต่อย่างไรก็ตาม ที่แน่ๆคุณได้กำไรจากการ Hedge ออเดอร์ Sell ของคุณ กว่า 20 จุดไปเรียบร้อยแล้ว
อันที่จริงในกรณีนี้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เปิดออเดอร์ Hedge แต่ในการเปิดออเดอร์แรกของคุณก็ทำกำไรได้ 30 จุด อยู่แล้ว ( 1.3980-1.3950 = 30 จากการเปิด Buy ในครั้งแรก)
และเมื่อมีการ Hedge กำไรของคุณจะกลายเป็น 50 จุด (1.3980-1.3950 = 30 จากการเปิด Buy ในครั้งแรก และ 1.4000 -1.3980 = 20 ในการเปิด Sell เพื่อ Hedge)
สรุปก็คือ ถ้ามีการปรับตัวของราคาเกิดขึ้น คุณก็สามารถใช้กลยุทธ์นี้เพื่อทำกำไรได้ แต่ถ้าราคาไม่มีการปรับตัว คุณก็อาจจะสูญเสียกำไรส่วนหนึ่งที่คุณควรจะได้รับไป
ตั้งข้อสังเกตว่า บางโบรคเกอร์ไม่อนุญาตให้คุณให้กลยุทธ์การ Hedging ดังนั้น คุณควรสอบถามกับทาง Broker ก่อนว่าเค้าอนุญาตรึเปล่า

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2012/12/hedging.html

37
พูดคุยForexทั่วไป / Multiple Time Frame Analysis
« เมื่อ: 31/ก.ค./2015 03:25:58 »
Multiple Time Frame Analysis ก็คือการวิเคราะห์คู่เงินเดียว ราคาเดียวกันในหลาย Time Frame หรือในกรอบเวลาที่แตกต่างกันนั่นเอง
อย่าลืมว่าแต่ละคู่เงินมีหลายกรอบเวลา
อย่างกราฟรายวัน รายชั่วโมง 15 นาทีหรือแม้แต่ 1 นาที
ซึ่งหมายความว่านักลงทุนอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันในการเทรดคู่เงินเดียว
กัน และความเห็นของพวกเขาทั้งสองก็เป็นความเห็นที่ถูกต้องเหมือนกัน
อย่างเช่น พรนภา อาจจะเห็นว่า EUR/USD นั้นอยู่ในแนวโน้มขาลงในกราฟ 4
ชั่วโมง แต่อัครเทพ นั้นเทรดในกราฟ 5 นาที
และเห็นว่าราคายังวิ่งอยู่ในกรอบราคาขึ้นๆลงๆ 
และความเห็นของพวกเขาทั้งสองต่างก็ถูกต้อง 
และด้วยเหตุนี้เองที่สร้างปัญหาให้การ
เทรดเกิดความสับสนในบางครั้ง เมื่อมองดูราคาที่กราฟ 4 ชั่วโมง
เห็นว่ามีสัญญาณขายแล้วก็ไปดูที่
กราฟรายชั่วโมงแล้วเห็นว่าราคายังค่อยๆปรับตัวขึ้น  แล้วทีนี้จะทำอย่างไร
??  ให้ยึดกรอบเวลาใดกรอบเวลาหนึ่งเป็นหลัก
ใช้สัญญาณจากกรอบเวลานั้นในการเทรดโดยไม่ต้องสนใจกรอบเวลาอื่นหรือว่าอย่าง
ไร ???
ในบทความนี้เราจะพูดถึงว่าคุณควรโฟกัส
ไปที่กรอบเวลาไหน
เทรดเดอร์แต่ละคนควรเลือกเทรดในกรอบเวลาใดกรอบเวลาหนึ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง
 ซึ่งจะพูดถึงเรื่องนี้ในภายหลัง
และประการที่สองก็คือวิธีการวิเคราะห์ในกรอบเวลาที่แตกต่างกันเพื่อช่วยให้
มีการตัดสินใจซื้อขายที่ดีขึ้น
กรอบเวลาไหนที่คุณควรเทรด
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนมือใหม่
ไม่ทำในสิ่งที่พวกเขาควรทำก็คือ
พวกเขาเทรดในกรอบเวลาที่ไม่เหมาะสมกับบุคลิคหรือตัวตนของพวกเขา
เทรดเดอร์มือใหม่มักจะอยากรวยอย่างรวดเร็ว
ทำให้พวกเขาเริ่มเทรดในกรอบเวลาเล็กๆอย่าง 1 นาที หรือ 5 นาที
แล้วก็จบลงด้วยความผิดหวังเมื่อพวกเขาเทรดในกรอบเวลาที่ไม่เหมาะกับตัวเอง
และสำหรับเทรดเดอร์บางคนกลับรู้สึกสบาย
กว่าที่จะเทรดในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง
ซึ่งเป็นกรอบเวลาที่นานกว่าแต่ก็ไม่ได้นานจนเกินไป
สัญญาณการซื้อขายมีน้อยลง แต่ก็ไม่น้อยเกินไป
การเทรดในกรอบเวลานี้จะช่วยมีเวลามากขึ้นในการวิเคราะห์ตลาดและไม่ต้องรีบ
ร้อนตัดสินใจจนเกินไปนัก
และในทางตรงกันข้ามเราอาจมีเพื่อนคน
หนึ่งที่ไม่เคยเทรดในกรอบเวลา 1 ชั่วโมงเลย เขาก็จะรู้สึกว่าเวลา 1
ชั่วโมงมันช้ามากสำหรับเขา เขาก็จะรู้สึกอึดอัดแล้วอยากทำการซื้อขายที่กราฟ
 15 นาที
ซึ่งมันก็ทำให้เขามีเวลามากพอแต่ไม่มากเกินไปที่จะตัดสินใจตามแผนการเทรดของ
เขา ในขณะที่เพื่อนของเราอีกคนหนึ่งไม่รู้ว่าจะเทรดที่กรอบเวลา 1
ชั่วโมงได้อย่างไร เพราะเขาคิดว่ามันเร็วเกินไป
เพราะเขาเทรดที่กรอบเวลารายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน
ตอนนี้คุณอาจจะมีคำถามว่าแล่วกรอบเวลา
ไหนที่เหมาะสมกับคุณ ก่อนอื่นคุณควรดูที่บุคลิกของตัวเอง
คุณต้องรู้สึกสบายไม่อึดอัดกับกรอบเวลาที่คุณเทรด
คุณมักจะมีความู้สึกที่กดดันหรือขัดแย้งบ้างเมื่อคุณเทรดกับเงินจริง
ซึ่งมันก็เป็นเรื่องธรรมชาติ
แต่คุณไม่ควรจะรู้สึกกดดันจากสาเหตุที่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเร็วเกินไปและ
ทำให้ยากที่จะตัดสินใจซื้อขาย
หรือมีการตัดสินใจที่ช้าเกินไปและทำให้คุณพลาดได้
เมื่อเราเทรดใหม่ๆ
เราไม่สามารถยึดติดอยู่กับกรอบเวลา เราควรเริ่มกับกรอบเวลา 15 นาที
จากนั้นก็ 5 นาที จากนั้นเราจะพยายามเทรดที่ 1 ชั่วโมง กราฟรายวัน และ 4
ชั่วโมง สิ่งนี้จะเป็นไปตามะรรมชาติของเทรดเดอร์ใหม่
จนกว่าคุณจะพบว่าโซนกรอบเวลาไหนที่คุณเทรดแล้วรู้สึกสบาย
 และขอแนะนำว่าให้คุณลองเทรดในหลายๆกรอบเวลาในบัญชีเดโม่ก่อน
เพื่อดูว่ากรอบเวลาไหนที่เหมาะสมกับคุณที่สุด





รายละเอียดของกรอบเวลา
การเทรดมันก็เหมือนกับสิ่งอื่นในชีวิต
ของเราเอง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคุณ
ถ้าคุณชอบอะไรที่ไปช้าๆไม่เร่งรีบในการเทรดแต่ละครั้ง 
คุณก็อาจเลือกกรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้นในการเทรด 
หรือหากคุณชอบความเร็วที่ตื่นเต้นเร้าใจ คุณก็อาจเลือกเทรดที่กรอบเวลา 5
นาที
ต่อไปนี้คือความแตกต่างระหว่างกรอบเวลาขั้นพื้นฐานที่แตกต่างกัน

เทรดระยะยาว (Long term)
เทรดเดอร์ที่เทรดระยะยาวมักจะดูกราฟที่
กรอบเวลารายวันและรายสัปดาห์
หราฟรายสัปดาห์จะทำให้เห็นมุมมองในระยะยาวและช่วยสนับสนุนในการเข้าออเดอร์
ในกราฟรายวันซึ่เป็นระยะที่เวลาที่สั้นเข้ามา
ระยะเวลาในการถือออเดอร์อาจกินเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือนหรือบางทีอาจ
จะถึงปี
ข้อได้เปรียบ ก็
คือ ไม่ต้องดูกราฟในระหว่างวัน และการซื้อขายก็ครั้งน้อยลง
ซึ่งก็ลดจำนวนการจ่ายค่าสเปรดลงด้วยและมีเวลามากขึ้นในการพิจารณาแผนการเทรด
แต่ละครั้ง
ข้อเสียเปรียบ คือ
 รอบการสวิงของราคาจะมีขนาดใหญ่ ปรกติจะอยู่ที่ 1-2 ปี
ดังนั้นเทรดเดอร์จะต้องอดทนรอ
การค้าที่มีขนาดใหญ่จำเป็นต้องรอสวิงในระยะยาวและบ่อยครั้งที่ต้องอดทนรอใน
ช่วงที่ติดลบระยะยาวเป็นเดือนๆ
เทรดระยะสั้น หรือ สวิงเทรด (Short-term)
การเทรดระยะสั้นมักจะใช้กรอบเวลาที่ 1 ชั่วโมง และถือออเดอร์หลายชั่วโมง อาจจะถึงวันไปจนถึงสัปดาห์ 
ข้อได้เปรียบ คือ มีโอกาสในการซื้อขายมากขึ้น มีโอกาสน้อยเสียทั้งเดือน ไม่ต้องรอที่จะเทรดเพื่อทำกำไรแค่ 1-2 ครั้งต่อปี
ข้อเสียเปรียบ
 คือ มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เพราะต้องจ่ายค่าสเปรดมากขึ้น
(ในการเทรดแต่ละครั้ง)
มีความเสี่ยงชั่วข้ามคืนซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มขึ้นมาในการถือออเดอร์ข้าม
คืน หรือหลายๆวัน
เทรดระหว่างวัน (Intraday)
เทรดเดอร์ที่เทรดระหว่างวัน มักจะใช้กราฟรายนาที เช่น 1 นาทีหรือ 15 นาที ในการเทรดระหว่างวัน และปิดออเดอร์แบบวันต่อวัน
ข้อได้เปรียบ คือ มีโอกาสในการซื้อขายมาก มีโอกาสน้อยที่จะเสียทั้งเดือน ไม่มีความเสี่ยงข้ามคืน
ข้อเสียเปรียบ
 คือ มีรายจ่ายในการซื้อขายที่สูงมาก
เพราะต้องเสียค่าสเปรดทุกครั้งที่ทำการซื้อขาย
เกิดความสับสนในการตัดสินใจมากขึ้น
เนื่องจากต้องเปลี่ยนทัศนคติบ่อยๆในการเทรด (เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง)
ผลกำไรจะถูกจำกัดเพราะต้องออกจากตลาดเมื่อสิ้นสุดวัน
นอก
จากนี้แล้วคุณยังต้องพิจารณาจำนวนเงินทุนของคุณในการเทรดด้วย
ในการเทรดระยะสั้นทำให้คุณสามารถตั้งจุดตัดขาดทุนที่น้อยกว่า
ในการเทรดในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่าก็จำเป็นต้องมีจุดตัดขาดทุนที่มากกว่าตามไป
ด้วย
คุณจึงควรมีขนาดบัญชีการซื้อขายที่ใหญ่ เพื่อให้คุณสามารถเล่นกับราคาที่สวิงขึ้นลงของตลาดได้ โดยไม่ต้องเจอกับ margin call
สิ่งที่
สำคัญที่สุดที่ต้องจำไว้คือ ไม่ว่าคุณจะเลือกเทรดในกรอบเวลาใดก็แล้วแต่
มันก็ควรเป็นเหมาะกับบุคลิกของตัวคุณเองซึ่งจะทำให้คุณเทรดได้แบบเป็น
ธรรมชาติไม่อึดอัดหรือเร่งรีบจนเกินไป
หากคุณยังรู้สึกตกใจอยู่บ้างในการเทรด
นั่นก็อาจเป็นเพราะว่ากรอบเวลาที่คุณเลือกเทรดนั้นไม่เหมาะสมกับคุณ
และนี่ก็คือสาเหตุว่าทำไมเราจึงแนะนำให้คุณลองเทรดในบัญชีเดโม่ก่อนเพื่อ
เลือกกรอบเวลาที่เหมาะสมกับตัวคุณเองก่อนที่จะเทรดในกรอบเวลาที่เหมาะสมใน
บัญชีจริง ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดของคุณได้
และเมื่อคุณเลือกรอบ
เวลาที่เหมาะสมได้แล้วทีนี้คุณก็จะเทรดได้ด้วยความรู้สึกที่สบายๆ
เริ่มที่จะสนุกกัยการเทรดมากขึ้น
ที่นี้คุณก็สามารถเริ่มมองราคาในกรอบเวลาอื่นๆ
ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ตลาดได้ดีขึ้น

ซื้อหรือขาย
ก่อนที่เราจะอธิบายเกี่ยวกับการ
วิเคราะห์ราคาโดยใช้หลายกรอบเวลา
เราจะมาพูดถึงเรื่องที่ว่าทำไมคุณจึงควรที่จะเปลี่ยนความคิดเมื่อดูกราฟใน
กรอบเวลาที่แตกต่างกัน
เรามี Indicators  มากมาย
และก็มีข่าวเศรษฐกิจอีกมากที่จะช่วยในการวิเคราะห์กราฟ
นอกจากนี้เรายังไม่ฝึกฝนการเทรดกันมาแล้ว
ทีนี้เราก็มาดูที่กราฟแล้วก็ตัดสินใจว่าจะเข้าออเดอร์ซื้อหรือขาย
(บายหรือเซล)
และคุณจะต้องใส่ใจมากขึ้นเมื่อพยายามที่จะวิเคราะห์กราฟในกรอบเวลาที่แตก
ต่างกัน
ลองมาดูที่กราฟ 10 นาที ของ GBP/USD
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2010 โดยเราได้ใส่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 (MA200)
ลงในกราฟ และดุเหมือว่า MA200 จะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
โดยที่ราคากลับมาทดสอบแนวต้านและกลายเป็นโดจิ
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการเซล





แต่ลองมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไป ราคาได้พุ่งขึ้นไปปิดเหนือแนวต้านและวิ่งขึ้นไปอีก 200 จุด ซึ่งเลวร้ายมากหากคุณเซลในตอนแรก



มันเกิดอะไรขึ้นกันนี่ ?
ทีนี้เราลองมาดูในกราฟ 1 ชั่วโมง เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น
และถ้าคุณได้ดูในกราฟ 1
ชั่วโมงตั้งแต่แรกคุณก็จะสังเกตได้ว่าราคามันอยู่ที่แนวรับด้านล่างของกรอบ
เชเนลราคาขาขึ้น
และที่มากไปกว่านั้นคือราคาฟอร์มตัวเป็นโดจิเมื่อชนกับเส้นแนวรับ
ซึ่งเป็นสัญญาณบายอย่างชัดเจน



และราคาได้วิ่งตามกรอบเชเนลขาขึ้นในกรอบเวลา 4 ชั่วโมงอย่างชัดเจนด้วย



ถ้าคุณได้ดูกราฟในกรอบเวลานี้ตั้งแต่
ครั้งแรก คุณก็คงไม่ตัดสินใจเซลในทันทีเมื่อคุณเห็นสัญญาณขายในกราฟ 10 นาที
 และกราฟทั้งหมดนี้คือกราฟในวันและเวลาเดียวกัน
มันแตกต่างกันแค่กรอบเวลาที่แสดงเท่านั้นเอง
ตอนนี้คุณพอเห็นถึงความสำคัญของการดูกราฟในกรอบเวลาที่แตกต่างกันบ้างหรือ
ยัง?
ส่วนมากเรามักเคยชินกับการดูกราฟที่ 15
 นาที  เราไม่เคยเข้าใจเลยว่าในเมื่อทุกอย่างมันดูดี
ดูถูกต้องแล้วทันใดนั้นราคาก็มีการกลับตัวหรือวิ่งไซด์เวย์
เราไม่เคยเข้าใจว่าควรจะดูในกรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้นเพื่อดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น บ่อยครั้งที่เมื่อมีการไซด์เวย์หรือกลับตัวในกราฟ 15 นาที มักจะเป็นเพราะราคาในกรอบราคาที่ใหญ่กว่าได้วิ่งชนแนวรับหรือแนวต้าน และคุณควรจำไว้ว่า แนวรับหรือแนวต้านในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่านั้นมีนัยยะที่สำคัญมากกว่าในการต้านราคา
การดูกราฟในหลายกรอบเวลาอาจช่วยให้เรา
ผิดพลาดได้น้อยกว่าการที่เทรดในกรอบเวลาเดียว
และช่วยให้คุณสามารถถืออเดอร์ได้นานขึ้นเพราะคุณสามารถเห็นตำแหน่งของคุณได้
ชัดเจนมากขึ้นเมื่อเทียบในภาพที่ใหญ่กว่า
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการเทรด
ในกรอบเวลาเดียว และยึดกับกรอบเวลาเดียวนั้นกับ Indicators ที่พวกเขาใช้
โดยไม่สนใจกราฟในกรอบเวลาอื่นๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ
บ่อยครั้งที่พวกเขาจะเจ็บตัวกับเทรนใหม่ที่มาจากกรอบเวลาอื่นๆที่ใหญ่กว่า
ที่พวกเขาไม่ได้ใส่ใจ
การผสมผสานระหว่างกรอบเวลา
การเทรดโดยการวิเคราะห์ราคาจากหลายกรอบเวลาหรือหลายทามเฟรม คุณไม่ควรที่จะดูเฉพาะกรอบเวลาที่คุณต้องการเทรด แต่ควรจะซูมเข้าซูมออกเพื่อดูในกรอบราคาที่เล็กและใหญ่กว่าด้วย
ก่อนอื่นให้ดูว่ากว่ามันเกิดอะไรขึ้นในกราฟ อย่าพยายามซูมเข้าไปดูที่จุดเล็กๆ แต่ควรดูจากมุมกว้าง ดูจากภาพรวมกว้างๆของตลาด
 จงจำไว้ว่า การเทรดในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่า
ทำให้มีเวลามากขึ้นในการวิเคราะห์และวางแผน
ซึ่งก็หมายความว่ามันจะเป็นการเทรดในการเคลื่อนไหวหรือสวิงในตลาดที่มีระยะ
ยาวกว่า
และก็ยังมีแนวรับ-แนวต้านที่มีความสำคัญมากขึ้นในกรอบเวลามี่นานกว่าด้วย
เริ่มต้นด้วยการเลือกกรอบเวลาที่คุณ
ต้องการและจากนั้นเลื่อนไปดูในกรอบเวลาที่สูงขึ้น
ทีนี้คุณก็สามารถตัดสินใจได้ได้ว่าจะซื้อหรือขาย
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่ใช้และแนวโน้มที่มีในตลาด
จากนั้นก็กลับไปที่กรอบเวลาที่คุณต้องการ (หรือแม้กระทั่งต่ำกว่า)
และใช้กลยุทธ์ทางเทคนิคในตัดสินใจเลือกจุดที่จะเข้า-ออกออเดอร์
(ตั้งเป้าหมายกำไร กำหนดจุดขาดทุน)
และนี่ก็คือประโยชน์อย่างหนึ่งของการเท
รดโดยใช้การวิเคราะห์จากหลายกรอบเวลา
คุณจะสามารถหาจุดเข้าออกออเดอร์ที่ดีกว่าได้ด้วยการซูมเข้าไปดูในกรอบเวลา
ที่เล็กลง โดยการเพิ่มมิติของเวลาในการวิเคราะหื
ช่วยให้คุณสามารถช่วยให้คุณเห็นอะไรที่มากกว่าการเทรดในกรอบเวลาเดียว
อย่างเช่นถ้าคุณชอบเท
รด EUR/USD แลคุณรู้สึกสบายใจในการเทรดที่กราฟ 1 ชั่วโมง
ก่อนที่คุณเปิดการเทรดแต่ละครั้งคุรก็ควรเข้าไปดูที่กราฟ 4 ชั่วโมงก่อน
เพื่อดูแนวโน้มโดยรวม



เมื่อเห็นแล้วว่าราคาเป็นขาขึ้นอย่าง
ชัดเจน ทีนี้สิ่งที่ควรทำก็คือการมองหาสัญญาณซื้อ
อย่าลืมว่าเทรนคือเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณ ( Trend are your friend)
 ทีนี้คุณก็กลับมาดูที่กรอบเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อหาจุดเข้าออเดอร์
และตัดสินใจที่จะใส่ Stochastic เข้าไปในกราฟเพื่อช่วยในการตัดสินใจ



และทันทีที่กลับเข้ามาดูกราฟ 1
ชั่วโมงเราก็เห็นว่าแท่งเทียนเป็นโดจิ และ Stochastic
เพิ่มมีการตัดขึ้นจากเงื่อนไขของการ Oversold
แต่เราก็ยังไม่แน่ใจว่าเปิดออเดอร์ตรงจุดไหนดี จึงเปิดเข้าไปดูในกราฟ 15
นาที เพื่อช่วยหาจุดเข้าที่ดีที่สุดและเป็นการยืนยันที่หนักแน่นขึ้นด้วย



ดังนั้นตอนนี้เราก็จะมาจับตาดูที่กราฟ
15 นาที
และเห็นว่าเส้นเทรนไลน์ที่รับอยู่นั้นดูเหมือนว่าจะแข็งแกร่งใช้ได้ที่เดียว
 และไม่ใช่เพียงเท่านั้น แต่ Stochastic ก็มีสัญญาณ Oversold ในกรอบเวลา 15
 นาทีเช่นกัน เราจึ
ตัดสินใจว่าตรงนี้แหละเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการเปิดบาย  และลองมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไป





และจากที่เราเห็น ราคาของ EUR/USD
ยังคงวิ่งไปในแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งเราได้เปิดบายไว้ที่เหนือระดับ 1.2800
และยังคงถือออเดอร์อยู่ถึงสองสัปดาห์ ซึ่งทำกำไรได้ถึง 400 จุด
สิ่งทีคุณไม่ควรลือก็คือ มันมีข้อจำกัดเกี่ยวกับว่ากี่กรอบเวลาที่คุณควรดู  เพราะคุณคงไม่ต้องการให้หน้าจอของคุณเต็มไปด้วยกราฟที่บอกคุณในสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณควรใช้อย่างน้อย 2 ทามเฟรม แต่ไม่เกิน 3 ทามเฟรม เพราะหารที่ดูมากไปจะทำให้เกิดความสับสนจนทำให้เกิดความผิดพลาดได้
Time Frame Combinations

ถึงตอนนี้เราอยากจะบอกถึงการใช้กรอบ
เวลาในการเทรด
ที่ช่วยให้มีความยืดหยุ่นมากที่สุดสำหรับแปลความหมายในการเทรดในแนวโน้มระยะ
ยาว ระยะกลาง หรือระยะสั้น
กรอบเวลาที่
ใหญ่ที่สุด เราจะใช้เพื่อพิจารณาแนวโน้มหลักของเรา
ซึ่งจะแสดงให้เห็นภาพใหญ่ของคู่เงินที่เราต้องการเทรด
กรอบเวลาต่อไปคือกรอบที่ต่ำลงมาซึ่งเป็นกรอบเวลาปรกติของเรา
และมันจะส่งสัญญาณซื้อขายในระยะกลาง และกรอบเวลาเล็กสุด
ที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มระยะสั้นและช่วยเราในการหาจุดเข้าออกออเดอร์ที่ดี
ทีสุด

ซึงคุณ
สามารถเลือกใช้กรอบเวลาไหนก็ได้ตามที่คุณต้องการ
เมื่อแต่ละกรอบเวลาที่คุณเลือกมีระยะเวลาที่แตกต่างกันมากพอที่จะเห็นการ
เคลื่อนไหวของราคาที่แตกต่างกันในแต่ละกรอบเวลา


ซึ่งคุณอาจใช้เวลาที่คุณพยายามที่จะตัดสินใจว่า ควรเลือกระยะเวลาที่แตกต่างกันแค่ไหนระหว่างกราฟ


1 นาที, 5 นาที และ 30 นาที

5 นาที, 30 นาที และ 4 ชั่วโมง

15 นาที, 1 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมง

1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง และ 1วัน


4 ชั่วโมง, 1วัน และรายสัปดาห์ หรือ อื่น ๆ


คุณ
ควรแน่ใจว่ามีความแตกต่างมากพอสำหรับ
การเคลื่อนไหวขึ้นลงในกรอบเวลาที่มีขนาดเล็กสุดที่จะไม่สะท้อนให้เห็นถึงการ
เคลื่อนไหวในกรอบราคาที่ใหญ่ที่สุดของคุณ
หากกรอบเวลาที่คุณเลือกนั้นอยู่ใกล้กันเกินไปมันก็อาจจะไม่สามารถบอกถึงความ
แตกต่างระหว่างกรอบเวลาได้ ซึ่งก็จะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/08/multiple-time-frame-analysis.html

38


 

 

 



คุณ dvc11 เข้ามาตั้งกระทู้ว่า เขาอยากรู้จังเลยว่าคนส่วนใหญ่เทรดที่ Time Frame เท่าไหร่กันบ้าง และ ทำไมถึงเทรดที่ Time Frame นั้น ไม่ว่าจะเป็น 1 นาที 2 นาที 5 นาที 15 นาที 20 นาที 30 นาที 1 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง แบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน อะไรก็ได้ รับฟังหมด (ปล.บางโบรกเกอร์ที่ไม่ได้ใช้ Platform ของ MT4 อาจจะมี 2 นาที 10 นาที 2 ชั่วโมงให้เลือกดูได้ครับซึ่ง MT4 ปกติจะไม่มี)



ในช่วงแรกของกระทู้นี้มีคนเข้ามาเถียงกันนิดหน่อยระหว่างคุณ The redlion กับ Scotty B ซึ่งผมมองว่าไม่ได้มีสาระอะไรมากเลยขอข้ามช่วงแรกไปนะครับ ถ้าใครสนใจว่าเค้าเถียง

อะไรก็ตามไปอ่านที่กระทู้จริงได้

คุณ Ipndasno เข้ามาตอบว่า มันขึ้นอยู่กับคุณว่าคุณอยากเห็น “ความละเอียด” ของราคามากแค่ไหน แต่สำหรับเขาแล้วเขาให้ความสนใจกับ “ระยะของแท่งเทียนจากจุดสูงสุดของแท่งถึงจุดต่ำสุดของแท่งเทียน” มากกว่า เพราะมันคือแนวรับแนวต้านดี ๆ นี่เอง



คุณ Rob Mondave เข้ามาตอบว่าสำหรับเขาแล้ว เขารู้สึกว่าตัวเองเหมาะกับ Daily Time Frame มากกว่าสำหรับ Forex และ Time Frame อื่น ๆ ในหุ้นตัวอื่น (เหมือนเค้าจะเทรดS&P500 Futures ด้วย) เพราะเขาชอบเทรดแบบยาว ๆ มากกว่า



คุณ deltatrade บอกว่า เขาชอบเทรดที่ Time Frame 2 ชั่วโมง (2H) ด้วยเรื่องของ Spread และความยืดหยุ่นของราคาจะต่ำมากพอจนเขารู้สึกว่าได้เปรียบ เพราะเขาเทรดตั้ง

10 คู่แหนะ




คุณ babwilliams เข้ามาพูดว่า พวกสถาบันการเงินใหญ่ ๆ มักจะเทรดใน Time Frame ใหญ่ ๆ อย่าง Daily ขึ้นไปด้วยเหตุผลที่ว่าพวกเขามีกำลังซื้อขายในตลาดสูงมาก เขาจึงไม่

จำเป็นต้องมาสนใจใน Time Frame เล็ก ๆ นั่นเอง

คุณ Vmpwraith เข้ามาให้ความเห็นว่า เขาดูอยู่ 4 Time Frame นะคือ 15M 1H 4H และ Daily เขาจะเทรดจาก Time Frame 15M เพราะเขารู้สึกว่า Time Frame นี้โอเคส

ำหรับเขา เขาสามารถใช้ 15M ในการยืนยันเรื่องของเทรนได้ด้วย



คุณ Pipwrangler เสนอวิธีเทรดของเขาว่า อย่างเขาเนี่ยชอบดู Time Frame ใหญ่ ๆ อย่าง 1H ขึ้นไปเลยนะเพราะมันใช้วิเคราะห์แนวโน้มได้ดี แต่เวลาเข้าเขาจะมาเข้าใน Time

Frame 30M 15M หรือแม้กระทั่ง 5M เมื่อเค้าเห็นว่าราคาเป็นเทรนยาว ๆ เค้าจะไปดูราคาใน 4H หากราคาเป็นสวิงนิด ๆ เขาก็จะมาดูใน 1H วิธีคิดง่าย ๆ สำหรับเขาคือ เขาเทรดใน

Time Frame ที่เขามองว่าอ่านง่ายที่สุด ณ ขณะนั้น

คุณ forexpoor บอกว่า Time Frame ใหญ่ ๆ เหมาะสำหรับคนที่ใจเย็นและคนที่ไม่มีเวลาเฝ้าอยู่หน้าจอ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะลองเทรดทั้ง Time Frame ที่เล็ก ๆ หรือใหญ่ก็ดีนะ

และหา Time Frame ที่เหมาะสมกับคุณน่าจะเป็นอะไรที่ดีที่สุด

คุณ The Saint ตอบว่า ส่วนตัวแล้วเขาชอบเทรดในช่วงที่ตลาดปิดแท่งของวัน (Daily Time Frame) และเทรดใน Time Frame เล็ก ๆ ในแต่ละวันด้วย เขามักจะชอบดูราคาตอน

ปิดแท่ง Daily และชอบมาหาสัญญาณเข้าในกราฟ 1H แต่วันไหนที่กราฟเป็นสวิงเยอะ ๆ เขาก็จะมาหาจุดเข้าในกราฟ 1H 15M หรือ 5M ขึ้นอยู่กับสภาพของตลาด ณ ขณะนั้น



คุณ Sywa ให้ความเห็นว่า อย่างของเขาเนี่ยต้อง Time Frame 30 นาทีเลยโอเคที่สุดสำหรับเขา ถามว่าทำไมนะหรอ? เขาคิดว่า Time Frame ที่เล็กกว่านั้นมันหลอกตาเขามากเกิน

ไปและ 1H ก็ดูจะนานเกินไปสำหรับเขา ดังนั้น 30 นาทีนี่ละ เจ๋งที่สุดแล้ว


คุณ hedging เสนอว่า อย่างของเขาเนี่ย เขาชอบเทรดสวิงใน Time Frame daily นะ ถึงแม้ว่าโอกาสเข้าจะได้แค่ 6-8 ครั้งต่อเดือน แต่เวลาปล่อยยาวทีก็สามารถทำได้ถึง 400-

500 pips สบาย ๆ ถึงแม้จะโดนลากหน่อยแต่อย่างน้อยสุดก็ได้ 80-120 pips กลับมาแน่นอน (โบรกเกอร์ 4 ตำแหน่งนะครับที่เขาพูดถึง)



คุณ Slow Burn ช่วยตอบว่า เขาเทรดใน 1H นะเพราะชอบมี False Breakout ให้เขาเห็นและเข้าตามได้บ่อย ๆ แต่ถ้าวันไหนตลาดสวิงเยอะ ๆ เขาก็จะลงมาดูกราฟที่ 15 นาที



คุณ Vitez บอกว่า เขาใช้แค่ 2 Time Frames เองคือ 1H กับ Daily เพราะเขากลัวว่าตัวเองจะวิเคราะห์มากเกินไปใน Time Frame เล็ก ๆ หากวันไหนไม่พอใจกับกราฟ daily ก็

จะลงมาดู 1H น้อยครั้งที่เขาจะมาดู 15M บ้างยกเว้นเวลา Strong Move Breakout แรง ๆ นะ




จากบทความนี้เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเทรดเดอร์แต่ละคนมีการเลือกใช้ Time Frame ที่ต่างกันออกไปตามวิธีการเทรดและนิสัยของแต่ละคน การเลือก Time Frame ในการ

เทรดให้เหมาะสมกับตัวเองส่วนตัวแล้ว ต้องใช้เวลาหน่อยนะครับกว่าเราจะเจอ Time Frame ที่ถูกใจ เพราะในช่วงแรก ๆ ของการเริ่มเทรด จะมีสิ่งล่อตาล่อใจมากมายให้ผู้เทรดหน้า

ใหม่ได้ลองเล่น ซึ่งของเล่นเหล่านั้นก็จะมีกติกาหรือวิธีการเล่นซึ่งรวมไปถึง Time Frame ที่ต่างกันออกไปด้วย ทำให้ผู้เทรดไม่แน่ใจว่าที่จริงแล้วตัวเองชอบ Time Frame ไหนกันแน่


วิธีการเลือก Time Frame ของผมคือให้คุณลองสังเกตตัวเองก่อนเลยว่า ตัวเองนิสัยยังไง ใจร้อน ใจเย็น รอลากได้ไหม หรือ สวิงเดียวก็หนีแล้ว เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้วก็ต้องดูเวลา

ของคุณด้วยว่า คุณมีเวลาอยู่กับกราฟนานแค่ไหน ถ้าคุณเป็นคนทำงานไปด้วยเทรดไปด้วย Time Frame  สูง ๆ ก็เป็นตัวเลือกที่ไม่เลว หรือ ถ้าคุณเฟี๊ยวชอบความเสี่ยง ชอบความ

รวดเร็ว การเทรดใน Time Frame  เล็ก ๆ อาจจะเป็นคำตอบของคุณ เท่านี้เราก็จะสามารถเลือก Time Frame ที่เหมาะสมได้ครับ อย่างผมเองก็เปลี่ยน Time Frame มาเยอะ

เหมือนกัน มีช่วงหนึ่งตอนที่กำลังเรียนมหาลัยอยู่ช่วงนั้นผมก็เทรด Time Frame ใหญ่ ๆ ก็สบายดีนะครับ 4H ค่อยดูกราฟทีนึง สามารถกะได้เลยว่าอีก 4H ข้างหน้าต้องดูกราฟหรือไม่

ต้องดูกราฟ แต่ก็ทำใจรับกับการลากยาว ๆ ของ 4H ไม่ได้

ปัจจุบันผมใช้อยู่ทั้งหมด 3 Time Frames คือ 5M, 1H, Daily โดย Daily เอาไว้ดูภาพรวมของเมื่อวานว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ปิดเป็นแท่งเทียนหน้าตายังไง ที่สำคัญคือสามารถใช้ จุด

สูงสุดของแท่งและจุดปิดของแท่งในการหาโซนเทรดด้วย หลังจากนั้นก็มาดู 1H เพื่อดูว่าน่าจะไปทางไหน เมื่อเลือกทางแล้วก็จะมาหาจุดเข้าใน 5M ครับ แบบนี้เป็นต้น


โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/06/time-frame.html

39
สภาพแวดล้อมในตลาด
เปรียบเทียบระหว่าง ชายคนสองคนที่ไปรบในสงคราม ชายที่โง่จะรีบเปิดศึกโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่มีการวางแผน เหมือนคนที่หิวโหยและรีบกินทุกอย่างที่ขวางหน้าในงานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ ส่วนคนฉลาดจะวิเคราะห์สถานการณ์ก่อน เพื่อให้รู้ถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้รู้ว่าตนเองควรจะสู้อย่างไร
ในการเทรดก็เหมือนการทำศึกในสงคราม เราควรจะรู้ว่าสภาวะในตลาดเป็นแบบไหนก่อนที่จะเริ่มวางแผนว่าจะเทรดอย่างไรดี เทรดเดอร์บางคนหงุดหงิดและบอกว่า ระบบเทรดที่ใช้ไม่ดี ในความเป็นจริงระบบเทรดที่ใช้บางครั้งมันก็ใช้การไม่ได้ แต่ในบางครั้งมันก็ทำกำไรให้อย่างมากมาย ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราได้ใช้ระบบเทรดที่เหมาะสมกับสภาพตลาดในขณะนั้นๆ
สำหรับเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ช่ำชองแล้ว พวกเขาจะพยายามหากลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเทรดสำหรับสภาพแวดล้อมของตลาดในปัจจุบัน เช่น เวลานี้ควรจะใช้ Fibonacci เพื่อหาโซนปรับตัวของราคา (Retracement) หากราคาวิ่งเป็นเทรน หรือว่าราคาวิ่งอยู่ในกรอบราคา (Rang Holding) แล้วเราควรจะเล่นอย่างไรในสถานการณ์ตลาดที่แตกต่างกัน การที่เรารู้ว่าสภาวะตลาดเป็นเช่นไรทำให้เราสามารถเลือกกลยุทธ์ และระบบเทรดที่เหมาะสมกับสภาพตลาดในขณะนั้น
ดังนั้นเทรดเดอร์ควรจะมีระบบเทรดของตัวเองมากกว่า 1 ระบบ เพื่อรองรับกับสภาวะตลาดที่แตกต่างกัน และไม่ต้องกลัวว่าคุณจะไม่ได้ใช้ระบบเทรดใดระบบหนึ่ง เพราะในตลาด Forex เราจะพบสภาวะตลาดที่ราคาวิ่งในกรอบราคา (Rang) และ วิ่งเป็นเทรน (trending) ในทุกรอบเวลา (Time Frame) และถ้าคุณใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมแล้วก็จะช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้เครื่องมือ (Indicators) ที่มีมาใช้ได้อย่างง่ายดาย ยกตัวอย่างเช่น Fibos และ Trend line จะมีประโยชน์มากในตลาดที่เป็นเทรน ขณะที่ Pivot Point และเส้นแนวรับแนวต้านของ Pivot Point จะใช้งานได้ดีมากเมื่อราคาวิ่งอยู่ในกรอบ
สภาพแวดล้อมของตลาดแบ่งได้เป็น 3 แบบคือ

  • ตลาดขาขึ้น (Trend Up)
  • ตลาดขาลง (Trend Down)
  • วิ่งในกรอบราคา ( Ranging หรือ Sideway)
ตลาดที่เป็นเทรน (Trending market)
ตลาดที่เป็นเทรน คือ การที่ราคาวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน และแน่นอนว่าอาจจะมีบางช่วงที่ราคาวิ่งสวนทางกับเทรน แต่ถ้าพิจารณาในกรอบราคาที่ใหญ่กว่า ก็จะเห็นว่าการวิ่งสวนทางเหล่านั้นเป็นการปรับตัวของราคา



ปรกติเราจะสังเกตเทรนขาขึ้นได้จาก "จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดใหม่ที่ยกตัวสูงขึ้น (Higher High Higher Low)" และเทรนขาลงก็จะเป็น "จุดสูงสุดและต่ำสุดใหม่ที่ปรับตัวต่ำลง (Lower High, Lower Lows) "



กลยุทธ์การซื้อขายสำหรับเวลาท่ตลาดเป็นเทรน เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะเลือกเทรดในสกุลเงินหลัก เพราะแนวโน้มของคู่เงินเหล่านี้จะมีสภาพคล่องสูง เพราะสภาพคล่องเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับกลยุทธ์การเทรดตามแนวโน้ม สภาพคล่องยิ่งมากก็ยิ่งทำให้มีการเคลื่อนที่ของราคามากขึ้นเท่านั้น


ADX ในตลาดที่เป็นเทรน
ADX คือ Average Directional Index indicator  ในบางโปรแกรมอาจเป็น Average Directional Movement Index indicator แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนหลักการใช้ก็จะเหมือนกัน ADX นี้ถูกพัฒนาโดย J. Welles Wilder  เป็น Oscillator พื้นฐานอีกตัวที่จะติดมากับโปรแกรมเทรด (MT4)  ตัวบ่งชี้มีระดับอยู่ระหว่าง 0-100 ใช้เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของแนวโน้ม ไม่เหมือนกับการทำงานของ Stochastic ที่จะบอกเราว่าเมื่อไหร่เทรนเป็นขาขึ้นหรือขาลง แต่ ADX จะบอกเราว่าแนวโน้มในขณะนี้แข็งแรงหรือว่าอ่อนแอ


ในหลักการทำงานทั่วไปถ้า ADX อยู่ต่ำกว่าระดับ 20 หมายความว่าแนวโน้มหรือเทรนนั้นๆ กำลังอ่อนแอ แต่ถ้า ADX อยู่เหนือระดับ 50 นั่นหมายถึงแนวโน้มที่แข็งแกร่ง


ถ้า ADX อยู่เหนือระดับ 25 โดยปรกติแล้วมักจะแสดงให้เห็นว่าราคามีแนวโน้ม หรือราคาอยู่ในแนวโน้มที่แข็งแกร่งอยู่แล้วในขณะนี้ ยิ่งอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ก็หมายถึงแนวโน้มที่แข็งแกร่งขึ้น แต่ ADX เป็นตัวชี้วัดที่ให้สัญญาณช้ากว่าอย่างอื่น ซึ่งหมายความว่ามันไม่จำเป็นในการใช้ทำนายอนาคต และมันยังเป็นตัวบ่งชี้ที่ไม่มีทิศทางซึ่งหมายความว่ามันจะรายงานออกมาเป็นตัวเลขที่บอกถึงระดับความแข็งแกร่งของแนวโน้มเท่านั้น ลองดูตัวอย่างนี้ เห็นได้ชัดว่าราคามีแนวโน้มปรับตัวลดลงแม้ว่า ADX มากกว่า 25





Moving Average ในตลาดที่เป็นเทรน
นอกจาก ADX แล้ว เรายังสามารถให้ Simple Moving Average ในการตรวจสอบแนวโน้มของราคาได้อีกด้วย ลองใส่ SMA 7,20 และ 65 เข้าไปในกราฟของคุณ แล้วรอให้เส้น SMA ทั้งสามเส้นวิ่งมารวมกันแล้วกระจายออกจากกัน ถ้า SMA ที่มีค่าน้อย กระจายออกมาอยู่เหนือเส้นที่มีค่ามาก คือ SMA7,20 และ 65 ไล่กันลงมาตามลำดับ นั่นหมายถึงแนวโน้มขาขึ้น





ในทางกลับกัน ถ้า SMA ที่มีค่าน้อยกลับลงมาอยู่ต่ำกว่าเส้นที่มีค่ามากกว่า คือ SMA 7,20 และ 65 เรียงตัวไล่กันขึ้นไปตามลำดับ นั่นแสดงถึงแนวโน้มขาลง





Bollinger Band ในตลาดที่เป็นเทรน
แถบของ Bollinger Band ปรกตินั้นจะมีค่าเบี่ยงแบนมาตรฐานตามสูตรอยู่แล้ว แต่วิธีการที่จะใช้มันเพื่อหาแนวโน้มคือ ใส่ Billinger band มีมีค่ามาตรฐาน (Standard deviation 1) และใส่ Bollinger Band อีกอันโดยตั้งค่า Deviation เป็น 2
Sell Zone คือ บริเวณที่อยู่ระหว่าง Band ทั้งสองอัน (DS1 และ SD2) ที่อยู่ด้านล่าง จำไว้ว่า ราคาควรจะต้องปิดอยู่ในระหว่างพื้นที่ตรงนี้จึงจะพิจารณาในการ Sell
และ Buy Zone คือ พื้นที่ระหว่าง Band ทั้งสองอันเหมือนกับ Sell Zone แต่จะอยู่ด้านบน และราคาจะต้องปิดตัวในระหว่างพื้นที่ของทั้งสอง Band นี้ จึงจะพิจารณาว่าเป็น Buy Zone
และราคาในระหว่างพื้นที่ของ Band ที่เซทค่า SD1 นั้นเป็นช่วงที่ราคาเกาะตัวกันเป็น Sideway ราคาจะปิดตัวในระหว่างพื้นที่นี้ เป็นช่วงที่ไม่น่าเล่น


 




ราคาที่วิ่งในกรอบราคา (Sideway หรือ Ranging Market)
Ranging Market คือ สภาวะที่ราคาวิ่งระหว่างกรอบราคาสูงสุด และต่ำสุด ตรงระดับราคาสูงสุดจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน และราคาต่ำสุดจะเป็นแนวรับ และราคาวิ่งอยู่ในกรอบราคานี้เป็น Sideway ไม่สามารถทะลุออกไปนอกกรอบได้ ในกรณีแบบนี้ เราอาจใช้เส้น Horizontal Line มาวางไว้เพื่อดูแนวรับแนวต้านของกรอบราคาได้ง่ายขึ้น







ADX ใน Ranging Market
ก็เหมือนกับที่เราได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่า ถ้า ADX อยู่ต่ำกว่าระกับ 25 นั่นก็หมายความว่า แนวโน้มของราคามีความอ่อนแอ และนั่นก็คือ ตลาดที่เป็น Ranging Market หรือ ตลาด Sideway นั่นเอง แต่อย่าลืมว่า ยิ่ง ADX มีค่าน้อยลงเท่าไหร่ ก็หมายถึงตลาดแนวโน้มหรือเทรนยิ่งอ่อนแอมากเท่านั้น


 




Bollinger Band ใน Ranging Market
Bollinger Band จะหุบแคบลงเมื่อมีความผันผวนในตลาดน้อย และจะขยายขึ้นเมื่อมีความผันผวนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ Bollinger Band เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับกลยุทธ์แบบ Breakout
เมื่อ Bollinger Band หุบแคบลงนั่นหมายถึงตลาดมีความผันผวนต่ำ และราคาน่าที่จะเคลื่นไหวเพียงเล็กน้อยไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อ Band เริ่มที่จะขยายกว้างขึ้น ก็หมายถึงความผันผวนที่มีมากขึ้นและราคาจะไม่วิ่งไปในทิศทางเดียวกัน





โดยทั่วไปช่วงราคาจะมีช่วงที่แคบเมื่อเทียบกับ เวลาที่ Band ขยายใหญ่ หรือการใช้เส้น Horizontal Line เป็นแนวรับแนวต้าน อย่างกรณีในภาพตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ากรอบราคาแคบมาก
แนวคิดพื้นฐานในการเทรดในตลาดที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบแบบนี้ คือ การซื้อต่ำที่ใกล้กับแนวรับ และปิดทำกำไรเมื่อราคาวิ่งมาที่แนวต้าน และขายในราคาที่สูงให้ระดับกับแนวต้าน และปิดทำกำไรที่ระดับแนวรับ และเครื่องมือที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ เส้น Horizontal Line และ Bollinger Band
นอกจากนี้ การใช้ Oscillators อย่าง Stochastic และ RSI จะช่วยคุณหาและยืนยันจุดกลับตัวของราคาในกรอบราคาได้ง่ายขึ้น อย่างเช่นการใช้เงื่อนไข Over bought และ Oversold





Bonus Tip: การเทรดโดยใช้กลยุทธ์แบบ Range-Bound (การกลับตัวในกรอบราคา) นี้ ไม่เหมาะที่จะใช้กับคู่เงินที่มีสกุลเงิน USD ร่วมอยู่ด้วย คู่เงินที่เป็นที่นิยมเทรดแบบนี้คือ EUR/CHF เพราะอัตราการเติบโตของสหภาพยุโรปและสวิสเซอรืแลนด์มีความใกล้เคียงกันมาก ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของทั้งสองสกุลมีเสถียรภาพมาก จึงเหมาะกับการเทรดโดยใช้กลยุทธ์นี้เป็นอย่างมาก
ข้อสรุป ตลาดมีความหลากหลาย และไม่ว่าตลาดอยู่ในสภาวะไหน มีแนวโน้ม (Trending Market ) หรือว่าราคาวิ่งอยู่ในกรอบราคาแบบ Sideway (Ranging Market) ก็ตาม คุณก็ควรเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตลาดในขณะนั้นๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามจังหวะของตลาด

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/07/blog-post_6658.html

40
 ตอนนี้คุณก็พร้อมที่จะครองโลกฟอร์เร็กซ์แล้ว คุณพร้อมที่จะเกษียณ อีกไม่กี่ปี แล้วไปเที่ยวรอบโลกไปกับเครื่องบินส่วนตัว ใช่ไหม?
คิดอีกที ไม่ดีกว่า !
คุณฝันสลาย แต่อย่างน้อยก็ได้ฝัน ใกล้แล้ว เราบอกไว้ตั้งแต่เริ่มแล้วว่า มันไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าเพิ่งเทรดใหม่ คุณอาจจะเทรดได้น่ากลัว

ไม่มีใครเป็นมืออาชีพตั้งแต่แรก ทุกคนต้องเรียนรู้ และต้องใช้เวลา คุณถึง จะรู้ถึงคุณค่าของมัน การเดินดุ่ม ๆ เข้าไปเทรดด้วยบัญชีจริงเลย เหมือนกับ ลงไปแข่งบาส NBA หลังจากที่ เพิ่งจะอ่านคู่มือ การเล่น บาสเกตบอล "Basketball for Dummies" คุณยังไม่ฉลาด ยังไม่แข็งแรง และยังควบคุม อะไรได้ไม่ดี คุณยังไม่ได้พัฒนาทักษะ หรือ จิตใจ ร่างกาย เพียงพอ ที่จะสู้ กับ มืออาชีพหรอก ? เหมือนกับที่ คุณกำลังเข้ามาในตลาด



โลกแห่งค่าเงินนั้น ไม่แน่นอนและซับซ้อน มีคนที่สุดโต่ง อยู่ในตลาด เต็มไปหมด บางคนจบด็อคเตอร์ บางคนจบ ปริญญาโท บางคนจบจาก โรงเรียนชั้นนำ ที่มีเงินเยอะ และบางคนมีเครื่องมือเทคโนโลยีชั้นสูง
เมื่อคุณเข้ามาในโลกของฟอร์เร็กซ์ คุณต้องพร้อมที่จะดำผุดดำว่าย ปล้ำกับฉลามเหล่านี้ และพวกมันชอบกินเหยื่ออย่างเรา ๆ ซะด้วยสิ
คุณกลัวหรือเปล่า?


เราอยากให้แน่ใจว่า คุณเข้าใจว่า ถึงแม้ว่าคุณจะสนุกกับฟอร์เร็กซ์ขนาดไหน การเทรดฟอร์เร็กซ์ ก็เป็นเรื่องเครียด เป็นธุรกิจ และคุณต้องใส่ใจกับมันด้วย
ด้วยเหตุนี้ ทุกคนต้องเอาใจใส่กับ ธุรกิจ เพื่อจะได้มีส่วนในผลประโยชน์เหล่านี้บ้าง
ใช่ คุณทำได้ แต่ว่า ก่อนที่คุณจะเริ่มเทรดฟอร์เร็กซ์ บทความในเว็บนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่เราได้แบ่งปัน ให้คุณเริ่ม ในทางที่ถูกต้อง


สนใจที่กระบวนการ ไม่ใช่ สนใจแต่กำไร


เราได้คัดบทความนี้มาเพื่อให้ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เกี่ยวกับพื้นฐาน และเครื่องมือที่ใช้ในการเทรด แต่ จำไว้ว่า เครื่องที่ดีนั้นต้องใช้ได้ง่าย สะดวกด้วย
ภาพวาดนั้น จะไม่สวยเพียงเพราะว่าใช้แค่พู่กัน ต้องอยุ่ที่ทักษะ วิสัยทัศน์ ของนักวาดรูป ที่สร้างงานศิลป์นั้นด้วย
ฟุตบอลไม่ได้วิ่งไปหาจุด เอ็นโซนได้เอง มันต้องมี ควอเตอร์แบ็ค ที่มีความสามารถในการอ่านเกมส์รับ แล้วส่ง ฟุตบอล ให้ถูกจุด ถูกเวลา

มันไม่ใช่เพราะว่า เครื่องมือ อินดิเคเตอร์ หรือ ระบบเทรด Cowbaunga หรือซูเปอร์กลยุทธ์ ที่ทำให้เงินคุณขาดทุน ตอนปลายปี แต่เป็นความสามารถในการอ่านตลาด การทำตามกลยุทธ์ที่ถูกต้อง ถูกสถานการณ์ และการปรับการ จัดการความเสี่ยง อย่างต่อเนื่อง และทำกำไรได้มากกว่าขาดทุน ในระยะยาว


เหมือนกับศิลปะ เหมือนกับกีฬา หรือความพยายาม ความอุตสาหะ การเทรดนั้นต้องใช้ทักษะหลายอย่าง เครื่องมืออย่างเดียว ไม่สามารถให้คุณประสบความสาเร็จได้

การทุ่มเท ให้กับการอ่าน ศึกษาหาความรู้ ทบทวน และศึกษาบันทึกการเทรดเท่านั้น ถึงจะเป็นหนทางไปสู่ ความสำเร็จ ในช่วงแรก กระบวนการเรียนรู้ควรจะมีความสำคัญมากกว่า การทำกำไร ไม่ใช่มุ่งแต่กำไรอย่างเดียว
มาดูตัวอย่างการเล่นบาสฯ ถ้าเป้าหมายของคุณคือ การเล่น NBA ให้ได้ คุณจะเล่นบาส อย่างเดียวหรือเปล่า?
หรือ คุณจะมาพัฒนาด้าน ร่างกาย การฝึกเวท เทรนนิ่ง พัฒนาทักษะการยิง การเลี้ยง จังหวะเท้า และการส่ง เพื่อให้เวลาคุณเล่นคุณจะทำได้ดีหรือเปล่า?
บางทีคุณต้องทำอย่างที่สอง ใช่ไหม?
ถ้าคุณมุ่งไปที่ NBA โดยไม่ฝึกอะไรเลย คุณจะทำแต้มเท่านั้น หรือ คุณอยากชนะกันหล่ะ ?

เรียนรู้ตลาด เรียนรู้เทคนิคการเทรด และการเรียนรู้การใช้ระบบเทรดที่มีความเป็นไปได้ในกำไร เรียนรู้ในการ จัดการความเสี่ยงด้วยการใช้การจัดการออร์เดอร์ หรือ ตั้งจุดหยุดขาดทุน แล้วใช้ทั้งหมด มาฝึกในบัญชีเดโม

หลังจากนั้น กระบวนการเหล่านี้ จะนำคุณไปสู่ระบบ ที่ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ โดยมีกำไรมากกว่าขาดทุน ในท้ายที่สุด


วัวศักดิ์สิทธิ์ ไม่มี จอกศักดิ์สิทธิ์ หรอก !

ลองถาม นักคณิตศาสตร์ แถว วอลสตรีท ว่าทำไม ไม่มีเครื่องมือเทพ อย่างว่า หรือว่า วิธีการเทรด ที่ไม่มีทาง ขาดทุน ร้อยเปอร์เซ็นต์
พวกเขาจะให้คำตอบ มา 2 อย่างคือ
1. คุณไม่สามารถบอกอนาคตได้ มีวิธีที่จะรู้ว่า ธนาคารกลางจะประกาศอะไร ? หรือว่า มีวิธีที่นักลงทุน ระดับซุปเปอร์สตาร์ หรือ ผู้จัดการกองทุนพูด หรือ คิด ในช่วงที่สัมภาษณ์ในทีวี ? คุณจะรู้ไหมว่าเมื่อไหร่ ผู้ก่อการร้ายจะก่อการเมื่อไหร่ ? เรื่องภัยธรรมชาติ อย่างเช่น แผ่นดินไหว หรือว่า สึนามิ ?

เรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มันไม่มีทางคาดเดาได้ว่า จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมันจะส่งผลกระทบในตลาดอย่างไร เข้าใจว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งในการเทรด และสิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุดก็คือ เตรียมตัวให้พร้อม เตรียมพร้อม เมื่ออะำไรมันจะเกิด

2. ข้อมูลไม่ได้ทำให้ตลาดเปลี่ยนแปลง แต่ คนเทรดต่างหาก
จะมีเวลาที่ข้อมูลกับราคานั้นไม่ได้เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันอยู่ ทำไมเป็นอย่างนั้น ? บางทีผลราคา มันอาจจะเคลื่อนไหวไปก่อน ? บางทีเทรดเดอร์ไม่ได้สนใจเรื่องข้อมูลที่ออกมา บางทีสถาบันนั้น ได้เข้าเทรด ในทิศทางที่ผิดก็ได้ ? แล้วนักเทรดทุกคนในตลาด จะตัดสินใจเช่นเดียวกันในตลาดอย่างนั้นหรือ ?

ไม่ว่าราคาจะเป็นอย่างไรก็ตาม การตัดสินใจที่ทำให้ตลาดไม่ได้ออกมาอย่างที่เราคาดคิด ไม่มีเหตุผลมาอธิบายนั้น มีอยู่บ่อย ๆ
ถ้าคุณคิดเรื่องเทรดเดอร์ เป็นล้าน ๆ คน ที่มีเป้าหมาย และกลยุทธ์การเทรดที่แตกต่างกัน มีขนาดบัญชีที่แตกต่าง กัน และมันจะมาบอกทิศทางตลาดได้นั้นจะยากขนาดไหน
คุณไม่สามารถคำนวณพฤติกรรมมนุษย์ หรือว่า คำนวณเหตุการณ์ในอนาคต โดยใช้สมการคณิตศาสตร์ เพื่อจะ กำจัดความเสี่ยงนี้ ไปได้หมดหรอก มันมีความไม่แน่นอนเสมอ และก็ต้องมีบ้างที่เราเทรดผิด หรือ ขาดทุน ไม่เป็นไปตามที่ตลาดเคลื่อนไหวบ้าง จริง ๆ แล้ว มีหลายครั้งที่คุณเทรดผิดได้
ความสมบูรณ์แบบเป็นสิ่งที่เราต้องหลีกเลี่ยง สำหรับใครก็ตามที่คิดว่า ต้องถูกเสมอ เราต้องเตือนคุณไว้ก่อน..


ไม่มีใครบอกได้ว่า ตลาดมันจะไปทิศทางไหน

ไม่มี
แต่ถ้าคุณยังไม่หมดหวัง ก็ให้มุ่งหน้าหาจอกศักสิทธิ์ ต่อไป
แต่ถ้าคุณสามารถหา ยูนิคอร์นสีชมพู ยืนอยู่ใต้สีรุ้ง คุณก็จะเจอกับ leprechaun เค้าก็จะให้จอกศักสิทธิ์ กับคุณ แล้วก็ iPhone5! โชคดี


อดทน และ มีวินัย
อดทน
มันคือความจริง โดยเฉพาะในการเทรด Arnold H. Glasgow ตลกอเมริกันคนหนึ่ง บอกว่า "กุญแจในการทำทุกอย่างคือ ความอดทน คุณอยากได้ไข่ คุณก็ต้องเลี้ยงไก่ ไม่ใช่ทุบไก่"
การพัฒนาแผนการเทรดจะต้องใช้เวลา พัฒนาทักษะก็ต้องใช้เวลา การรอเพื่อให้เทรด ในช่วงเวลาที่ถูกต้อง ต้องใช้ความอดทน การเข้าและออก ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ก็ต้องใช้ความอดทน


วินัย
วินัย ในการเทรดนั้นก็สำคัญ และหมายความว่าการทำอะไรก็ตาม คุณต้องทำตามขั้นตอน แม้ว่าคุณไม่อยาก จะทำมัน
หมายความว่า คุณต้องเตรียมตัวทุกวัน ทุกสัปดาห์ ด้วยการศึกษากราฟ และข้อมูล
ถ้าคุณเป็นเครื่องจักรอัตโนมัติ หรือ คุณเป็นนักเทรดหุ่นยนต์ หมายความว่า คุณต้องทดสอบระบบ และพยายามตั้งค่าต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันในสภาวะตลาดที่ต่างกัน
และแน่นอน อย่าลืม่จดบันทึก ทบทวนทุกวันที่คุณเทรด
การบันทึกการเทรดเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่การเทรด ที่แบ่งแยกเทรดเดอร์มืออาชีพ กับ มือสมัครเล่น แต่แย่หน่อย ที่มือใหม่ไม่ค่อยสนใจมากนัก
แนวคิดในการเทรด และเทคนิคง่าย และธรรมดาในการเรียนรู้ แต่สิ่งที่ยาก คือ การเรียนรู้ที่จะอดทน และความมี วินัย อดทนรอถึงเวลาที่ถูกต้อง การตัดสินใจที่ดี จะว่าเป็นเรื่องที่ยากที่จุดที่เราจะต้องเอาใจใส่มันเลยก็ว่าได้
สำหรับมือใหม่ การนั่งดูอยู่ข้าง ๆ เป็นการเสียโอกาสในการทำกำไร
การคิดแบบนี้นำไปสู่ความล้มเหลวในการฝึกความอดทน และความมีวินัย และเป็นสาเหตุ ของความผิดพลาด ในการเทรด :
- แรงเย้ายวนในการเทรด
- ปล่อยให้ขาดทุนเยอะเกินไป
- ตัดทำกำไรเร็วเกินไป
- แก้แค้นในออร์เดอร์ที่ขาดทุน

พฤติกรรมเหล่านี้จะเผาบัญชีคุณ !

จำไว้ว่า งานของคุณในฐานะมือใหม่ คือเรียนรู้ที่จะตัดสินใจเข้าเทรดให้ดี และอยู่ให้รอด
สิ่งที่คุณต้องทำให้ได้คือ อดทนและมีวินัย เพื่อที่จะมองไปข้างหน้าในฐานะนักเทรดมาราธอน ไม่ใช่นักเทรดร้อยเมตร
และนี่ไม่ใช่วิธีที่จะรวยได้ในข้ามคืน
ต้องใช้ความทุ่มเทในการสร้างทักษะที่จะทำให้คุณได้กำไรในการเทรดในทุกสภาพตลาด ที่มันเข้ามาหาคุณ
ยิ่งไปกว่านั้น ปลดโซ่ตรวนของตัวเอง สู้ !!
ถ้าคุณอดทน และรักษาวินัย และทุ่มเทในการปรับปรุงตัวเอง แล้วฐานะของนักเทรดอ่อนหัดที่คุณเป็น อาจจะไม่สามารถเปรียบเทียบได้ กับสิ่งที่จะเข้ามาในการเทรดของคุณ

อีกอย่าง..
จำไว้ว่า โอกาสที่ดีมักจะเกินขึ้นทุกวัน !
ไม่จำเป็นต้องรีบ ทำให้เสียการ และพวกเขาจะดึงให้คุณไม่ไปถึงเป้าหมาย
พยายามยึดกับแนวคิดของคุณไว้ และถ้าเกิดว่ามันไม่เป็นอย่างที่คุณคิด ก็ให้รอโอกาสต่อไป
แม้ว่าโลกจะหยุดเทรดค่าเงิน แต่ก็จะมีโอกาสให้เราอยู่เสมอ
การจะกลายมาเป็นนักเทรดที่ดี ไม่จำเป็นต้องอัจฉริยะ มีไอคิวสูง เรียนในโรงเรียนชั้นนำ หรือ ไม่ต้องมี 3 มือ 3 ตา
มันต้องใช้เวลา คุณต้องเก็บชั่วโมงในการศึกษาตลาด ศึกษากราฟ และฝึกเทรดให้ดี ถ้าคุณมีความท้าทายในการเทรด และสนุกกับมัน โอกาสในการอยู่รอดคุณมีสูง

โอเค เริ่มผจญภัยในโลกของฟอร์เร็กซ์ กับเรา
ลุยกันเลย
อย่าหยุดปรับปรุงตัวเองทุก ๆ วัน คุณสามารถเปลี่ยนชีวิตของคุณให้ดีกว่านี้ได้


ขอให้โชคดีในการเทรด !

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2012/12/blog-post_501.html

41
นิสัยของนักเทรดแบบ Price Action ที่ประสบความสำเร็จ
นิสัย และ ตารางประจำวัน ของนักเทรดแบบ Price Action ที่ประสบผลสำเร็จ

การเทรดที่ประสบความสำเร็จ เป็นผลมาจาก การมีวินัย และการมีตาราง ที่เซ็ตไว้เรียบร้อยแล้ว เป็นส่วนประกอบ ของนักเทรดฟอร์เร็กซ์ที่มีวินัย เราอาจจะเผลอ ไม่ทำตามกฏได้ง่ายมาก และ ทำให้ใช้อารมณ์มาติดสินใจ จนทำให้ เกิดความผิดพลาด ในฐานะเทรดเดอร์ คุณต้องหยุดเหตุการณ์เหล่านี้ให้ได้ โดยการเซ็ตตารางประจำวัน ที่คุณต้อง ปฏิบัติตามทุกวัน ตารางประจำวันจะช่วยเพิ่มความมีวินัย และทำให้คุณรักษาวินัยในการเทรด ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง มีความสำคัญ ต่อการพัฒนาจิตใจของคุณ และนำไปสู่กำไรระยะยาว อย่างแท้จริง ถ้าคุณยังไม่ได้เซ็ตตารางประจำวัน ที่ใช้ในการเทรด คุณต้องเริ่มพัฒนาขึ้นมาซักชุดหนึ่ง แล้วตลาดจะไม่สามารถ ทำอันตรายกับบัญชีเทรดคุณได้ ยิ่งคุณสามารถทำตามตารางการเทรดได้ตามจุดประสงค์ ที่สัมพันธ์กับตลาด คุณก็จะเผชิญกับ การใช้อารมณ์ในการเทรด น้อยลงเท่านั้น


• กำหนดเวลาดูหน้าจอที่แน่นอนในแต่ละวัน
หน้าที่อย่างแรก ในแต่ละวันของนักเทรดแบบ Price Action คือ ต้องรู้ว่า เมื่อไหร่คุณ ควรจะวิเคราะห์ตลาด คุณต้องใส่ใจกับงาน และ หน้าที่การงาน งานประจำของคุณ เช่นเดียวงานประจำในครอบครัว ถ้าคุณพบว่า เวลาที่คุณมี พอที่จะดูหน้าจอได้ นั่นก็คือ เวลาก่อนนอน คุณก็สมควรจะใช้เวลานั้น ซึ่งเวลาส่วนใหญ่ ที่เรา ควรใช้ดูตลาด ก็คือ ราว 4 - 5 โมงเย็น (หมายถึงเวลา สหรัฐฯ) ซึ่งเป็นเวลาเปิดของตลาดยุโรป ตอนนี้ คุณจะ อยู่ถึงตีหนึ่ง - ตีสองก็ไม่มีใครว่า แต่คุณต้องวิเคราะห์ตลาด ในเวลานี้ทุกวัน

เมื่อเลือกแล้วว่า ช่วงเวลาไหนที่คุณสามารถใช้เวลาดูกราฟได้ ควรจะเลือกว่า คุณต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ในการ วิเคราะห์ ในการเทรดแบบ Price action หรือ ใช้ในการดูว่า ออร์เดอร์ที่คุณเปิดก่อนหน้า เป็นอย่างไร การกำหนด เวลา ในการเฝ้าดูหน้าจอ มีส่วนสำคัญมากในการฝึกใจ และ ความสำเร็จในการเทรด เทรดใน Time Frame daily ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีความกดดันมากนัก และ เป็น Time Frame ที่ได้ผลดีด้วย เมื่อคุณเริ่มมีทักษะในการเทรด แบบ price action คุณก็สามารถดูคู่เงินแต่ละคู่ ที่เทรดในช่วงเวลาที่กำหนดได้ ถ้าหากว่าคู่ที่คุณกำลังดูอยู่ ไม่มี การเกิดรูปแบบที่คุณตั้งไว้ คุณก็ไปเทรดคู่อื่น ๆ ถ้าคุณไม่เจอรูปแบบที่คุณอยากจะเทรด ก็ไม่ควรจะเทรดในวันนั้น เพราะ ถ้าขืนคุณยังดื้อดึง คุณจะเจ็บตัว และไม่ประสบความสำเร็จในฐานะนักเทรดในระยะยาว เพราะคุณจะเริ่ม วิเคราะห์มากเกินไป แล้วพยายามหาเหตุผลในการเทรดตลอดเวลา คุณจะรู้ว่ามันจะทำให้เสียเงินได้

• ทำตามแผนการเทรดแบบ Price Action
ถ้าคุณคือ นักเทรดแบบ Price Action คุณจะรู้ว่า คุณกำลังมองหารูปแบบกราฟแบบไหนอยู่แต่ละวันในตลาด เมื่อคุณรู้ ก็ควรจะเขียนลงไป และกำหนดแผนการเทรดที่คุณกำลังจะเข้าเทรดในแต่ละวันกับเวลาที่คุณมี ถ้าไม่สามารถกำหนดแผนที่เป็นตัวตน คุณควรจะรีบวางแผนอะไรไว้ได้แล้ว ท่องในใจตลอดว่า ต้องทำตามแผน การเทรดทุกวัน อ่านทุกวัน แผนการที่ชัดเจนควรจะมี จุดเข้า จุดออก กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง และมีเป้าหมาย ระยะยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ในแผนการเทรดที่ควรมีไว้เป็นอย่างน้อย

ตามเป้าหมายของแผนการเทรดของคุณ ทำให้คุณทำตามแผนได้อย่างแน่นอนในแต่ละวัน ช่วยให้มีสมาธิ ยังเป็น แนวทางในแต่ละวันให้คุณในการวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์ตลาดจะต้องเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งนักเทรดส่วนใหญ่ ไม่มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ หรือ ไม่มีตาราง ซึ่งจะนำไปสู่การเทรดแบบไม่มีแบบแผน แล้วคุณจะสามารถเป็น นักเทรดที่มีวินัย และวิเคราะห์เป็นขั้นเป็นตอนได้อย่างไร? ถ้าคุณไม่มี แม้กระทั่งแผนการว่า คุณกำลังทำอะไรอยู่ พวกวิศวะกรสร้างบ้านโดยไม่มีพิมพ์เขียวหรือ? ไม่ แน่นอน มันจะพังทลาย และไม่แข็งแรง และแน่นอน ทุก ๆ คนที่พยายาม อยากจะเป็นนักเทรดฟอร์เร็กซ์มืออาชีพ ถึงรู้สึกว่าแผนการเทรดนั้น สำคัญขนาดไหน การกระทำต่าง ๆ ในลักษณะนิสัยที่เป็นขั้นเป็นตอน กับตลาดที่ไม่สามารถควบคุมได้ อย่างตลาดฟอร์เร็กซ์นั้น เป็นหัวใจ ในการทำกำไร ไม่มีพื้นที่สาหรับคำว่าโชค ในหน้าพจนานุกรมการเป็นนักเทรดที่ประสบความสำเร็จระยะยาว และ การเป็นนักเทรดมืออาชีพ ก็ไม่ต้องอาศัยโชค เพราะว่าสิ่งที่เราต้องมี คือ แผนการเทรด

• บันทึกการเทรด
การบันทึกการเทรดนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่คุณอาจจะไม่เคยคิดถึงมันเลย ในหนังสือที่สอนเกี่ยวกับการเทรด หลาย ๆ เล่ม มักจะพูดถึงการบันทึกการเทรด และกล่าวว่า คุณควรจะเขียน แม้กระทั่งว่าคุณใช้ค่าอะไรบ้าง ในการเทรด เพื่อที่จะวิเคราะห์ได้ว่า ทำไมคุณถึงผิด ทำไมคุณถึงถูก และขณะที่กำลังบันทึกข้อมูลเหล่านี้ ผมรู้สึกว่า ผมลืมอะไรไปอย่าง การประสบความสำเร็จในการเทรดนั้นขึ้นอยู่กับว่า จัดการกับอารมณ์ของคุณได้ดีขนาดไหน คุณค่าที่แท้จริงของการทำบันทึกประจาวัน ที่ให้คุณได้คือ การประเมินว่า คุณรู้สึกอย่างไรในแต่ละวันที่คุณเทรด เกี่ยวกับกิจกรรมการเทรดของคุณ และยังเป็นแบบประเมินสถานะอารมณ่ของคุณ แต่ละวันด้วย

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่คุณจะต้องเขียนว่า คุณรู้สึกอย่างไรก่อนการเทรด และ หลังการเทรด เขียนลงไปด้วย ถ้าคุณกำไรแล้วคุณรู้สึกอย่างไร คุณขาดทุนแล้วคุณรู้สึกอย่างไร สิ่งนี้จะให้คุณสองอย่าง คือ มันจะช่วยให้คุณ ทำทุกอย่าง ไปในทิศทางที่ถูกต้อง หลังจากที่คุณปิดออร์เดอร์ไปแล้ว ซึ่งมันจะทำให้คุณมีจิตใจนิ่งมากยิ่งขึ้น จากการที่คุณได้กำไร หรือ ขาดทุนก้อนใหญ่ และยังป้องกันไม่ให้คุณกระโดดเข้าไปในตลาด โดยทันทีด้วย และนอกจากนี้ มันจะทำให้คุณมองภาพออกว่า อารมณ์นั้นผูกติดอยู่กับความสำเร็จในการเทรดได้อย่างไร ถ้าคุณ ซื่อสัตย์ในการเขียนบันทึก คุณจะเริ่มเห็นว่า ยิ่งคุณใช้อารมณ์ในการเทรด ยิ่งจะทำให้คุณเสียเงินมากขึ้น มันเป็น ความแปรผันกัน ระหว่างอารมณ์กับเงิน ในการเทรดฟอร์เร็กซ์ ของคุณ

สิ่งอื่น ๆ ที่ควรจะบันทึกในบันทึกการเทรดของคุณอีกก็คือ คุณสามารถเขียน (หรือพิมพ์) สรุปภาวะตลาดประจำวัน ซึ่งนี่จะทำให้คุณเข้าใจสภาวะตลาด สภาวะเศรษฐกิจ หรือ ข่าวที่ออกมา และทำให้คุณระวังในสิ่งที่จะเกิด ในตลาด มากขึ้น มันจะช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละวัน และยังทำให้มอง ภาพรวมตลาดออก ถ้าคุณต้องทำธุระ และไม่ได้เทรด ซักหนึ่งสัปดาห์ เมื่อคุณกลับาแล้วอย่ารีบเทรดทันที ให้คุณทำการบันทึกสรุป สภาวะตลาด ไปซักหนึ่งอาทิตย์เสียก่อน แล้วคุณจะเข้าใจและรู้สึกถึง กระแสน้ำ และกระแสการไหลของราคา เพราะการเข้าใจทิศทางของราคา มีความสำคัญมาก

• ทำจิตใจ และร่างกายให้สะอาด ดีกว่าเอาเวลาไปนั่งเฝ้าหน้าจอเพิ่ม
อย่างที่ได้เกริ่นมาก่อนหน้า การใช้เวลาในการวิเคราะห์ตลาดมากเกินไป จะทำให้คุณมีผลตรงกันข้าม ถ้าคุณพบว่า มีเวลาว่าง และอยากจะใช้เวลาเหล่านั้นในการดูกราฟ คิดว่าคุณควรจะใช้ทำงานอดิเรกดีกว่า การออกกำลังกาย จะช่วยให้คุณ ทำตามตารางชีวิตประจำวันของคุณได้ และมันจะทำให้คุณรู้สึกดีทั้งจิตใจ ทั้งร่างกายอีกด้วย การใช้เวลาในการออกกำลังกายนั้น ย่อมดีกว่า การใช้เวลาเพิ่มในการวิเคราะห์ตลาด คุณจะสามารถควบคุมตัวเอง ได้ ไม่ใช่ให้ตลาดมาควบคุมคุณ ถ้าคุณยังมีเวลาเหลือจากการออกกำลังกาย ก็ให้คุณอ่านหนังสือ เพื่อช่วยเปิด โลกทัศน์ มันไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเทรดเสมอไป คุณสามารถอ่านอะไรก็ได้ ที่ช่วยออกกำลัง สมอง ของคุณ และทำให้สมองตอบสนองได้ดี จำไว้ว่า ตารางประจาวันของคุณ เป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จ ระยะยาวในตลาด อย่าดูถูกมัน การเทรดฟอร์เร็กซ์ เป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง และ คุณก็ควรทำเหมือนกับ การประกอบ ธุรกิจ เช่นกัน ภายใต้ตารางที่แน่นอน และ เคร่งครัด ไม่แตกต่างกัน กับการเทรดฟอร์เร็กซ์

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2012/12/price-action.html

42
เคยสังเกตไหมครับว่าคนที่เป็นเทพ (จริงๆ) เราจะสามารถสัมผัสได้ถึงความไม่ธรรมดาอะไรบางอย่างในตัวเขา ผมยกตัวอย่างเช่น สมัยที่เรียนมหาลัย จะต้องมีอาจารย์ในคณะของคุณสักคนที่คุณรู้สึกว่า เขาคนนี้ละที่จะสามารถตอบคำถามเราได้ทุกเรื่อง ถึงแม้ว่าบางทีเราจะคิดว่าเราเก่งแล้ว แต่เขาก็ยังเหนือกว่าเราอยู่ดี นักลงทุน หรือเทรดเดอร์ที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้น ผมคิดว่าเขาน่าจะมีวิธีการ และ/หรือคุณสมบัติที่สำคัญ อย่างน้อย 3-4 อย่าง ดังที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้
ข้อที่ 1: ความรอบรู้
 เขาจะต้องมีความรอบรู้ ความฉลาดหลักแหลม ความสามารถในการวิเคราะห์ และคาดการณ์พฤติกรรมของราคาต่างๆหลายอย่าง ความรอบรู้ของเขาก็ไม่ได้เป็นอะไรที่วิเศษมากหรอกครับมันคือ ความขยัน ความหมกมุ่น ในเรื่องที่เขาอยากรู้เท่านั้นเอง คนทุกคนมีความสนใจในแต่ละเรื่องที่ต่างกันแต่ระดับความสนใจและหมกมุ่นนั้นจะ ต่างกันโดยสิ้นเชิงในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับว่าคน ๆ นั้นมีทัศนคติอย่างไร คนที่เก่งมากๆในด้านนี้ มักจะได้รับการยอมรับว่าเป็นคนอัจฉริยะในด้านของการลงทุน หลายๆคนมักจะเป็นคนที่มี IQ ค่อนข้างสูง
 ข้อที่ 2: ความขยัน
 เขาจะต้องทำงาน เป็นคนขยันไม่เกียจคร้าน ไม่มองว่าอุปสรรคเป็นเรื่องใหญ่ หนักหนาแค่ไหนถ้าตัดสินใจเลือกแล้วก็พร้อมจะทำทุกอย่าง เสียลสละทุกอย่างให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้โดยเฉพาะที่เป็นงานเกี่ยวกับการลง ทุน การหมั่นค้นคว้าหาโอกาสในการลงทุน ต้องเป็นคนที่อ่านหนังสือมาก คนที่ทำงานมากๆเป็น Workaholic หรือคนบ้างาน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานและข้อมูลสำคัญสำหรับการลงทุนที่จะประสบความสำเร็จ คนที่สามารถทำงานหนักๆได้มากนั้น นอกจากจะต้องเป็นคนหนุ่มสาวและมีสุขภาพดีแล้ว เขามักจะต้องมี Passion หรือความหลงใหลในการลงทุนที่รุนแรงด้วย
ข้อที่ 3: ความฉลาดทางอารมณ์
 เขาจะต้องมี EQ หรือความสามารถทางอารมณ์ที่จะควบคุมตนเองไม่ให้ผันผวนไปตามภาวะของตลาดและ ราคา มีความสามารถที่จะคิดได้อย่างเป็นอิสระด้วยตนเอง และสามารถปฏิบัติตามแผนการเงินที่ได้วางไว้อย่างมั่นคง ซึ่งเรื่องตรงนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานจึงจะมีได้ ดังนั้นหากคุณทำผิดพลาดในการเทรดเช่น ล้างพอร์ต ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะนั่นหมายความว่าตัวคุณกำลังพัฒนา แต่คุณต้องเก็บเอาความผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียนนะครับ ไม่ใช่ผิดซ้ำผิดซากอยู่อย่างนั้นแล้วไม่ยอมจดจำ
ข้อที่ 4: ไหวพริบในการแก้ปัญหา
 เขาจะต้องมีความเข้าใจหรือมี Sense หรือความรู้สึกหรือไหวพริบเกี่ยวกับภาวะของผู้คนและนักลงทุนในตลาด Sense นี้เป็นเรื่องยากที่จะสอนกัน ประสบการณ์จะเป็นตัวสอนคุณเองว่าคุณควรจะทำอย่างไรต่อไปในอนาคต เมื่อคุณผิดพลาด>แก้ไข ถึงแม้ว่าจะต้องทำแบบนั้นซ้ำ ๆ เป็นปีสองปี แต่เชื่อเถอะครับว่าเมื่อคุณมาถึงจุด ๆ หนึ่งแล้วคุณจะรู้สึกขอบคุณความยากลำบากเหล่านั้นที่ส่งผลให้คุณมาเป็นคุณใน ทุกวันนี้ได้ ยิ่งคุณแก้ปัญหามากเท่าไหร่ไหวพริบและวิธีการแก้ปัญหาของคุณก็จะหลากหลาย ขึ้นและไม่ยึดติดกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/08/4_18.html

43
 3 กุญแจสำคัญ ในตลาดที่ต้องใส่ใจ เมื่อเทรดฟอร์เร็กซ์
นักเทรดฟอร์เร็กซ์ ทั้งมือใหม่และมืออาชีพ นั้น จะให้ความสาคัญในเรื่องกลยุทธ์การเทรดเกี่ยวกับการใช้ เครื่องมือ Indicator เช่น Moving Averages และ เส้นเทรนด์ไลน์ เมื่อเทรดยูโร หรือ เงินปอนด์ พวกเขาไม่ค่อยดูทิศทาง อย่างอื่นประกอบในการตัดสินใจในการเทรด แต่ว่า ปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ บางครั้งก็สามารถเป็นกุญแจสำคัญ ในการ ทำกำไรได้ และส่งผลต่อการขาดทุนของคุณในตลาดฟอร์เร็กซ์ได้เช่นกัน

หลายปีมานี้ ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ ได้ใส่ใจกับตลาดอื่น ๆ เพื่อมายืนยันทิศทางในการเทรด และยังใช้โปรแกรม ที่รุดหน้า ด้วยความที่เป็นมืออาชีพของพวกเขานั้น สามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างตลาด ซึ่งเปิดเผยให้เห็นถึง การเคลื่อนไหวของการลงทุน ที่ไปในทิศทางเดียวกัน หรือ ทิศทางแตกต่างกัน ความสัมพันธ์เหล่านี้เรียกว่า ค่า Correaltion ที่เกิดขึ้นในตลาดเหล่านี้ เช่น น้ำมันดิบ ดัชนีดอลล่าร์แคนาดา ราคาฟิวเจอร์ทองคำ และ ดัชนีค่าเงิน ดอลล่าร์ออสเตรเลีย และ ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น เงินเยนเมื่อเทียบกับดอลล่าร์ หรือแม้แต่ พันธบัตรระยะสั้น ของรัฐบาลญี่ปุ่น

มาดูว่า ตลาดอื่นนั้นมีความสำคัญ หรือ อิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดฟอร์เร็กซ์ เป็นอย่างไร

เชื่อหรือไม่ว่า อัตราแลกเปลี่ยนและตลาดพันธบัตร มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

ทิศทางของตลาดสินทรัพย์ทั้งสองตัวนั้นค่อนข้างขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ และ นโยบายทางการเงิน ของประเทศนั้น ๆ ถ้าเศรษฐกิจของประเทศมีความแข็งแกร่ง นักลงทุนจะซื้อพันธบัตรซึ่งเสนอมาจากประเทศนั้น ๆ ดังนั้น เราต้องดูว่า มีอัตราผลตอบแทนที่สูงและคงที่อย่างต่อเนื่องหรือไม่เพราะว่ามันจะส่งผลไปถึง อุปสงค์ ของค่าเงิน ที่จะเพิ่มขึ้นด้วย และด้วยเหตุนี้ควรจะให้ความสำคัญ กับอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อนักลงทุนต่างชาติสนใจ ที่จะลงทุนในประเทศนั้น (และลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน) มันก็จะมีการทำธุรกรรมเกี่ยวกับ อัตรา แลกเปลี่ยนเกิดขึ้น ทำให้เงินเปลี่ยนมือจากอีกมือหนึ่งไปสู่มือหนึ่ง

และนี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้จัดการกองทุนต่าง ๆ จะดูเรื่องของผลตอบแทนของพันธบัตรอายุระยะสั้นด้วย เพื่อยืนยันการเกิดเทรนด์ในตลาดแลกเปลี่ยนค่าเงิน การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในสินทรัพย์ทางการเงินตัวหนึ่ง สามารถทำนาย หรือ ยืนยันการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ทางการเงินตัวอื่นได้

คู่เงินหนึ่งที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์นี้ได้ดีคือ ค่าเงินดอลล่าร์เทียบกับค่าเงินเยนญี่ปุ่น ( USD/JPY) ในตลาด ฟอร์เร็กซ์ ค่าเงิน USD/JPY นั้นเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับพันธบัตรรัฐบาลอายุสั้นของรัฐบาลญี่ปุ่น โดย ทั่วไปแล้ว พันธบัตรอายุสองปี ตามรูปที่ 1 ที่เราเห็น จะเห็นว่า รูปแบบ จะปรับตัวขึ้นตลอดปี 2010 และในตลอด ช่วงเวลานี้ การเก็งกำไรในตลาดได้เกิดขึ้นทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น และถ้าเป็นไปอย่างนี้ เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ผู้ส่งออกของญี่ปุ่นจะฟื้นด้วย ได้เร็วกว่าทางสหรัฐฯ เนื่องจากที่ญี่ปุ่นมีการเจริญเติบโตมากกว่า และผลดังกล่าว จะทำให้นักลงทุนต่างประเทศ จะสนใจให้การลงทุนในเอเชีย ในพันบัตรของรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งอุปสงค์จะช่วยทำให้ ค่าเงินของญี่ปุ่นแข็งค่าเงิน เมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ไปถึงเดือนกันยายนปี 2010


ภาพที่ 1 ที่มา : Bloomberg

เครื่องมือทางการเงินประเภทอนุพันธ์ เช่น อนุพันธ์ค่าเงิน ก็เป็นตัวยืนยันที่ดีเยี่ยม ของทิศทางการเคลื่อนไหว ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือ ฟอร์เร็กซ์

ในตลาดทุน โบรกเกอร์หุ้น และ นักเทรด จะคอยดูปริมาณการเทรด เพื่อยืนยันน้ำหนักในการเกิดเทรนด์ นักเทรด ค่าเงิน ก็จะใช้ฟิวเจอร์ของค่าเงิน ในการสังเกตอุปสงค์ของค่าเงินตัวที่อ้างอิงนั้น ๆ ซึ่งข้อมูลประเภทนี้ สามารถใช้ ในการทำนายอุปสงค์ในอนาคต ของค่าเงิน และยังใช้ทำนายอุปสงค์ ของตลาดโภคภัณฑ์ด้วยเช่นกัน

แม้ว่า นักวิเคราะห์หรือนักกลยุทธ์บางคน จะมองในเรื่องของออร์เดอร์ที่ไม่ได้หวังทำกำไร และออร์เดอร์ที่ หวังทำกำไรด้วย

– ประเด็นคือ การดูออร์เดอร์ที่ไม่ได้หวังทำกำไรเป็นหลัก ออร์เดอร์ที่ไม่หวังทำกำไรนั้นมีอยู่จริง เคล็ดลับคือ การดูอุปสงค์ที่มีอยู่ ในค่าเงินเพื่อที่จะยืนยันทิศทางของตลาด (ตัวอย่าง สัญญาฟิวเจอร์ที่ เปิดสถานะไว้มีสูง ในค่าเงินดอลล่าร์ออสเตรเลีย) ด้วยเหตุนี้ กำไรของออร์เดอร์เหล่านั้น ได้มาจากการที่ตลาดนั้น เคลื่อนไหว ด้านใดด้านหนึ่ง
- เพื่อที่จะป้องกันการเกิดราคาเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้าม ถ้าเทรดเดอร์ทุกคน ซื้อในตลาด จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อพวกเขาอยากขาย ? (ตลาดฟอร์เร็กซ์นั้น ไม่ใช่หนทางเดียวสาหรับนักลงทุน หรือนักเก็งกำไร ในการทำเงิน ยังมีการทำกำไรจากฟิวเจอร์ของค่าเงินอีก)

วันที่ 19 ธันวาคม 2010 ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญในรอบ 90 วันทำการ นักเทรดจะทำการเทรดด้าน ดอลล่าร์ เนื่องจากว่า ภาวะหนี้เสียของสหภาพยุโรปที่ลุกลาม และเทรดเดอร์เหล่านี้จะ Sell ฟิวเจอร์ส ของค่าเงิน ยูโร ซึ่งก็ไม่แตกต่างกันจากการทำกำไรจากค่าเงิน EUR/USD เนื่องจากมันร่วงลงไปจนถึง $1.3080 หลังจากที่มัน ถึงจุดแนวรับทางเทคนิค นักเทรดเริ่มมีการทำกำไร ซึ่งนำไปสู่การเกิดการกลับตัว ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น และสร้าง ผลตอบแทนได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าใครซื้อไปวันนั้น

รูปที่ 2 ที่มา: FX Intellicharts

ตลาด Credit Default Swap.
เป็นตลาดที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก หรือเรียกอีกอย่างว่าเครื่องมือ CDS สามารถช่วยให้เห็นทิศทางของค่าเงิน ในระยะยาวได้ดี เช่นกัน CDS เพิ่งจะเป็นที่รู้จัก และใช้กันอย่างกว้างขวางเมื่อเกินกว่า 14 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมันก็คือ สัญญาที่ออกแบบไว้เพื่อป้องกันออร์เดอร์ของฝั่งผู้ซื้อ ต่อดัชนี้ความเชื่อมั่นต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการกองทุน สามารถซื้อเครดดิต มูลค่า 100 ล้านเหรียญ ในพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น โดยการจ่ายค่าพรีเมียม และเมื่อเหตุการณ์ ภาวะวิกฤติเกิดขึ้น ผู้จัดการกองทุนจะได้ค่าชดเชยพัมธบัตรคืน ดังนั้นก็ไม่ได้แตกต่างจาก ฟิวเจอร์สค่าเงิน CDS เป็นตัวหนึ่งที่จะบอกได้ว่าตลาดกับอยู่ในภาวะขาขึ้นหรือขาลง

ในช่วงที่เกิดวิกฤตหนี้สิน ในปี 2010 CDS เป็นตัวยืนยันถึงความขมขื่นของสภาวะตลาดสินทรัพย์ ทางการเงิน ของ ยุโรป ตอนนั้น CDS พุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติกาล ประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่าง สหรัฐฯ อังกฤษ พอใจกับอัตรา Swap Rate ที่เฉลี่ย 50 จุด Swap ของกรีซสูงกว่าตอนนี้ถึง 15 เท่าตอนที่เกิดวิกฤติหนี้สินใจกรีซ ความแตกต่าง ของ Swap Rate ที่มากมายนี้ยืนยันการเกิดการเทขายค่าเงินยูโรแกว่งตัวถึง 20 % ในช่วงเวลาเพียง 5 เดือนครึ่ง

เมื่อเราใช้เครื่องมือข้างต้นเหล่านี้สามารถยืนยันการตัดสินใจในการเทรดของเราได้เป็นอย่างดี เพื่อทำให้ผลตอบ แทน ของการลงทุนมากยิ่งขึ้น ด้วยความเชื่อมโยงกันที่มากขึ้น ของตลาดโลกทุกวันนี้ และต้องพยายามเข้าใจ ความสัมพันธ์ ของตลาด เพราะว่ามันช่วยให้นักลงทุนได้กาไรเพิ่มขึ้นจากการศึกษาพวกมัน


โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2012/12/3_16.html

44
 อคติในการลงทุนและผลลัพธ์

อคติ ก็คือ ความลำเอียง ดังนั้น อคติในการลงทุนก็คือ "ความลำเอียงในการลงทุน" และเจ้าอคตินี่มันก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุนของนักลงทุน โดยทำให้การตัดสินใจในการลงทุนเป็นแบบไม่ตรงไปตรงมา เพราะว่า "ฉันรู้สึกแบบนี้ และฉันคิดว่ามันจะต้องเป็นแบบนี้" สุดท้ายผลจากการตัดสินใจต่างๆเหล่านั้น ก็จะย้อนกลับมาที่พอร์ตการลงทุนของเราเอง ซึ่ง ผลกระทบที่ว่านี้ มักจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดีซะเป็นส่วนใหญ่ คุณว่าจริงมั้ย?
ทีนี้เราลองมาดูว่า อคติในการลงทุนที่ว่านี้มันมีอยู่กี่แบบ และลองเช็คตัวคุณเองว่า คุณมีอคติแบบไหนอยู่บ้าง

1. Loss Aversion คือ ความเกลียดชังการสูญเสีย นั่นคือ การที่เราต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความสูญเสีย และแสวงหากำไร ในการศึกษาบางอย่างชี้ให้เห็นว่า การสูญเสียนั้นมีพลังเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับการทำกำไร ผลของมันก็คือ เมื่อเรากลัวที่จะสูญเสีย เราก็จะให้ความสำคัญกับการขาดทุนมากมากกว่าการหากำไร (ก็ฉันไม่อยากเสียเงินนี้ไป) ตัวอย่างเช่น ถ้ากำไร 10 บาท กับ ขาดทุน 10 บาท ก็มีผลเท่ากัน แต่คนจะกลัวขาดทุน 10 บาทมากกว่ากลัวไม่ได้กำไร 10 บาท (แน่นอนบางคนอาจจะกลัวขาดทุนแค่ 5 บาท เมื่อเทียบกับโอกาสกำไร 15 บาท)

2. Risk Aversion คือ ความเกลียดชังความเสี่ยง เจ้าสิ่งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากเจ้า Loss Aversion ซึ่งแน่นอน เมื่อคนเกิดความกลัวที่จะเสียเงิน ก็ต้องกลัวความเสี่ยงเป็นธรรมดา Risk Aversion เกิดขึ้นในภาวะที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ก็จะพยายามลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน เป็นถาวะที่นักลงทุนเต็มใจที่จะยอมรับผลตอบแทนที่ไม่แน่นนอน หรือน้อยกว่าแต่ปลอดภัยกว่า ดีกว่าจะยอมเสี่ยงกับการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า แต่อาจจะต่ำกว่าที่คาดไว้ และมีความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง อาจนำเงินลงทุนไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยเงินฝากที่ให้ค่าตอบแทนต่ำแต่ปลอดภัย แทนที่จะนำมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนได้ เป็นต้น (ตัวอย่างที่เราเห็นได้ในปัจจุบันที่ตลาดถูกครอบงำด้วย Risk Aversion คือ ตลาดหุ้นตกกันทั่วโลก เพราะนักลงทุน แห่กันเทขายหนีความเสี่ยงออกจากตลาด)

3. Sunk cost effect นั่นคือ ผลกระทบจากการยึดติดกับเงินที่ลงทุนไปแล้ว มากกว่าเงินที่จะต้องเสียในอนาคต และสุดท้ายก็ส่งผลกระทบกลับมาที่นักลงทุน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักลงทุนดูกราฟ EUR/USD แล้วคาดว่ามันจะลง ก็เซลไว้ แต่ราคาก็ไม่ลดลง แต่กลับขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงแนวต้านอีกแนวนึงก็เซลเพิ่มไปอีกแทนที่จะตัดขาดทุนตั้งแต่ที่รู้ว่าตัดสินใจผิดครั้งแรกยอมขาดทุนน้อยๆ แต่กลับยอมให้พอร์ตขาดทุนเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น เพราะ "เสียดาย" เงินที่ลงทุนไปแล้ว ไม่อยากเสียเงินทุนแม้จะรู้ว่าตนเองตัดสินใจผิดพลาด นักลงทุนที่อยู่ในภาวะนี้มักชอบ "หลอกตัวเอง"  ว่า เดี๋ยวมันจะต้องเป็นไปตามที่ฉันคิดแน่ๆ และผลสุดท้ายความเสียหายก็มากขึ้น บางทีอาจเลวร้ายขนาด ล้างพอร์ตกันเลยก็เห็นอยู่บ่อยสำหรับตลาด Forex

4. Disposition effect  คือ ผลกระทบจากการจัดการของนักลงทุน ที่มักจะตัดสินใจปิดออเดอร์ซื้อขายเมื่อมีกำไรแล้ว แต่จะไม่ยอมปิดเมื่อยังขาดทุนอยู่ รู้ว่าถือไว้แล้วมันติดลบ แต่ก็ถือไปเรื่อยๆ (ฉันจะรอวันฟ้าเป็นใจ ได้กำไรแล้วค่อยปิด) นักลงทุนที่จะทำแบบนี้ได้ จะต้องอึดทั้งพอร์ตอึดทั้งคน ถ้าคุณไม่อึดพอไม่มีการวางแผนรองรับที่ดีก็จงอย่าทนถือออเดอร์ติดลบนานๆเลยจะดีกว่า

5. Outcome bias หมายถึง อคติที่เรามีแนวโน้มที่จะตัดสินอะไรจากผลที่ออกมามากกว่า ตัดสินใจจากเหตุผลที่มีอยู่ เช่น เราเทรดตามการวิเคราะห์จากเหตุผลของราคาอาจจะทั้งทางเทคนิคอล หรือดูจากพื้นฐานด้วยก็ตาม การเทรดของเราก็ทำกำไรได้เรื่อยๆ แต่ไม่ได้มากมายเป็นก้อนใหญ่ วันหนึ่ง มี "พลายกระซิบ" มาบอกว่าคู่เงินนั้นจะเป็นแบบนี้นะ ให้ตาม เราทำตามและได้กำไรมหาศาล และเมื่อเราทำตามไปซัก 2-3 ครั้ง เราก็มีแนวโน้มที่จะเริ่มไม่เชื่อการวิเคราะห์ที่ถูกต้องของตนเอง แต่หันไปเล่นหุ้นพรายกระซิบแทน ผลที่ตามมาก็คือ ระเบียบวินัยการลงทุนของเราก็จะหายไป และเมื่อไหร่ พลายกระซิบนี้เริ่มทำงานไม่ดี เราก็จะไปตามหา พลายกระซิบใหม่ไปเรื่อยๆ

7. Recency bias คือ คนเรามีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกิดขึ้นล่าสุด มากกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้า เช่น การขาดทุนที่เพิ่งเกิดวันนี้ ทำให้เราเจ็บปวดมากกว่าการขาดทุนที่เกิดขึ้นปีก่อน แม้ว่าความเสียหายจาการขาดทุนในวันนี้จะเทียบไม่ได้เลยกับเมื่อปีก่อนก็ตาม

8. Anchoring  อันนี้สำคัญทีเดียว คือ แนวโน้มที่บอกว่าเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อในข้อมูลที่มีอยู่ให้เห็นตรงหน้า มากกว่าข้อมูลที่เราไม่เห็น ซึ่งอาจทำให้เราประเมินภาพผิดไปจากความจริงมากมาย เพราะทำให้เราเชื่อมั่นเกินเหตุกับข้อมูลที่มีอยู่ (อาจจะแค่ 30% ก็ได้ แต่เราไม่รู้ว่ายังมีข้อมูลอีก 70% ที่อาจทำให้เราต้องไปคิดใหม่เลยทีเดียว) อย่าง เช่น การดูข่าวในตลาด Forex ทุกวันนี้  เมื่อเวลามีการประกาศตัวเลขดัชนีต่างๆ เราเห็นตัวเลขดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจออกมาดี ค่าเงินสกุลนั้นจากที่อ่อนแอ ก็พุ่งพรวดไปชั่วครู่ แล้วร่วงลงมาตามเดิม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า แม้ว่าดัชนีตัวนี้จะดีแต่ก็ยังคงเป็นแค่ส่วนเดียวของเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีตัวนี้ดี แต่ตัวอื่นๆส่วนใหญ่อาจจะย่ำแย่อยู่ก็ได้ ถ้าเศรษฐกิจจะดีจริง ดัชนีโดยรวมส่วนใหญ่ควรออกมามีความสอดคล้องกันไปในทิศทางที่ดีด้วย

9. Bandwagon effect  หมายถึง แนวโน้มที่เราจะคล้อยตามคนหมู่มาก ซึ่งอาจจะไม่ต้องถูกเสมอไป ดังนั้น การจะเชื่ออะไรก็ควรจะพิจารณาถึงเหตุผลด้วย ก่อนที่จะเชื่อตามคนอื่น เพราะการที่มีคนเชื่อแบบเดียวกันมากๆ ก็ใช่ว่าความคิดนั้นจะถูกเสมอไป

10. Belief in the law of small numbers คือ การที่ผู้คนใช้ข้อสรุปผิดๆ จากจำนวนตัวอย่างที่น้อยเกินกว่าที่จะมาทำข้อสรุปได้จริงๆ เช่น ในการเทรดคู่เงิน EUR/USD ถ้าเพื่อนเราที่เป็นเทรดเดอร์ด้วยกัน 10 คน มี 7 คนที่ซื้อ และ 3 คนที่ขาย ถ้าคนที่เทรดคู่เงิน EUR/USD มีเพียงแค่เราและเพื่อน 10 คนก็คงง่ายที่จะสรุปได้ว่า ราคา EUR เทียบ USD ต้องขึ้นแน่นอน เพราะคนต้องการซื้อมากกว่าคนต้องการขาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในตลาดมีผู้คนมากมายมหาศาลที่ซื้อขายคู่เงินนี้ ดังนั้น อย่าด่วนสรุปอะไรจากคนรอบตัวเราเพียงไม่กี่คน 

ที่นี้ลองทบทวนตัวเองดูว่าคุณเป็นนักลงทุนที่มีอคติแบบไหนอยู่บ้าง ควรจะแก้ไขตรงไหน ป้องกันอย่างไร เพื่อให้พอร์ตการลงทุนของคุณปลอดภัยจากอคติในใจของคุณเอง

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/06/blog-post_20.html

45
อยู่ในตลาดมาซักระยะ คุณจะสามารถแบ่งประเภทของหุ้นได้หลากหลาย แล้วแต่ว่าจะแบ่งแบบไหน
แบบหนึ่งที่ผมแบ่งได้ ก็คือ การแบ่งตามคุณภาพ
คุณภาพของอะไร?
ผมดู 2 มุมครับ
คุณภาพของพื้นฐาน และคุณภาพทางเทคนิค ซึ่งเมื่อแบ่งออกมาแล้ว ก็ได้หุ้น 4 ประเภทดังนี้

จากภาพ ในฐานะที่ผู้อ่านก็เป็นนักลงทุนเหมือนกันกับผม คุณจะเลือกหุ้นที่อยู่ในกล่องไหน?
คำตอบที่ทุกคนตอบก็คือ ถ้าเลือกได้ ก็ขอเลือกกล่องสีเขียว นั้นก็คือ พื้นฐานดี + กราฟสวย นั้นเอง
พื้นฐานดี ดียังไง กราฟสวย สวยยังไง ไม่ขอเอ่ยถึงในบทความตอนนี้นะครับ เพราะนิยามของคำว่าดีแต่ละคนอาจจะมีแตกต่างในรายละเอียด เอาเป็นว่า พื้นานดี กราฟสวย ในสายตาของแต่ละคนก็แล้วกัน
กล่องที่ไม่มีใครเลือกลงทุนแน่ๆหากวิเคราะห์หุ้นตัวนั้นแล้ว ก็คือ กล่องสีแดง หรือ พื้นฐานห่วย + กราฟไม่สวย อันนี้ก็เห็นตรงกันนะ
หากคุณลองแบ่งหุ้น แบ่งกองทุน หรือ หลักทรัพย์อะไรก็แล้วแต่ตามคุณภาพของพื้นฐานและกราฟเทคนิค หุ้นจะตกอยู่ใน 4 ประเภทนี้ไม่นี้ไปไหน และถ้าเจอกล่องสีเขียว คุณก็จะกด Favorite หรือเอาไว้ใน Watchlist ทันที บางทีก็เคาะซื้อเลยด้วยซ้ำ
แต่ในโลกความเป็นจริง เวลาเรานั่งวิเคราะห์ไปเรื่อยๆ หุ้นที่จะตกอยู่ในกล่องสีเขียว มักจะไม่ค่อยมี สาเหตุเพราะ ถ้าหุ้นมันดีจริง มันต้องมีคนซื้อไปหมดแล้ว จริงม๊ะ? ยกเว้นหุ้นที่มีการเปลี่ยนปัจจัยบางอย่างอย่างฉับพลัน ยกตัวอย่างเช่น ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายแล้วชนะคดี หรือ กำไรสุทธิโตกว่าที่คาด 50% อะไรประมาณเนี่ย หุ้นจำพวกนี้อาจสามารถขึ้นได้หลายๆเด้ง ซึ่งมันก็มีไม่เยอะอีกนั้นหล่ะ
แล้วหุ้นอะไรที่เราเจอบ่อยๆ?
คำตอบ หุ้นที่อยู่ในกล่องสีส้ม และกล่องสีฟ้า นั้นเอง
ในภาวะที่ตลาดขาขึ้นเป็นระยะเวลายาวนาน ปรับฐานทีไรก็ย่อตัวไม่แรง ราคาไม่ถูกจนต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานซักที เราจะหาหุ้นที่กำไรดีและราคายังถูกแทบไม่เจอ กลับเจอแต่หุ้นที่ไม่สมประกอบ พื้นฐานดีสุดๆ แต่ราคานิ่งไม่ไปไหน (กราฟบอกว่ายังไม่ขึ้น) เจอแบบนี้ซื้อไป ก็กลัวไม่วิ่งตามคนอื่น หรือ กราฟสวยเว่อร์ แต่หันไปเจองบ แล้วอยากสงบดีกว่า เจอแบบนี้ ซื้อไปก็กลัวโดนแรงขายออกมาอีก เปรียบได้เหมือนกับช่วงนี้นะครับ ที่ระดับดัชนีตรง 1,200 จุด ไม่ต้องใครนักวิเคราะห์มาบอก เราก็รู้ว่า ตรงนี้ มันไม่ถูกแล้ว
แล้วถ้าอยากถือหุ้นเข้าพอร์ตละ เลือกอันไหน?
นี่คือประเด็นของหัวข้อนี้ถ้าเราต้องตัดสินใจลงทุนหุ้นพิการ (ดีไม่ครบ 2 อย่าง) เราจะเอาพิการทางไหน พิการทาง Fundamental หรือ พิการทาง Technical
คำตอบที่ถูกต้องคือ ……. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องครับ อ้าววววววว
นักลงทุนระยะยาว รับความเสี่ยงได้สูง ไม่มีเวลาในการติดตามตลาด คนเหล่านี้ เขาเหมาะกับการซื้อหุ้นปัจจัยพื้นฐาน โดยไม่ต้องไปสนว่า ตอนนี้กราฟจะสวยไม่สวย เพราะเขาเชื่อว่ายังไงในอนาคตอันไกลมันต้องวิ่งไปอยู่ดี
นักลงทุนระยะสั้น ผู้รับความเสี่ยงได้สูง มีเวลาเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของตลาด เขาก็อาจเหมาะกับหุ้นกราฟสวย ไม่สนใจพื้นฐาน สาเหตุก็เพราะ เขาเล่นสั้น ไม่ได้จะรอให้งบออกค่อยขายซะหน่อย ได้กำไรปั๊บ เดี๋ยวก็ขายออกแล้ว ดังนั้น ปัจจัยพืันฐานสำหรับเขาจึงมีน้ำหนักน้อยกว่า
แต่ก็มีนักลงทุนอีกแบบ
เขาคิดว่า ถ้าหุ้นตัวนั้น มันไม่ได้อยู่ในกล่องสีเขียว หัวเด็ดตีนขาดฉันก็จะไม่ซื้อ นักลงทุนกลุ่มนี้ก็จะเลือกรอเวลาอย่างใจเย็น และคอยหาจังหวะที่ คุณภาพทั้ง 2 มุม เข้าเงื่อนไขอย่างที่ตั้งไว้ เขาอาจจะพลาดโอกาสการเข้าซื้อ ถ้าหุ้นมันไม่ปรับตัวลงมาอย่างที่มองไว้ แต่เขาก็ยอมรับได้ ไม่คิดเสียดายทีหลัง
จากตัวอย่างนักลงทุนทั้ง 3 ประเภท ลองสำรวจดูนะครับ คุณเป็นนักลงทุนประเภทไหน?
เมื่อคุณรู้ตัว คำถามที่ว่า  พื้นฐานดี แต่เทคนิคห่วย VS. เทคนิคสวย แต่ห่วยคุณภาพ เลือกอันไหนดี? ก็จะไม่มีให้คาใจ
ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดา หรือว่าเป็นนักลงทุน สิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก็คือ “รู้จักตัวเอง” เพราะถ้าคุณไม่รู้จักตัวเอง คุณก็จะเที่ยวแสวงหาสิ่งที่ทำให้คุณพอใจเพียงอย่างเดียว โดยหารู้ไม่ว่า สิ่งที่พอใจ มันไม่ได้หมายความว่ามันจะเหมาะกับคุณ แต่ถ้าเราเจอสิ่งที่เหมาะกับจริต นิสัยเรา มันจะเหมาะกับเราไปตลอด เพราะนิสัยมันเป็นเรื่องแก้ยากที่สุด เปลี่ยนยากที่สุด คุณว่าจริงไหม


โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/06/vs.html

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 17
SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums