forex Timeframe คืออะไร ใช้อย่างไร

อ่าน 1340 ครั้ง

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

forex Timeframe คืออะไร ใช้อย่างไร
« เมื่อ: 12/มิ.ย./2017 05:50:41 »
ทางเว็บไซด์ขอนำเสนอเรื่อง Time frame กันนะครับ

ในระหว่างที่กำลังเทรดแต่ล่ะครั้ง เราจะสังเกตเห็นว่า แต่ล่ะไทม์เฟรมของกราฟจะมีรูปแบบที่ต่างกัน ในขณะที่ไทม์เฟรมหนึ่งให้สัญญาณเชลล์ แต่อีกไทม์เฟรมหนึ่งบอกมันกำลังขึ้น สรุปแล้วเราจะเอายังไงกับมันดี ดูแล้วสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เทรดเดอร์มือใหม่ ตัดสินใจพลาดในการเทรด เพราะพวกเขายังเลือกใช้ไทม์เฟรมไม่เหมาะสม หรือไม่ตรงตามจริตบุคลิกลักษณะการเทรดน์ในสไตล์ของเขา เรามาดูกันว่าในแต่ล่ะไทม์เฟรมมันแตกต่างกันอย่างไร และเหมาะกับนักลงทุนสไตล์แบบไหนบ้าง

ระบบเทรด (trading system) : time frame ที่ถูกจริตกับตัวคุณ เป็นจุดเริ่มต้นของการชนะตลาด

คำถามแรก คือ คำว่าถูกจริต คืออะไร? คำตอบคือ ถูกจริต = ถูกใจ เหมาะกับพฤติกรรมและนิสัยใจคอของเรา เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะคิดระบบเทรด ขึ้นมาใช้กับตัวเราเอง เราก็ควรที่จะมีระบบเทรด ที่ใช้ในการตัดสินใจ ซื้อ-ขาย หุ้น ในแบบที่เราใช้ไปแล้วรู้สึกสบายใจ สะดวกใจ
และพร้อมที่จะทำตามแผนการเทรดของระบบเทรด อย่างเคร่งครัด

คำถามที่สอง คือ แล้ว time frame คืออะไรหละ ? คำตอบคือ time frame = ช่วงของระยะเวลา ที่เราจะวิเคราะห์
เช่น time frame week คือ กราฟแท่งเทียน 1 แท่ง ที่แสดงถึง
ราคาเปิด,ราคาปิด,ราคาสูงสุด,ราคาต่ำสุด ของ week นั้นๆ

คราวนี้เราจะเลือก time frame ที่จะใช้วิเคราะห์หาจังหวะ การซื้อ-ขาย ตามระบบเทรด ให้เหมาะกับจริตของเราอย่างไรดีหละ??

งั้นผมขอแนะนำ time frame ที่เป็นที่นิยมใช้ ดังนี้ แล้วกันครับ

1. time frame รายนาที (1,3,5,10,15,30,45,60,120)

เหมาะสมกับ : ผู้ที่เวลาเฝ้าหน้าจอเกือบตลอดเวลา มีประสาทสัมผัสที่ไวมากๆ และยังรวมถึงพวกที่เล่นหุ้นแบบ net settlement อีกด้วย (ซื้อ-ขาย จบในวันเดียว เพราะใช้วงเงินเล่นแทนเงินที่มีอยู่จริง)

ความเห็นของผม : โอกาสน้อยมากๆ หรือจะเรียกว่าแทบเป็นไปไม่ได้เลย ที่ day trader จะใช้ระบบเทรด แบบไม่ดู bid-offer และ ticker จะชนะตลาดได้แบบยั่งยืน เพราะฉะนั้นผมไม่แนะนำให้ใช้ time frame ที่ตำกว่า day และ ไม่แนะนำให้เฝ้าหน้าจอ streaming ตลอดเวลา ครับ
---------------------------------------------

2. time frame Day

เหมาะสมกับ : ผู้ที่มีเวลาวิเคราะห์หุ้นทุกๆ สิ้นวัน , ผู้ที่อดใจไม่ได้ที่จะติดตามราคา และ ข่าวหุ้น ในทุกทุกวัน และ รู้สึก sensitive กับราคาที่สวิงขึ้นลงของหุ้น

ความเห็นของผม : t/f Day จะใช้ได้ดีกว่า t/f Week สำหรับหุ้นที่มีอัตราการเก็งกำไรที่สูง และ ทำราคาและไล่ราคาจบกันใน week และไม่เหมาะกับการเล่นหุ้นพื้นฐานดี และมีแนวโน้ม (trend) ชัดเจน เพราะจะทำให้เกิดอาการขายหมูได้บ่อยเกินไป ครับ
---------------------------------------------

3. time frame Week

เหมาะสมกับ : ผู้ที่ไม่มีเวลาวิเคราะห์หุ้นทุกวัน แต่ยังอยากสร้างกระแสเงินสดแบบเป็นรายเดือนอยู่บ้าง และ จะต้องมีความสุขุมเยือกเย็นระดับนึง ไม่สนใจหรือจดจ่ออยู่กับราคา หรือ ข่าว ที่เกิดขึ้นรายวัน

ความเห็นของผม : t/f Week สามารถใช้ได้ดีมากๆ กับการเทรดหุ้นที่มีพื้นฐานดีในระดับนึง และมีแนวโน้มที่ชัดเจน (trend)
---------------------------------------------

4. time frame Month

เหมาะสมกับ : ผู้ที่มีเงินเย็น , วิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาค และ วิเคราะห์ธุรกิจ ได้ดีมีเวลาในการวิเคราะห์หุ้นน้อย อาจเป็นเจ้าของกิจการ หรือ
ผู้บริหาร ที่ต้องการจะ focus ในงานหลักของตัวเอง แต่ยังมีความต้องการจะลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยที่มากกว่าเงินเฟ้อ

ความเห็นของผม : t/f Month ต้องใช้สำหรับหุ้นที่มีพื้นฐานกิจการดีเท่านั้น เพราะฉะนั้นการวิเคราะห์เชิงพื้นฐานสำคัญมาก สำหรับนักลงทุนที่ใช้ t/f นี้ โดยที่ t/f นี้ก็มีโอกาสในการสร้างรายได้และชนะตลาดได้ยั่งยืนมากที่สุด

สาหรับเทรดเดอร์บางท่าน เขาจะรู้สึกดีกับการเทรดใน Time frame ที่ 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นกรอบระยะเวลาที่ไม่ยาวมาก สัญญาณเทรดจะมีไม่มากมาก แต่ก็ไม่น้อยเกินไป จึงช่วยให้เราไม่ต้องเร่งรีบ ทำให้มีเวลาวิเคราะห์ตลาด
ในการเลือกใช้ Time Frame เพื่อหาจุดเข้าเทรดนั้น จะไม่มีตายตัว เราอาจจะเริ่มดูจาก Time Frame ที่เป็นกรอบระยะเวลามากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามากก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องมองตลาดในภาพรวมให้ได้ก่อน แล้วค่อยหาจังหวะเข้าเทรดใน  Time Frame ที่เราถนัด สำหรับมือใหม่จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากการเทรดบัญชีดีโมก่อน เพื่อจะได้เห็นข้อแตกต่างของแต่ล่ะ Time Frame แล้วเลือกใช้ หรือหาจุดเข้าเทรดตามที่ตัวเองถนัด หรือเห็นว่ามันเหมาะสม
จะเห็นได้ว่าใน Time Frame ที่ระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้เราสามารถใช้มาร์จิ้นได้ดีกว่า แต่ช่วงที่กำหนด Stop loss จะสั้นหรือเร็ว
จะเห็นได้ว่า Time Frame ที่กว้างๆ หรือมีระยะเวลาที่ยาวๆ การกำหนดจุด Stop Loss ก็จะกว้างหรือยาวตามไปด้วย เงินทุนที่มีอยู่ในหน้าตัก จึงต้องมีเยอะๆ พอร์ต้องใหญ่ๆ เพื่อจะได้กันการโดนล้างพอร์ท จากตลาดที่ราคามีการสวิงตัวแรงๆ

การผสมการใช้ Time Frame

เราต้องจำไว้เสมอว่า ตลาดหรือราคาใน Time Frame ที่ใหญ่ๆ เวลาที่กว้างๆ โอกาสในการทำกำไรจะไปได้ไกล และแนวรับแนวต้านจะแข็งแกร่งกว่า Time Frame ที่เล็กหรือระยะเวลาสั้นๆ การที่เราจะเลือกใช้เพื่อหาจุดเข้าออร์เดอร์ Buy หรือ Sell รวมทั้งการกำหนดจุด Stop Loss  หรือ take profite เราสามารถดูภาพรวมๆ ของตลาดก่อนว่าราคากำลังไปในทิศทางใด ตลาดกำลังอยู่ใน แพลทเทริ่นอะไร เป็นเทรนด์หรือไซต์เวย์สามารถเลือกดูจาก Time Frame ที่กว้างๆก่อน เช่น TFรายเดือน เดือน,T Fรายสัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยๆซูมเข้ามาเรื่อยๆ เป็น TF รายชั่วโมง จนถึงราย TF รายนาที เพื่อใช้ประกอบการยืนยันที่ดีก่อนที่จะต้ดสินใจเปิดออเดอร์ ซึ่งกล่าวโดยสรุปในการเลือกใช้ Time Frame ก็คือ

Time Frame ใหญ่ที่สุด เพื่อใช้เป็นเทรนด์หลักของเรา ซึ่งนี่ทำให้เราเห็นภาพรวมที่เราอยากจะเทรด
Time Frame ที่เล็กว่า เรามักจะใช้มันเพื่อดูว่าสัญญาณ Buy หรือ Sell ขัดแย้งกันหรือเปล่า
Time Frame ที่เล็กที่สุด จะแสดงเทรนด์เล็ก ๆ และช่วยเราหาจุดเข้า หรือจุดออกจากเทรนด์ที่ดี
หมายเหตุ: Time Frame กรอบเวลาไหนที่เหมาะกับคุณที่สุด? ก็คือ Time Frame ที่คุณใช้แล้วสบายใจ และเทรดได้กำไรมากกว่าเสียนั้นเอง
  • นักศึกษา22

  • ***
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 0 | กระทู้ 201
  • เพศ: ไม่ระบุ
วิธีเปิดบัญชี forex exness อย่างละเอียด 2023 ทีละขั้นตอน | วิธีสมัคร Forex Update 2566



 

SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums