ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตลาดหุ้น

อ่าน 1506 ครั้ง

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

  การประกอบธุรกิจทุกประเภท นอกจากปัจจัยด้านคน และการบริหารงานแล้ว  “เงินทุน” คือปัจจัยสำคัญยิ่ง ในการดำเนินงานเพื่อการลงทุนและขยายกิจการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “ตลาดหุ้น” ได้เกิดขึ้นมาเพื่อให้กับบริษัทต่าง ๆ สามารถเสนอขายหุ้นให้กับประชาชน เพื่อบริษัทจะได้นำเงินที่ระดมไปได้ไปลงทุนขยายกิจการ (โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเหมือนกับการกู้จากธนาคาร)
            บริษัทต่างๆ ที่เข้าหลักเกณฑ์ได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ระดมทุนโดยการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนได้นั้น เรียกเป็นทางการว่า ”บริษัทจดทะเบียน” และหุ้นที่นำมาขายนั้นเรียกเป็นทางการว่า “หลักทรัพย์รับอนุญาต” แต่ภาษาชาวบ้านก็เรียกกันง่ายๆ ว่า “หุ้น” โดยหุ้นแต่ละตัว จะมีอักษรย่อเป็นภาษาอังกฤษที่ใช้กำกับ ซึ่งตัวย่อดังกล่าว จะเห็นทางหน้าจอโทรทัศน์ที่รายงานการซื้อขายสด เช่น
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน ) ใช้ชื่อย่อ PTT
บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ใช้ชื่อย่อ KTB
บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ใช้ชื่อย่อ SCC
บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน ) ใช้ชื่อย่อว่า THAI เป็นต้น
            ปัจจุบัน บริษัทที่เสนอขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้กับประชาชน มีทั้งหมดประมาณ 300 กว่าบริษัท และบริษัทต่างๆ ยังทยอยเข้ามาเป็นบริษัทจดทะเบียนเป็นระยะ ๆ
ผู้ซื้อหุ้นได้และเสียอะไร
            ประชาชนที่ซื้อ หรือขายหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่งนั้นเรียกว่า ”นักลงทุน” หรือ “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งโดยหลักการแล้ว ผู้ลงทุนจะได้รับประโยชน์จากเงินปันผล ซึ่งจะจ่ายเป็นรายปี หรือรายงวด (ถ้าบริษัทนั้นมีกำไร) ขณะเดียวกัน ผลประโยชน์อีกทางหนึ่งคือส่วนต่างของราคาหุ้นที่ซื้อไว้ กล่าวคือ ผู้ลงทุนซื้อหุ้นไว้ที่ระดับราคาหนึ่ง แล้วต่อมาราคาเพิ่มขึ้นจนเป็นที่พอใจ ก็ขายหุ้นออกไป การขายครั้งนั้นก็ถือว่าได้กำไร
            ในทางตรงกันข้าม หากผู้ลงทุนไปซื้อหุ้นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานขาดทุน นอกจากอาจจะไม่ได้รับเงินปันผลแล้ว ราคาหุ้นของบริษัทที่ซื้อไว้ อาจตกต่ำลงมากว่าเมื่อครั้งที่เข้าไปซื้อ หากในช่วงราคาตก ผู้ลงทุนขายหุ้นออกไป ผลก็คือ ขาดทุนจากการลงทุนซื้อหุ้นตัวนั้น (เช่น ซื้อมาราคาหุ้นละ 50 บาท ขายหุ้นละ 40 บาท เท่ากับขาดทุน หุ้นละ 10 บาท)
            แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าราคาหุ้นที่ซื้อไว้ จะสูงขึ้นหรือตกต่ำลง ผู้ลงทุน อาจจะถือครองหุ้นนั้นต่อไปนานเท่าใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ลงทุนเอง ตามข้อมูลของบริษัทที่ศึกษามาหรือได้รับ
            “หุ้น” ของบริษัทต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ทำการซื้อขายในตลาดฯ ได้นั้น มีทั้งหมด 4 ประเภท คือ หุ้นสามัญ /หุ้นบุริมสิทธิ์/ หุ้นกู้/ และหลักทรัพย์ที่รัฐบาลค้ำประกัน แต่หุ้นประเภทที่เป็นที่รู้จักกันดีและเป็นส่วนใหญ่ของหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ คือ หุ้นสามัญ
            หุ้นสามัญดังที่ยกตัวอย่างมาคือ PTT / KTB / SCC / THAI เป็นต้น คือหุ้นที่แสดงความเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหรือซื้อหุ้นสามัญ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัทที่ออกหุ้นนั้น ๆ บริษัทเอกชนทุกบริษัทต้องมีหุ้นประเภทนี้ ในกรณีที่การดำเนินการธุรกิจประสบผลดี ผู้ถือหุ้น มีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งจากกำไรที่บริษัทนั้นหามาได้ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ ถ้าบริษัทได้กำไรดี นอกจากผู้ถือหุ้นจะได้ส่วนแบ่งของกำไร ซึ่งตามปกติจะจ่ายกันทุกปีแล้ว ราคาของหุ้นที่ซื้อไว้ ก็ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นด้วย หากนักลงทุนตัดสินใจขายหุ้นออกไปขณะนั้น ผลคือ ได้กำไร
            ในทางตรงกันข้าม หากการดำเนินการของบริษัทนั้นขาดทุน ผู้ถือหุ้นก็ต้องได้รับส่วนแบ่งจากการขาดทุนด้วย จนอาจจะไม่ได้รับปันผลในปีนั้นๆ อีกทั้งราคาของหุ้น ก็อาจจะตกต่ำลงกว่าตอนที่ซื้อไว้ หากขายหุ้นออกไป ในช่วงที่หุ้นราคาตกต่ำกว่าราคาเมื่อครั้งซื้อมา ผลคือ ขาดทุน สรุปง่ายๆ ผู้ถือซื้อ ต้องรับภาระความเสี่ยงจากการดำเนินงานของบริษัทเอง
วิธีการซื้อขาย
            กระบวนการซื้อขายเริ่มต้นจาก นักลงทุนหรือผู้สนใจจะต้องไปเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ที่เรียกว่า “โบรคเกอร์” เช่น บริษัทหลักทรัพย์ธนชาติ แล้วจึงจะเริ่มซื้อขายได้ ในกรณีที่นักลงทุนซื้อหุ้น เมื่อครบกำหนดจ่ายเงิน โบรกเกอร์สามารถหักจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าโดยอัตโมมัติ หากเป็นการขายเมื่อครบกำหนดรับเงิน โบรกเกอร์จะนำเงินเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติเช่นกัน
            การจะนำหุ้นขายให้กับประชาชนนั้น เริ่มแรกบริษัทที่ได้รับอนุญาต จะกำหนดราคาของหุ้นไว้บนใบหุ้น หรือเรียกเป็นทางการว่า "มูลค่าที่ตราไว้" หรือ PAR VALUE หรือเรียกกันสั้นๆ ในหมู่นักลงทุนว่า "ราคาพาร์" เช่น บริษัทเขียวส่องมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็น 10 ล้านหุ้น ดังนั้นมูลค่าของหุ้น 1 หุ้นจะเท่ากับ 10 บาท หุ้นบริษัทเขียวส่องจึงมีราคาพาร์ 10 บาทนั่นเอง
            หลังจากนั้น บริษัทจดทะเบียนจะเสนอขายหลักทรัพย์หรือหุ้น ให้กับประชาชน ทั่วไปหรือ PUBLIC OFFERING โดยจะต้องเสนอขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็นผู้จัดจำหน่ายแทน ราคาที่เสนอขายมักรู้จักกันในนาม “ราคาไอพีโอ”  (PUBLIC OFFERING PRICE ) หรือมักจะเรียกกันง่ายๆ ว่า "ราคาอันเดอร์ไรท์" (UNDERWRITE) หรือ "ราคาจอง" ซึ่งจะสูงกว่าราคาพาร์ เพื่อที่บริษัทจะได้นำส่วนต่างที่เหลือไปลงทุน ส่วนเมื่อหุ้นของบริษัทเข้าไปสู่การซื้อขายในตลาดทรัพย์จริง ๆ ราคาอาจจะสูงหรือต่ำกว่า “ราคาจอง” ก็ได้
ประวัติตลาดหุ้น
            ตลาดหุ้น หรือตลาดหลักทรัพย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือ Paris Bourse ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1681 (หรือ 100 ปีก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี) แต่ตลาดดังกล่าว ยังไม่ใช้ใบหุ้นซื้อขายแลกเปลี่ยนอย่างแท้จริง
            ตลาดหุ้นหรือตลาดหลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจอย่างจริงจังตามลักษณะของตลาดหุ้น แห่งแรกคือตลาดหลักทรัพย์ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเริ่มธุรกิจซื้อขายหุ้นเมื่อปี พ.ศ. 2145 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
            ตลาดหุ้นของไทย หรือชื่อเรียกเป็นทางการว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นั้น จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517เริ่มทำการซื้อขายวันแรกวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518
            หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์คือ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต

โค๊ด: [Select]
http://www.oknation.net/blog/current/2008/09/15/entry-5
  • Tamol

  • ****
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 1 | กระทู้ 250
  • เพศ: ไม่ระบุ
วิธีเปิดบัญชี forex exness อย่างละเอียด 2023 ทีละขั้นตอน | วิธีสมัคร Forex Update 2566



 

SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums