Multiple Time Frame Analysis

อ่าน 2313 ครั้ง

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Multiple Time Frame Analysis
« เมื่อ: 31/ก.ค./2015 03:25:58 »
Multiple Time Frame Analysis ก็คือการวิเคราะห์คู่เงินเดียว ราคาเดียวกันในหลาย Time Frame หรือในกรอบเวลาที่แตกต่างกันนั่นเอง
อย่าลืมว่าแต่ละคู่เงินมีหลายกรอบเวลา
อย่างกราฟรายวัน รายชั่วโมง 15 นาทีหรือแม้แต่ 1 นาที
ซึ่งหมายความว่านักลงทุนอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันในการเทรดคู่เงินเดียว
กัน และความเห็นของพวกเขาทั้งสองก็เป็นความเห็นที่ถูกต้องเหมือนกัน
อย่างเช่น พรนภา อาจจะเห็นว่า EUR/USD นั้นอยู่ในแนวโน้มขาลงในกราฟ 4
ชั่วโมง แต่อัครเทพ นั้นเทรดในกราฟ 5 นาที
และเห็นว่าราคายังวิ่งอยู่ในกรอบราคาขึ้นๆลงๆ 
และความเห็นของพวกเขาทั้งสองต่างก็ถูกต้อง 
และด้วยเหตุนี้เองที่สร้างปัญหาให้การ
เทรดเกิดความสับสนในบางครั้ง เมื่อมองดูราคาที่กราฟ 4 ชั่วโมง
เห็นว่ามีสัญญาณขายแล้วก็ไปดูที่
กราฟรายชั่วโมงแล้วเห็นว่าราคายังค่อยๆปรับตัวขึ้น  แล้วทีนี้จะทำอย่างไร
??  ให้ยึดกรอบเวลาใดกรอบเวลาหนึ่งเป็นหลัก
ใช้สัญญาณจากกรอบเวลานั้นในการเทรดโดยไม่ต้องสนใจกรอบเวลาอื่นหรือว่าอย่าง
ไร ???
ในบทความนี้เราจะพูดถึงว่าคุณควรโฟกัส
ไปที่กรอบเวลาไหน
เทรดเดอร์แต่ละคนควรเลือกเทรดในกรอบเวลาใดกรอบเวลาหนึ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง
 ซึ่งจะพูดถึงเรื่องนี้ในภายหลัง
และประการที่สองก็คือวิธีการวิเคราะห์ในกรอบเวลาที่แตกต่างกันเพื่อช่วยให้
มีการตัดสินใจซื้อขายที่ดีขึ้น
กรอบเวลาไหนที่คุณควรเทรด
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนมือใหม่
ไม่ทำในสิ่งที่พวกเขาควรทำก็คือ
พวกเขาเทรดในกรอบเวลาที่ไม่เหมาะสมกับบุคลิคหรือตัวตนของพวกเขา
เทรดเดอร์มือใหม่มักจะอยากรวยอย่างรวดเร็ว
ทำให้พวกเขาเริ่มเทรดในกรอบเวลาเล็กๆอย่าง 1 นาที หรือ 5 นาที
แล้วก็จบลงด้วยความผิดหวังเมื่อพวกเขาเทรดในกรอบเวลาที่ไม่เหมาะกับตัวเอง
และสำหรับเทรดเดอร์บางคนกลับรู้สึกสบาย
กว่าที่จะเทรดในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง
ซึ่งเป็นกรอบเวลาที่นานกว่าแต่ก็ไม่ได้นานจนเกินไป
สัญญาณการซื้อขายมีน้อยลง แต่ก็ไม่น้อยเกินไป
การเทรดในกรอบเวลานี้จะช่วยมีเวลามากขึ้นในการวิเคราะห์ตลาดและไม่ต้องรีบ
ร้อนตัดสินใจจนเกินไปนัก
และในทางตรงกันข้ามเราอาจมีเพื่อนคน
หนึ่งที่ไม่เคยเทรดในกรอบเวลา 1 ชั่วโมงเลย เขาก็จะรู้สึกว่าเวลา 1
ชั่วโมงมันช้ามากสำหรับเขา เขาก็จะรู้สึกอึดอัดแล้วอยากทำการซื้อขายที่กราฟ
 15 นาที
ซึ่งมันก็ทำให้เขามีเวลามากพอแต่ไม่มากเกินไปที่จะตัดสินใจตามแผนการเทรดของ
เขา ในขณะที่เพื่อนของเราอีกคนหนึ่งไม่รู้ว่าจะเทรดที่กรอบเวลา 1
ชั่วโมงได้อย่างไร เพราะเขาคิดว่ามันเร็วเกินไป
เพราะเขาเทรดที่กรอบเวลารายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน
ตอนนี้คุณอาจจะมีคำถามว่าแล่วกรอบเวลา
ไหนที่เหมาะสมกับคุณ ก่อนอื่นคุณควรดูที่บุคลิกของตัวเอง
คุณต้องรู้สึกสบายไม่อึดอัดกับกรอบเวลาที่คุณเทรด
คุณมักจะมีความู้สึกที่กดดันหรือขัดแย้งบ้างเมื่อคุณเทรดกับเงินจริง
ซึ่งมันก็เป็นเรื่องธรรมชาติ
แต่คุณไม่ควรจะรู้สึกกดดันจากสาเหตุที่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเร็วเกินไปและ
ทำให้ยากที่จะตัดสินใจซื้อขาย
หรือมีการตัดสินใจที่ช้าเกินไปและทำให้คุณพลาดได้
เมื่อเราเทรดใหม่ๆ
เราไม่สามารถยึดติดอยู่กับกรอบเวลา เราควรเริ่มกับกรอบเวลา 15 นาที
จากนั้นก็ 5 นาที จากนั้นเราจะพยายามเทรดที่ 1 ชั่วโมง กราฟรายวัน และ 4
ชั่วโมง สิ่งนี้จะเป็นไปตามะรรมชาติของเทรดเดอร์ใหม่
จนกว่าคุณจะพบว่าโซนกรอบเวลาไหนที่คุณเทรดแล้วรู้สึกสบาย
 และขอแนะนำว่าให้คุณลองเทรดในหลายๆกรอบเวลาในบัญชีเดโม่ก่อน
เพื่อดูว่ากรอบเวลาไหนที่เหมาะสมกับคุณที่สุด





รายละเอียดของกรอบเวลา
การเทรดมันก็เหมือนกับสิ่งอื่นในชีวิต
ของเราเอง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคุณ
ถ้าคุณชอบอะไรที่ไปช้าๆไม่เร่งรีบในการเทรดแต่ละครั้ง 
คุณก็อาจเลือกกรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้นในการเทรด 
หรือหากคุณชอบความเร็วที่ตื่นเต้นเร้าใจ คุณก็อาจเลือกเทรดที่กรอบเวลา 5
นาที
ต่อไปนี้คือความแตกต่างระหว่างกรอบเวลาขั้นพื้นฐานที่แตกต่างกัน

เทรดระยะยาว (Long term)
เทรดเดอร์ที่เทรดระยะยาวมักจะดูกราฟที่
กรอบเวลารายวันและรายสัปดาห์
หราฟรายสัปดาห์จะทำให้เห็นมุมมองในระยะยาวและช่วยสนับสนุนในการเข้าออเดอร์
ในกราฟรายวันซึ่เป็นระยะที่เวลาที่สั้นเข้ามา
ระยะเวลาในการถือออเดอร์อาจกินเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือนหรือบางทีอาจ
จะถึงปี
ข้อได้เปรียบ ก็
คือ ไม่ต้องดูกราฟในระหว่างวัน และการซื้อขายก็ครั้งน้อยลง
ซึ่งก็ลดจำนวนการจ่ายค่าสเปรดลงด้วยและมีเวลามากขึ้นในการพิจารณาแผนการเทรด
แต่ละครั้ง
ข้อเสียเปรียบ คือ
 รอบการสวิงของราคาจะมีขนาดใหญ่ ปรกติจะอยู่ที่ 1-2 ปี
ดังนั้นเทรดเดอร์จะต้องอดทนรอ
การค้าที่มีขนาดใหญ่จำเป็นต้องรอสวิงในระยะยาวและบ่อยครั้งที่ต้องอดทนรอใน
ช่วงที่ติดลบระยะยาวเป็นเดือนๆ
เทรดระยะสั้น หรือ สวิงเทรด (Short-term)
การเทรดระยะสั้นมักจะใช้กรอบเวลาที่ 1 ชั่วโมง และถือออเดอร์หลายชั่วโมง อาจจะถึงวันไปจนถึงสัปดาห์ 
ข้อได้เปรียบ คือ มีโอกาสในการซื้อขายมากขึ้น มีโอกาสน้อยเสียทั้งเดือน ไม่ต้องรอที่จะเทรดเพื่อทำกำไรแค่ 1-2 ครั้งต่อปี
ข้อเสียเปรียบ
 คือ มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เพราะต้องจ่ายค่าสเปรดมากขึ้น
(ในการเทรดแต่ละครั้ง)
มีความเสี่ยงชั่วข้ามคืนซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มขึ้นมาในการถือออเดอร์ข้าม
คืน หรือหลายๆวัน
เทรดระหว่างวัน (Intraday)
เทรดเดอร์ที่เทรดระหว่างวัน มักจะใช้กราฟรายนาที เช่น 1 นาทีหรือ 15 นาที ในการเทรดระหว่างวัน และปิดออเดอร์แบบวันต่อวัน
ข้อได้เปรียบ คือ มีโอกาสในการซื้อขายมาก มีโอกาสน้อยที่จะเสียทั้งเดือน ไม่มีความเสี่ยงข้ามคืน
ข้อเสียเปรียบ
 คือ มีรายจ่ายในการซื้อขายที่สูงมาก
เพราะต้องเสียค่าสเปรดทุกครั้งที่ทำการซื้อขาย
เกิดความสับสนในการตัดสินใจมากขึ้น
เนื่องจากต้องเปลี่ยนทัศนคติบ่อยๆในการเทรด (เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง)
ผลกำไรจะถูกจำกัดเพราะต้องออกจากตลาดเมื่อสิ้นสุดวัน
นอก
จากนี้แล้วคุณยังต้องพิจารณาจำนวนเงินทุนของคุณในการเทรดด้วย
ในการเทรดระยะสั้นทำให้คุณสามารถตั้งจุดตัดขาดทุนที่น้อยกว่า
ในการเทรดในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่าก็จำเป็นต้องมีจุดตัดขาดทุนที่มากกว่าตามไป
ด้วย
คุณจึงควรมีขนาดบัญชีการซื้อขายที่ใหญ่ เพื่อให้คุณสามารถเล่นกับราคาที่สวิงขึ้นลงของตลาดได้ โดยไม่ต้องเจอกับ margin call
สิ่งที่
สำคัญที่สุดที่ต้องจำไว้คือ ไม่ว่าคุณจะเลือกเทรดในกรอบเวลาใดก็แล้วแต่
มันก็ควรเป็นเหมาะกับบุคลิกของตัวคุณเองซึ่งจะทำให้คุณเทรดได้แบบเป็น
ธรรมชาติไม่อึดอัดหรือเร่งรีบจนเกินไป
หากคุณยังรู้สึกตกใจอยู่บ้างในการเทรด
นั่นก็อาจเป็นเพราะว่ากรอบเวลาที่คุณเลือกเทรดนั้นไม่เหมาะสมกับคุณ
และนี่ก็คือสาเหตุว่าทำไมเราจึงแนะนำให้คุณลองเทรดในบัญชีเดโม่ก่อนเพื่อ
เลือกกรอบเวลาที่เหมาะสมกับตัวคุณเองก่อนที่จะเทรดในกรอบเวลาที่เหมาะสมใน
บัญชีจริง ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดของคุณได้
และเมื่อคุณเลือกรอบ
เวลาที่เหมาะสมได้แล้วทีนี้คุณก็จะเทรดได้ด้วยความรู้สึกที่สบายๆ
เริ่มที่จะสนุกกัยการเทรดมากขึ้น
ที่นี้คุณก็สามารถเริ่มมองราคาในกรอบเวลาอื่นๆ
ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ตลาดได้ดีขึ้น

ซื้อหรือขาย
ก่อนที่เราจะอธิบายเกี่ยวกับการ
วิเคราะห์ราคาโดยใช้หลายกรอบเวลา
เราจะมาพูดถึงเรื่องที่ว่าทำไมคุณจึงควรที่จะเปลี่ยนความคิดเมื่อดูกราฟใน
กรอบเวลาที่แตกต่างกัน
เรามี Indicators  มากมาย
และก็มีข่าวเศรษฐกิจอีกมากที่จะช่วยในการวิเคราะห์กราฟ
นอกจากนี้เรายังไม่ฝึกฝนการเทรดกันมาแล้ว
ทีนี้เราก็มาดูที่กราฟแล้วก็ตัดสินใจว่าจะเข้าออเดอร์ซื้อหรือขาย
(บายหรือเซล)
และคุณจะต้องใส่ใจมากขึ้นเมื่อพยายามที่จะวิเคราะห์กราฟในกรอบเวลาที่แตก
ต่างกัน
ลองมาดูที่กราฟ 10 นาที ของ GBP/USD
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2010 โดยเราได้ใส่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 (MA200)
ลงในกราฟ และดุเหมือว่า MA200 จะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
โดยที่ราคากลับมาทดสอบแนวต้านและกลายเป็นโดจิ
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการเซล





แต่ลองมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไป ราคาได้พุ่งขึ้นไปปิดเหนือแนวต้านและวิ่งขึ้นไปอีก 200 จุด ซึ่งเลวร้ายมากหากคุณเซลในตอนแรก



มันเกิดอะไรขึ้นกันนี่ ?
ทีนี้เราลองมาดูในกราฟ 1 ชั่วโมง เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น
และถ้าคุณได้ดูในกราฟ 1
ชั่วโมงตั้งแต่แรกคุณก็จะสังเกตได้ว่าราคามันอยู่ที่แนวรับด้านล่างของกรอบ
เชเนลราคาขาขึ้น
และที่มากไปกว่านั้นคือราคาฟอร์มตัวเป็นโดจิเมื่อชนกับเส้นแนวรับ
ซึ่งเป็นสัญญาณบายอย่างชัดเจน



และราคาได้วิ่งตามกรอบเชเนลขาขึ้นในกรอบเวลา 4 ชั่วโมงอย่างชัดเจนด้วย



ถ้าคุณได้ดูกราฟในกรอบเวลานี้ตั้งแต่
ครั้งแรก คุณก็คงไม่ตัดสินใจเซลในทันทีเมื่อคุณเห็นสัญญาณขายในกราฟ 10 นาที
 และกราฟทั้งหมดนี้คือกราฟในวันและเวลาเดียวกัน
มันแตกต่างกันแค่กรอบเวลาที่แสดงเท่านั้นเอง
ตอนนี้คุณพอเห็นถึงความสำคัญของการดูกราฟในกรอบเวลาที่แตกต่างกันบ้างหรือ
ยัง?
ส่วนมากเรามักเคยชินกับการดูกราฟที่ 15
 นาที  เราไม่เคยเข้าใจเลยว่าในเมื่อทุกอย่างมันดูดี
ดูถูกต้องแล้วทันใดนั้นราคาก็มีการกลับตัวหรือวิ่งไซด์เวย์
เราไม่เคยเข้าใจว่าควรจะดูในกรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้นเพื่อดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น บ่อยครั้งที่เมื่อมีการไซด์เวย์หรือกลับตัวในกราฟ 15 นาที มักจะเป็นเพราะราคาในกรอบราคาที่ใหญ่กว่าได้วิ่งชนแนวรับหรือแนวต้าน และคุณควรจำไว้ว่า แนวรับหรือแนวต้านในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่านั้นมีนัยยะที่สำคัญมากกว่าในการต้านราคา
การดูกราฟในหลายกรอบเวลาอาจช่วยให้เรา
ผิดพลาดได้น้อยกว่าการที่เทรดในกรอบเวลาเดียว
และช่วยให้คุณสามารถถืออเดอร์ได้นานขึ้นเพราะคุณสามารถเห็นตำแหน่งของคุณได้
ชัดเจนมากขึ้นเมื่อเทียบในภาพที่ใหญ่กว่า
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการเทรด
ในกรอบเวลาเดียว และยึดกับกรอบเวลาเดียวนั้นกับ Indicators ที่พวกเขาใช้
โดยไม่สนใจกราฟในกรอบเวลาอื่นๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ
บ่อยครั้งที่พวกเขาจะเจ็บตัวกับเทรนใหม่ที่มาจากกรอบเวลาอื่นๆที่ใหญ่กว่า
ที่พวกเขาไม่ได้ใส่ใจ
การผสมผสานระหว่างกรอบเวลา
การเทรดโดยการวิเคราะห์ราคาจากหลายกรอบเวลาหรือหลายทามเฟรม คุณไม่ควรที่จะดูเฉพาะกรอบเวลาที่คุณต้องการเทรด แต่ควรจะซูมเข้าซูมออกเพื่อดูในกรอบราคาที่เล็กและใหญ่กว่าด้วย
ก่อนอื่นให้ดูว่ากว่ามันเกิดอะไรขึ้นในกราฟ อย่าพยายามซูมเข้าไปดูที่จุดเล็กๆ แต่ควรดูจากมุมกว้าง ดูจากภาพรวมกว้างๆของตลาด
 จงจำไว้ว่า การเทรดในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่า
ทำให้มีเวลามากขึ้นในการวิเคราะห์และวางแผน
ซึ่งก็หมายความว่ามันจะเป็นการเทรดในการเคลื่อนไหวหรือสวิงในตลาดที่มีระยะ
ยาวกว่า
และก็ยังมีแนวรับ-แนวต้านที่มีความสำคัญมากขึ้นในกรอบเวลามี่นานกว่าด้วย
เริ่มต้นด้วยการเลือกกรอบเวลาที่คุณ
ต้องการและจากนั้นเลื่อนไปดูในกรอบเวลาที่สูงขึ้น
ทีนี้คุณก็สามารถตัดสินใจได้ได้ว่าจะซื้อหรือขาย
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่ใช้และแนวโน้มที่มีในตลาด
จากนั้นก็กลับไปที่กรอบเวลาที่คุณต้องการ (หรือแม้กระทั่งต่ำกว่า)
และใช้กลยุทธ์ทางเทคนิคในตัดสินใจเลือกจุดที่จะเข้า-ออกออเดอร์
(ตั้งเป้าหมายกำไร กำหนดจุดขาดทุน)
และนี่ก็คือประโยชน์อย่างหนึ่งของการเท
รดโดยใช้การวิเคราะห์จากหลายกรอบเวลา
คุณจะสามารถหาจุดเข้าออกออเดอร์ที่ดีกว่าได้ด้วยการซูมเข้าไปดูในกรอบเวลา
ที่เล็กลง โดยการเพิ่มมิติของเวลาในการวิเคราะหื
ช่วยให้คุณสามารถช่วยให้คุณเห็นอะไรที่มากกว่าการเทรดในกรอบเวลาเดียว
อย่างเช่นถ้าคุณชอบเท
รด EUR/USD แลคุณรู้สึกสบายใจในการเทรดที่กราฟ 1 ชั่วโมง
ก่อนที่คุณเปิดการเทรดแต่ละครั้งคุรก็ควรเข้าไปดูที่กราฟ 4 ชั่วโมงก่อน
เพื่อดูแนวโน้มโดยรวม



เมื่อเห็นแล้วว่าราคาเป็นขาขึ้นอย่าง
ชัดเจน ทีนี้สิ่งที่ควรทำก็คือการมองหาสัญญาณซื้อ
อย่าลืมว่าเทรนคือเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณ ( Trend are your friend)
 ทีนี้คุณก็กลับมาดูที่กรอบเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อหาจุดเข้าออเดอร์
และตัดสินใจที่จะใส่ Stochastic เข้าไปในกราฟเพื่อช่วยในการตัดสินใจ



และทันทีที่กลับเข้ามาดูกราฟ 1
ชั่วโมงเราก็เห็นว่าแท่งเทียนเป็นโดจิ และ Stochastic
เพิ่มมีการตัดขึ้นจากเงื่อนไขของการ Oversold
แต่เราก็ยังไม่แน่ใจว่าเปิดออเดอร์ตรงจุดไหนดี จึงเปิดเข้าไปดูในกราฟ 15
นาที เพื่อช่วยหาจุดเข้าที่ดีที่สุดและเป็นการยืนยันที่หนักแน่นขึ้นด้วย



ดังนั้นตอนนี้เราก็จะมาจับตาดูที่กราฟ
15 นาที
และเห็นว่าเส้นเทรนไลน์ที่รับอยู่นั้นดูเหมือนว่าจะแข็งแกร่งใช้ได้ที่เดียว
 และไม่ใช่เพียงเท่านั้น แต่ Stochastic ก็มีสัญญาณ Oversold ในกรอบเวลา 15
 นาทีเช่นกัน เราจึ
ตัดสินใจว่าตรงนี้แหละเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการเปิดบาย  และลองมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไป





และจากที่เราเห็น ราคาของ EUR/USD
ยังคงวิ่งไปในแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งเราได้เปิดบายไว้ที่เหนือระดับ 1.2800
และยังคงถือออเดอร์อยู่ถึงสองสัปดาห์ ซึ่งทำกำไรได้ถึง 400 จุด
สิ่งทีคุณไม่ควรลือก็คือ มันมีข้อจำกัดเกี่ยวกับว่ากี่กรอบเวลาที่คุณควรดู  เพราะคุณคงไม่ต้องการให้หน้าจอของคุณเต็มไปด้วยกราฟที่บอกคุณในสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณควรใช้อย่างน้อย 2 ทามเฟรม แต่ไม่เกิน 3 ทามเฟรม เพราะหารที่ดูมากไปจะทำให้เกิดความสับสนจนทำให้เกิดความผิดพลาดได้
Time Frame Combinations

ถึงตอนนี้เราอยากจะบอกถึงการใช้กรอบ
เวลาในการเทรด
ที่ช่วยให้มีความยืดหยุ่นมากที่สุดสำหรับแปลความหมายในการเทรดในแนวโน้มระยะ
ยาว ระยะกลาง หรือระยะสั้น
กรอบเวลาที่
ใหญ่ที่สุด เราจะใช้เพื่อพิจารณาแนวโน้มหลักของเรา
ซึ่งจะแสดงให้เห็นภาพใหญ่ของคู่เงินที่เราต้องการเทรด
กรอบเวลาต่อไปคือกรอบที่ต่ำลงมาซึ่งเป็นกรอบเวลาปรกติของเรา
และมันจะส่งสัญญาณซื้อขายในระยะกลาง และกรอบเวลาเล็กสุด
ที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มระยะสั้นและช่วยเราในการหาจุดเข้าออกออเดอร์ที่ดี
ทีสุด

ซึงคุณ
สามารถเลือกใช้กรอบเวลาไหนก็ได้ตามที่คุณต้องการ
เมื่อแต่ละกรอบเวลาที่คุณเลือกมีระยะเวลาที่แตกต่างกันมากพอที่จะเห็นการ
เคลื่อนไหวของราคาที่แตกต่างกันในแต่ละกรอบเวลา


ซึ่งคุณอาจใช้เวลาที่คุณพยายามที่จะตัดสินใจว่า ควรเลือกระยะเวลาที่แตกต่างกันแค่ไหนระหว่างกราฟ


1 นาที, 5 นาที และ 30 นาที

5 นาที, 30 นาที และ 4 ชั่วโมง

15 นาที, 1 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมง

1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง และ 1วัน


4 ชั่วโมง, 1วัน และรายสัปดาห์ หรือ อื่น ๆ


คุณ
ควรแน่ใจว่ามีความแตกต่างมากพอสำหรับ
การเคลื่อนไหวขึ้นลงในกรอบเวลาที่มีขนาดเล็กสุดที่จะไม่สะท้อนให้เห็นถึงการ
เคลื่อนไหวในกรอบราคาที่ใหญ่ที่สุดของคุณ
หากกรอบเวลาที่คุณเลือกนั้นอยู่ใกล้กันเกินไปมันก็อาจจะไม่สามารถบอกถึงความ
แตกต่างระหว่างกรอบเวลาได้ ซึ่งก็จะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง

โค๊ด: [Select]
http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/08/multiple-time-frame-analysis.html
  • Lolox101

  • ****
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 0 | กระทู้ 250
  • เพศ: ไม่ระบุ
วิธีเปิดบัญชี forex exness อย่างละเอียด 2023 ทีละขั้นตอน | วิธีสมัคร Forex Update 2566



ความคิดเห็นที่ 1
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01/ส.ค./2015 12:57:36 »
ขอบคุณครับสําหรับการสอนเทรด
  • koka2015

  • ****
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 0 | กระทู้ 250
  • เพศ: ไม่ระบุ
 

SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums