forex จิตวิทยาการลงทุน คืออะไร ใช้อย่างไร

อ่าน 1365 ครั้ง

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แหม่วันนี้ขึ้นหัวข้อเหมือนวิชาการเลยนะครับ สำหรับใครที่ได้เกรด A วิชานี้หรือสนใจ ลองหาความรู้เพิ่มเติมกันได้ครับ forex จิตวิทยาการลงทุน คืออะไร ใช้อย่างไร



จิตวิทยาการลงทุน คืออะไร

จิตวิทยาการลงทุน หมายถึง รูปแบบ แนวทาง วิธีการจัดกระบวนการคิด เพื่อการลงมือทำ ให้ส่งเสริมต่อการทำกำไรในตลาด forex ของคุณ ซึ่งหากสรุปแบบง่ายๆนั้นจะเป็นเรื่องของการฝึกควบคุม 2 อารมณ์หลัก ที่มีผลต่อการทำให้การเทรด forex มีความผิดพลาดสูงมาก ประกอบไปด้วย อารมณ์โกรธ และอารมณ์โลภ

การฝึกหลัก จิตวิทยาการลงทุน

จากอารมณ์ที่ผมได้กล่าวไปนั้น เมื่อเกิดขึ้น มักจะทำให้เราลืมหลักการข้อ 1. และข้อ 2.ไปเลย ผมไม่ได้กล่าวเล่นๆนะครับ แม้คุณจะท่องตำราอย่างทะลุในเรื่องของจิตวิทยาการลงทุน แต่เมื่อถึงสภาวะอารมณ์นั้นเข้า สุดท้ายก็จะหลุดเช่นเดียวกัน ดังนั้นวิธีการฝึกต่อไปนี้อาจช่วยคุณบริหาร จิตวิทยาการลงทุนได้ดียิ่งขึ้นครับ

        1.เปิดพอร์ตเพื่อการฝึกจิตวิทยาการลงทุนโดยเฉพาะ

        2.ลงเงินไม่เกิน 5,000 บาท (คิดเสียว่าเป็นค่าเรียน)

        3.ฝึกเทรดพอร์ตตัวนี้ โดย

                3.1หากเกิดภาวะขาดทุนติดต่อกัน คุณจะต้องเทรดต่อเนื่องในกลยุทธ์เดิมให้ได้ 5 ครั้ง

                3.2หากเกิดสัญญาณที่น่าจะส่งผลให้คุณทำกำไรได้เยอะให้ใช้วิธีเทรดแบบปกติ ไม่เบิ้ล Lot

        4.หากคุณสามารถทนและทำตามข้อ 3 ได้อย่างน้อย 5 ครั้งติดต่อกัน เชื่อว่า เมื่อไปเทรด Port ใหญ่แล้ว จะช่วยลดปัญหาการเทรดโดยขาดหลัก จิตวิทยาการลงทุนไปในตัวด้วย

อันตรายจากการไม่ใช้ จิตวิทยาการลงทุน

แล้วถ้าเราไม่เทรดโดยคำนึงถึง จิตวิทยาการลงทุนล่ะ ผลจะเป็นอย่างไร มีคำตอบง่ายๆเลยคือ คุณจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ทันทีแบบตรึงตราอยู่ภายในใจ คำนั้นคือคำว่า “ล้างพอร์ต” ครับ ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่เราสามารถเข้าใจคำศัพท์นี้ได้โดยที่แทบไม่ต้องเปิดตำราหรืออาจบทความอะไรในนี้เลย และผมหวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้นกับคุณนะครับ

จิตวิทยาการลงทุน คืออะไร

ในบรรดาการลงทุนและการเทรด forex แล้ว มีคนกล่าวว่ามีอยู่ 3 ประการที่เรานั้นจะต้องลงมือใส่ใจในรายละเอียดมากที่สุด เพื่อที่จะเอาชนะเจ้ายักษ์เขียวตัวนี้ได้ (หมายถึง forex บางทีนิยมเรียกว่ายักษ์เขียว) 3 สิ่งที่ว่านั้นประกอบไปด้วย

1.เครื่องมือที่ใช้เทรดดีไหม (Best Indicator)

2.การบริหารจัดการเงินทุน (Money Management)

3.จิตวิทยาการลงทุน (Psychology Investment)

โดยเฉพาะในบทความนี้ ผมต้องการที่จะพาทุกท่านไปรู้จักกับข้อสุดท้ายใน 3 ข้อข้างต้นคือ จิตวิทยาการลงทุน ซึ่งในความคิดของผมนั้นเห็นว่า นี่คือเรื่องที่สำคัญที่สุด และแม้ว่าคุณจะมีเครื่องมือที่ดีใน 2 ข้อแรก แต่ถ้าปราศจากข้อที่ 3 นี้แล้ว ทุกอย่างที่คุณทำมาจะพังลงหมดอย่างแน่นอน ดังนั้นมาดูกันครับกับ จิตวิทยาการลงทุน

อารมณ์มีผลต่อการตัดสินใจ
คุณ อาจคิดว่าอารมณ์ดีหรืออารมณ์เสีย ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ แต่จริงๆไม่ใช่แม้คนที่มีเหตผลที่สุดหากขาดซึ่งอารมณ์ ก็จะไม่สามารถตัดสินใจใดๆได้ โดยเคยมีการศึกษาเรื่องนี้โดยนักประสาทวิทยา ชื่อ แอนโทนิโอ ดามาชิโอ ได้รายงานว่ามีคนไข้ที่สมองส่วน Ventromedical Frontal Crotices ถูกทำลายซึ่้งเป็นสมองส่วนที่ทำให้เกิดอารมณ์ แต่สมองส่วนความจำความฉลาดและความสามารถในการใช้เหตผลยังเป็นปกติอยู่ แต่จากการทดลองหลายครั้งพบว่า การปราศจากอารมณ์ในกระบวนการตัดสินใจได้ทำลายความสามารถในการตัดสินใจอย่าง สมเหตสมผล หมดไปด้วย
       ดังนั้นหากสถานการณ์ไม่ดี ทิศทางที่สมองที่คิดได้ จากข่าวสารและความรู้สึกคือ สิ่งที่ดำเนินต่อไป ของความไม่ดี จะให้สมองสั่งการว่า "ดี" จะเป็นการยากสมองจะสั่งการขัดแย้งออกมาทันทีว่า "ดีจริงหรือ" ใช้เหตผลอะไรที่คิดว่ามันจะดี ? ดังนั้นการซื้อหุ้นตอนที่บรรยากาศร้ายสุด แม้แต่คุณเองยังกลัว คงทำได้ยาก เพราะสมองจะคิดขัดแย้งออกมาว่า "จริงหรือ คราวนี้อาจลงยาวนะ"

       เครื่องมือเทคนิคกับอารมณ์
         บางคนบอกว่าหากเราไม่ใช้อารมณ์เข้ามาในการลงทุนหุ้นแต่เชื่อเฉพาะเครื่องมือ ทางเทคนิคซึ่งเป็นเครื่องมือที่ไม่ได้อ้างอิงใดๆเกี่ยวกับอารมณ์ของตลาดล่ะ จะได้ผลหรือไม่? คำตอบแรก ก็ต้องบอกว่าท่านที่คิดแบบนี้ ยังไม่เข้าใจเครื่องเทคนิคที่ดีพอ เพราะจริงๆแล้วเครื่องมือทางเทคนิคคือการใช้หลักสถิติศาสตร์ถอดแบบสภาพความ เป็นจริงในตลาดหุ้นแล้วนำมาพยากรณ์ความเป็นไปได้ต่อไป ซึ่งความเป็นจริงในตลาดหุ้นที่ถูกนำมาถอดแบบนั้นเต็มไปด้วยอารมณ์"ความกลัว" และ "ความโลภ" ดังนั้นการใช้เครื่องมือก็ยังอิงกับอารมณ์ของตลาดอยู่ดี
         คำตอบที่สอง ขออ้างถึงคุณ J. Wells wilder เจ้าของเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคยอดนิยม เช่น RSI (Relative Strength Index) PAR(Parabolic Sar) MOM ( Momentum) Volatility( แรงกระเพื่อมของระดับราคา) ซึ่งเครื่องมือทางเทคนิคเหล่านี้ สร้างชื่อเสียงให้กับ Wilder เป็นอย่างมาก แต่ในภายหลัง เขาได้ออกบทความใหม่ ที่ชื่อว่า Adam's Theory เป็นการปฏิเสธเครื่องมือทางเทคนิคของเขาที่คิดค้นมาก่อนหน้า โดยเขาบอกว่า ทฤษฎีใหม่นี้เป็นการตกผลึกในความคิด ความเข้าใจ ในเรื่องการลงทุน หลายสิบปีที่เขามี
         ทฤษฎี Adam ตั้งอยู่บนข้อสรุปที่ว่า"ไม่มีเครื่องมือวิเคราะห์อันไหนที่สมบูรณ์ในตัว ที่สามารถชี้นำการตัดสินใจ ลงทุนได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง 100% แต่เครื่องมือแต่ละชิ้นที่มีอยู่ในวงการ ต่างมีข้อบกพร่องในตัวเองไม่อาจ"จับตลาด"จนอยู่หมัดได้ ด้วยเหตุว่าตลาดว่า ตลาดนั้นไม่เคยหยุดนิ่ง ไม่มีลักษณะตายตัว แต่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่นได้ตลอดเวลา
        เขาตั้งคำถามว่า "หากเครื่องมือเหล่านั้นแม่นยำจริง ทำไมนักลงทุน ที่ใช้เครื่องมือเหล่านั้น จึงยังประสบความขาดทุนอยู่ เครื่องมือเหล่านั้นจะวิเคราะห์เฉพาะจุด ไม่ผิดกับตาดบอด คลำช้าง ไม่เห็นภาพรวมของตลาดหรือของตัวหุ้นนั้นๆ มันไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ผันแปรอยู่เสมอของตลาดหุ้นได้ "
        ดังนั้นแม้เครื่องมือต่างอาจจะไม่มีความสมบูรณ์ในตัวมัน แต่หากเราเข้าใขอารมณ์ตลาด มาผสมผสานการ การวางแผน การลงทุนที่เข้าใจหลักจิตวิทยามวลชน การเล่นหุ้นจะทำได้ดียิ่งขึ้น

ทำไมหลายคนซื้อหุ้นตัวไหนตัวนั้นจะลง แต่พอขายแล้วหุ้นกลับขึ้น หลายคนที่เล่นหุ้นในปัจจุบันจะรู้สึกเหมือนโชคไม่เข้าข้าง จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องของดวงหรืออะไรกันแน่ ทฤษฎีการลงทุนต่างๆ ควรจะใช้ได้ดี เพราะหลักการลงทุนผู้ลงทุนควรจะเลือกลงทุนสิ่่งที่ดีและอยากได้กำไรไม่อยาก ขาดทุน แต่จริงๆกลยุทธิ์ต่างๆกลับใช้ไม่ได้ผลเพราะนักลงทุนแต่ละคนเองมี"อคติ"ยอม ขาดทุน หากคิดว่าหุ้นจะลงต่อ หรือยอมซื้อของที่แพงมากหากคิดว่ามันจะขึ้นไปต่อ สิ่งที่นักลงทุนทุกคนใช้ จริงๆจึงเป็นการ"คาดคะเน" ใช้ "สมอง"ประมวลสิ่งต่างๆจากข่าวสารและปัจจัยโดยรอบแต่หารู้ไม่ว่า สมองมีกระบวนการตัดสินใจลึกๆภายในที่ขึ้นอยู่กับ"อารมณ์"มากกว่า "เหตผล"ยกตัวอย่างการเลือกคู่ครองที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตผลแม้คนที่เรียน เก่ง มีสมองดีที่สุดก็มักใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสินเรื่องที่สำคัญที่สุดในชีวิต มากกว่าเหตผล
      นาย เวอร์นอน สมิธ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2002 ผู้ที่ศึกษาการเงินเชิงพฤติกรรมเคยกล่าวไว้ว่า "นักลงทุนทุกคนมีกล่องดำที่เป็นส่วนประมวลผลการตัดสินใจอยู่ในสมองโดยไม่มี ใครรู้ว่ากล่องดำอันนี้มีวิธีในการตัดสินใจอย่างไร แต่กระบวนการตัดสินใจนี้ไม่มีเหตผล เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของจิตใจเป็นหลัก" เมื่อคนแต่ละคนไม่ได้ใช้ความมีเหตุ มีผลในการคิดแล้วการลงทุนที่เป็นสิ่งสะท้อนความคิดของนักลงทุนแต่ละคน ย่อมไม่มีเหตุผล ตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้เลย มีคนเคยตั้งคำถามว่า ทำไมคนที่เรียนด้านการลงทุน เก่งที่ 1-10 อันดับของระดับมหาวิทยาลัย Wharton กับไม่เคยมีชื่อเสียงในวงการลงทุนเลย ทำไมคนที่ IQ สูงขนาดนั้นถึงได้ไม่ประสบผลสำเร็จในตลาดหุ้นกัน
       ย้อนกลับมาที่ตลาดหุ้นไทยจะเห็นว่า คนที่ยิ่งฉลาด ยิ่งขาดทุนมากในตลาดหุ้น แต่คนที่ฉลาดปานกลางแต่หากมี EQ สูงแล้ว กลับสามารถประสบความสำเร็จได้มากกว่าเหตผลทั้งหมดจะค่อยๆถูกเฉลยในบทต่อๆไป ลองดูเหตการเหล่านี้
       Ex1. คุณคิดว่าบริษัท A ผลประกอบการณ์ออกมาดีแน่ เลยซื้อหุ้นที่ราคาสิบบาท ตั้งใจจะขายในระยะสั้นๆที่่ 12 บาท เมื่อผลประกอบการณ์ออก แต่พอผลประกอบการณ์ออกมาดีดังคาดไว้ แต่ราคาหุ้นตกลงไป 8 บาท คุณทำใจขายทิ้งไม่ได้ (Avoid Regret) และคิดว่าหากราคาหุ้นกลับมาแค่เพียง10 บาท เท่าทุนก็จะขายไป ( Referance Point)
      EX2. คุณซื้อหุ้นที่บริษัท B ที่ราคา 10 บาทจำนวน หมื่น หุ้น พอราคาหุ้นวิ่งไป 12 บาท คุณขายทำกำไรไป 20000 บาท พอราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป 15 บาท คุณรู้สึกเสียดายอย่างมาก(เจ็บใจที่ขายเร็ว ขายหมู) พอราคาหุ้นเริ่มปรับตัวลงมาที่ 13 บาท คุณซื้อหุ้นกลับมาแต่คราวนี้ซื้อไป 20000 หุ้นเลย เพื่อเอากำไรเยอะๆ (โลภ เพราะพึ่งได้กำไรมา) ซื้อแล้วหุ้นวิ่งกลับไป 10 บาท เหมือนเดิม ปรากฏว่าเบ็ดเสร็จแล้วคุณขาดทุน 40000 บาท (งง?)
      แม้ว่าสิ่งเหล่านี้ท่านเคยประสบมาหรือเคยได้รับคำเตือนครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าโปรดอย่าตามหลัง "มวลชน" แบบหลับหูหลับตา อันที่จริงคำว่า"มวลชน"นั้นไม่ใช่อื่นใด หากแต่เป็น"เรา "และ "ท่าน" นั้นเอง พฤติกรรมของ "มวลชน" ก็คือพฤติกรรมของคนทั่วไปหากมวลชนตัดสินใจผิดพลาดหรือเกิดปฏิกริยาทางอารมณ์ อย่างรุนแรงเพราะความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เราและท่าน ก็ตกออยู่ในสภาพเช่นนั้นด้วยเช่นกัน
     ดังนั้นลำพังการคิดว่าเราต้องปฏิบัติให้แตกต่างจากคนอื่นไม่เกิดประโยชน์ อะไร เพราะเรื่องเหล่านี้คนส่วนใหญ่ต่างทราบดีว่าควรทำอะไร ยกตัวอย่าง การสูบบุหรี่ ทุกคนทราบดีกว่า การเลิกบุหรี่เป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่หากไม่"ปฏิบัติ"ก็ไม่มีทางก้าวพ้นจาก อุปสรรคทางความคิดและอารมณ์ที่ส่งผลให้เราไม่ประสบผลสำเร็จในตลาดหุ้นได้
       ใน"วิกฤติ มีโอกาส" แต่จะมีซักกี่คน ที่มองข้ามผ่านเมฆหมอกแห่งความกังวลเห็นถึงวันข้างหน้าที่สดใสได้ ในเมื่อบรรยากาศทั้งหมด มันไม่เป็นเช่นนั้น ทุกอย่างดูจะแย่ลง แย่ลง คนเรามองเห็นสิ่งที่ใจรู้สึกหากบรรยากาศรอบตัวร้อนเราก็จะเห็นแค่ความร้อน เราจะนึกถึงเวลาอากาศเย็นไม่ถูกเลย สิ่งเหล่านี้เป็นวิทยาสาสตร์ที่พิสูจน์แล้วว่า คนเราใช้ความรู้สึก ณ ขณะนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการตัดสินใจเรื่องใดๆ เช่น เวลาคนหิวจะชอปปิ้งมากกว่าเวลาอิ่มเป็นต้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13/มิ.ย./2017 09:13:45 โดย นักศึกษา22 »
  • นักศึกษา22

  • ***
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 0 | กระทู้ 201
  • เพศ: ไม่ระบุ
วิธีเปิดบัญชี forex exness อย่างละเอียด 2023 ทีละขั้นตอน | วิธีสมัคร Forex Update 2566



 

SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums