forex Gaps คืออะไร ใช้อย่างไร

อ่าน 1261 ครั้ง

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

forex Gaps คืออะไร ใช้อย่างไร
« เมื่อ: 14/มิ.ย./2017 12:11:44 »
เที่ยงๆ อย่างนี้มาหาความรู้กันถึงเรื่อง forex Gaps คืออะไร ใช้อย่างไร



ในทั่วไปประเภทของ Gap มีอยู่ 4 ประเภท คือ

Common gap: เป็น Gap ที่เกิดขึ้นปกติทั่วไป ไม่มีนัยสำคัญอะไร
การเทรด: เทรดเดอร์สามารถเปิดออเดอร์ตรงกันข้ามเมื่อเกิด Gap นี้เกิดขึ้นได้ โดยคาดการณ์ว่าราคาจะกลับมาปิด Gap ดังกล่าว

Breakaway gap: เป็น Gap ที่เกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนแนวโน้ม มักเกิดในช่วงที่ราคาทะลุผ่านแนวรับ หรือแนวต้านสำคัญๆ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งปกติ Gap นี้เวลาเกิดขึ้นมักจะไม่มีการลงมาปิด
การเทรด: เป็นการคาดการณ์ก่อน ในช่วงที่ราคาฟอร์มตัวอย่างชัดเจน ปกติควรเปิดออเดอร์ก่อนที่ Gap นี้จะเกิดขึ้น เพราะเนื่องจากหากเกิด Breakaway gap เกิดขึ้น ถ้าไปเปิดออเดอร์ตาม อาจจะไม่ทัน

Exhaustion gap: เป็น Gap ที่แสดงถึงการจบของแนวโน้ม โดยเป็นช่วงสุดท้ายของแนวโน้มนั้น ราคาจะกระโดดเปิด Gap ขึ้นมาเพื่อขึ้นทำจุดสูงขึ้นของรอบ หรือจุดต่ำสุดของรอบ และมาปิดภายในไม่กี่วัน
การเทรด: เปิดสถานะตรงข้ามเมื่อเกิด Gap นี้เกิดขึ้น โดยวาง Stop loss เหนือ High หรือ Low ที่เกิด

Runaway gap: เป็น Gap ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างกลางแนวโน้ม เป็นการตอกย้ำทิศทางของแนวโน้มในช่วงนั้น
การเทรด: Gap นี้โดยทั่วไปไม่สามารถเทรดได้ แต่อาจสามารถเพิ่ม Position ของเดิมได้

– Upward gap เกิดขึ้นเมื่อ Low ของวันนั้นสูงกว่า High ของวันก่อนหน้า

            – Downward gap เกิดขึ้นเมื่อ High ของวันนั้นต่ำกว่า Low ของวันก่อนหน้า

 

Credit: CMT

Gaps คืออะไร
เทรดเดอร์ในตลาด Forex มักไม่ค่อยได้เห็นช่องว่างของราคาบนกราฟ หรือ Gap มากสักเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นตลาดที่เปิด 24 ชั่วโมง แต่หากไปเทรดในพวกตลาดหุ้น หรือตลาดอะไรก็ตามที่มีการเปิดตลาดเป็นช่วงเวลา มักจะได้เห็นการเกิด Gap อยู่บ่อยครั้ง โดยการเกิด Gap นั้นมีเหตุผลหลักๆมาจากในช่วงที่ตลาดปิดนั้น ที่มีข่าวสำคัญ หรือเหตุการณ์สำคัญ เข้ามากระทบราคาหุ้น หรือดัชนี จนทำให้ในช่วงตลาดเปิดอีกวันหนึ่งราคาได้สะท้อนกับข่าวสารนั้นในช่วงราคาที่ต่างกันมาก จนเกิดช่องว่างของราคา

รูปแบบของ Gap (Window) โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่ในลักษณะ 4 แบบ คือ

1. Common Gap เป็น Gap ที่พบเห็นได้ตามปกติ มักจะเกิดก่อนการประกาศจ่ายปันผล ปริมาณการซื้อขายจะเบาบาง โดยทั่วไปเมื่อเกิด Gap ขึ้นแล้ว จากนั้นไม่นานนักก็จะถูกปิด Gap ทันที คืออยู่ในช่วงเวลาแค่ไม่กี่วันหรือสัปดาห์นั่นเอง

Common-Gaps

2. Breakaway Gap ถือว่าเป็น Gap ที่พบได้ไม่บ่อยนัก และเมื่อหากเกิดขึ้นแล้ว Gap ประเภทนี้จะอยู่ในบริเวณของแนวรับและ แนวต้าน ที่ประกอบด้วย Gap ที่เป็นขาลงและขาขึ้นนั่นเอง

Breakaway-Gap-Downtrend-ok

ตามตัวอย่าง Breakaway Gap ขาลง สังเกตได้ว่าแท่งเทียนวันถัดไป(แท่งสีแดง)เปิดกระโดดลงหลุดแนวรับลงมา ทำให้เกิดช่องว่างที่เรียกว่า Gap ขึ้น

Breakaway-Gap-uptrend-ok

ตามตัวอย่าง Breakaway Gap ขาขึ้น จะสังเกตได้ว่าแท่งเทียนวันถัดไป(แท่งสีแดง)เปิดกระโดดทะลุแนวต้านขึ้นไป ทำให้เกิดช่องว่างที่เรียกว่า Gap ขึ้น

3. Runaway Gap คือลักษณะของ Gap ที่เกิดขึ้นตามแนวโน้มของตลาด (ค่าเงินหรือหุ้น) ที่มันเคลื่อนที่ ซึ่งจะประกอบด้วย Runaway Gap ที่เป็นแนวโน้มขาลง (Downtrend) และ Runaway Gap ที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)

Runaway-Gap-in-Downtrend

 ลักษณะของ Runaway Gap ที่เกิดขึ้นกับแนวโน้มขาลง หลังจากที่เกิด Gap แล้ว มักจะมีการซื้อขายด้วยปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นตามมา

Runaway-Gap-in-Uptrend

ลักษณะของ Runaway Gap ที่เกิดขึ้นกับแนวโน้มขาขึ้นนั้น หลังจากที่เกิด Gap แล้ว  มักจะมีการซื้อขายด้วยปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นตามมา

4. Exhausting Gap เป็นรูปแบบของ Gap ที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือกลับตัวของเทรนด์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเทรนด์ขาขึ้นและขาลง ลักษณะคือ ในแนวโน้มขาขึ้นจะเกิดคล้ายกับ Runaway Gap แต่จะมีการปิด Gap อย่างรวดเร็ว และมีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ประกอบกับราคาที่มีการลดลงอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแนวโน้มจากขาขึ้นเป็นขาลง


Exhausting-Gap-in-uptrend

ตามตัวอย่างของ Exhausting Gap ที่เกิดในแนวโน้มขาขึ้น ยืนยันด้วยปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และเกิดรูปแบบการกลับตัวแนวโน้มระยะสั้นของแท่งเทียนในรูปแบบ Shooting Star

Exhausting-Gap-in-Downtrend

ตามตัวอย่างของ Exhausting Gap ที่เกิดในแนวโน้มขาลง แล้วมีการกลับตัวจากเทรนด์ขาลงเปลี่ยนเป็นเทรนด์ขาขึ้น โดยมีการยืนยันด้วยปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้น แล้วเกิดการปิด Gap อย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นก็เกิดแท่งเทียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

การเปิดแก็บที่จะถูกปิดแก็บ มันมักจะเป็นแก็บที่ไม่ถูกไล่ราคา แก็บที่ไม่ถูกไล่ราคา จะอยู่ในช่วงที่เกิด divergence ไม่ว่าขาขึ้นหรือขาลง แล้วไอ้ช่วงที่เกิดdivergence ก็จะเป็นช่วงของการจะไปเวฟ 5 เวฟ สุดท้าย ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่คนสงสัยว่าจะขึ้นหรือลงต่อไป เมื่อโดนปัจจัยภายนอกเช่นข่าวมากระตุ้น ราคามันจะกระโดดเปิดแก็บออกจากแนวรับแนวต้าน แต่ว่าราคาจะไม่โดนไล่ไปเรื่อย เพราะคนไม่ได้มั่นใจอย่างที่บอก กระโดดไปแล้วนิ่ง อาการแบบนี้แหละเดี๋ยวมันจะปิดแก็บ เพราะคนไม่แน่ใจว่าจะขึ้นหรือลงจริง

ยกตัวอย่างกรณีเปิดแก็บขึ้น เมื่อมันกระโดดออกจากแนวต้านแบบแรงๆ มักจะลงมา test ที่จุดเดิมเป็นอย่างน้อยอีก จุดที่ว่าก็คือ แนวต้านเดิม ที่มันกลายเป็นแนวรับ หลังจากถูกเบรกออกไป เพราะอยู่ในช่วงไม่แน่ใจว่าจะขึ้นต่ออีกไหมนั้นเองจึงต้องมา test ว่าตรงนี้เอาอยู่ไม่ลงไปต่ำกว่านี้ ความมั่นใจที่จะถือถึงจะมีเป็นต้น

- การเปิดแก็บที่มักจะไม่ถูกปิดแก็บ มันมักจะเกิดในช่วงที่มั่นใจว่าจะไม่ลง + กับมั่นใจว่าจะขึ้นแล้ว แก็บแบบนี้จะถูกไล่ราคา พวก macdหรือ indicator ชี้ momentum จะยกสูงแสดงให้เห็นว่าเป็น convergence การกระโดดแบบมั่นใจในทิศทางนี้มักไม่โดนลงมาปิดแก็บ เพราะมันเกิดจากความอยากได้จริง ไม่ใช่กล้าๆกลัวๆ หลังจากนั้นถ้าย่อลงมาถึงหรือเลยจุดที่เปิดแก็บ ก็ไม่เกี่ยวแล้วว่ามันลงมาเพื่อผิดแก็บ มันลงมาเพราะ take profit หรืออะไรทำนองนั้น

สรุป ประเด็นที่ต้องดูว่าแก็บไหนจะถูกปิดให้ดูที่การไล่ราคา ซึ่งจะเป็นการแสดงถึงความมั่นใจของคนในตลาด แก็บที่เปิดในช่วงที่ตลาดกล้าๆกลัวๆมักโดนปิดไม่ว่าขาขึ้นขาลง(แก็บตรงนี้มักเกิดที่แนวต้านแนวรับ ที่จะชี้วัดว่านี้จะเป็นเวฟ ไหน) แก็บที่มักไม่ถูกปิด จะเป็นแก็บในช่วงที่ตลาดมั่นใจนั้นเอง
  • นักศึกษา22

  • ***
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 0 | กระทู้ 201
  • เพศ: ไม่ระบุ
วิธีเปิดบัญชี forex exness อย่างละเอียด 2023 ทีละขั้นตอน | วิธีสมัคร Forex Update 2566



 

SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums