แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - นักศึกษา77

หน้า: 1 [2]
16
forex ADX คืออะไร

     เป็นที่รู้กันดีในหมู่เทรดเดอร์ว่าเครื่องมือที่นิยมใช้วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม ว่าในช่วงนั้นเป็น Trend หรือเป็น Sideway คือ Indicator อย่าง ADX นั่นเอง


ก่อนจะเข้าสู่วิธีการใช้งานนั้น เราจะมาดู 2 สิ่งที่เทรดเดอร์มือใหม่เข้าใจผิดเกียวกับเครื่องมือ ADX ได้แก่

1) ความชันของเส้น ADX : หลายคนมักดูแต่ค่าตัวเลขของ ADX แต่ลืมไปว่าความชันของเส้น ADX นั้นสำคัญไม่แพ้กัน

- โดยในช่วงที่ ADX กำลังขึ้น (ความชันเป็นบวก) แสดงถึงการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงนั้นมีลักษณะเป็นแนวโน้มที่แข็งแกร่ง

- และเมื่อช่วงที่ ADX กำลังลง (ความชันเป็นลง) แสดงถึงโมเมนตันที่อ่อนแรงลงของแนวโน้มในช่วงนั้น

- ส่วนในช่วงที่ ADX มีลักษณะ Sideway แสดงถึงราคาเคลื่อนไหวคงที่ ยังไม่มีสัญญาณการเปลี่ยนโมเมนตันการเคลื่อนไหวของราคา

2) ADX ไม่ได้เป็นตัวบอกทิศทางของราคา : หลายคนชอบเข้าใจผิดว่า ADX สามารถบอกทิศทางของราคาได้ ซึ่ง ผิด!

- ในขณะที่ ADX กำลังขึ้นนั้น ไม่ได้หมายความว่าราคาจะต้องขึ้นตาม แต่หมายความว่าทิศทางของราคาช่วงนั้นมีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะขึ้น หรือ จะลง

- และในขณะที่ ADX กำลังลง ก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าราคากำลัง แต่หมายความว่า โมเมนตันการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงนั้นเริ่มอ่อนแรง


forex ADX ใช้อย่างไร

Divergence กับ ADX

     คล้ายกับการดู Divergence ในหลายๆ Indicator แต่จะแตกต่างกันตรงที่ว่า การเกิด Divergence ของ ADX นั้นไม่ได้เป็นการดูการเปลี่ยนแนวโน้มของราคา จาก ลงเป็นขึ้น หรือจาก ขึ้นเป็นลง แต่จะเป็นการดูการเปลี่ยนลักษณะการเคลื่อนไหวของราคา คือ ดูการจบรอบของแนวโน้ม ดังตัวอย่างด้านล่าง

การดูโอกาสการทะลุแนวรับ / แนวต้าน โดยใช้ ADX

     ADX ยังสามารถเป็นตัวช่วยบอกว่าราคาจะมีโอกาส ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน แนวรับ/แนวต้าน จากที่กล่าวมีข้างต้น ADX เป็นตัวบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม ยิ่งถ้าช่วงที่ ADX มีค่ามาก แสดงถึงแนวโน้มในช่วงนั้นค่อนข้างแข็งแกร่ง ทำให้โอกาสการ ผ่าน แนวรับ/แนวต้านมีสูง แต่ห่างในช่วงที่ ADX มีค่าน้อย แสดงถึงแนวโน้มในช่วงนั้นอ่อนแอ ทำให้โอกาส ผ่าน แนวรับ/แนวต้านมีน้อย


หลักการดู ADX

     โดยทั่วไปค่า ADX จะอยู่ในช่วง 0 – 100 ซึ่งเราสามารถตีความค่าในช่วงละช่วงได้ดังนี้
- ช่วง ต่ำกว่า 25 : ราคาในช่วงนั้นเป็นลักษณะ Sideway
- ช่วง 25 – 50 : ค่อนข้างมีความเป็นแนวโน้มที่แข็งแกร่ง โดยค่า ADX ในช่วงนี้ เมื่อราคาทดสอบระดับแนวรับหรือแนวต้าน จะมีโอกาสการ Break ผ่านสูง
- ช่วง 75 ขึ้นไป : โอกาสเห็นเห็นมีน้อย แต่เมื่อเกิดขึ้นจะแสงถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มที่มาก ราคาขึ้นลงอย่างชัน


สรุปการใช้ ADX

1. ใช้แยกแยะระหว่างช่วงที่เป็น Trend กับ Sideway
2. แบ่งระดับความแข็งแกร่งออกเป็นช่วง 25 , 50 และ 75
3. การเกิด Divergence ของ ADX เป็นการแสดงถึงความเป็นแนวโน้มเริ่มอ่อนแรงลง
4. สามารถประเมินโอกาสการ ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน แนวรับ / แนวต้าน

                                                                                                                                                               

17
forex 1-2-3-4 pattern คืออะไร

     เป็นรูปแบบที่ถูกคิดขึ้นโดย Jeff Cooper ที่อาศัยดำรงชีพด้วยการเทรดในตลาดหุ้น ซึ่งเขาคนนี้มีชื่อเสียงในด้านการเล่นสั้น เป็นพวกสาย Swing trading อาศัยการเข้าออกอย่างรวดเร็วในการทำกำไรจากการเทรด … ทั้งนี้เราสามารถนำรูปแบบนี้มาประยุกต์ใช้ในตลาด Forex ได้เช่นเดียวกัน

forex 1-2-3-4 pattern ใช้อย่างไร

     หลักการของการเทรดรูปแบบนี้คือจะหาช่วงที่ตลาดเป็นแนวโน้ม หรือ Runaway market และจะรอจังหวะเข้าเมื่อช่วงตลาดย่อตัวระยะสั้น โดยให้เหตุผลว่าอาศัยข้อได้เปรียบในการย่อตัวของแนวโน้มนั้นเป็นข้อได้เปรียบในการเทรด ซึ่งเบื้องหลังการเทรดรูปแบบนี้มาจากงานวิจัยของ W.D. Gann ที่ได้ศึกษาว่าการพักตัวในช่วงของตลาดที่เป็นแนวโน้มที่แข็งแกร่งนั้น จะพักตัวไม่เกิด 3 วัน และปรับตัวไปต่อตามแนวโน้มเดิม นี่เลยเป็นที่มาของรูปแบบ 1-2-3-4 pattern นี้

รูปแบบ 1-2-3-4 pattern ประกอบด้วย

          – ADX
          – วิเคราะห์แท่งเทียน
          – เล่นตามแนวโน้มใหญ่ อาศัยการเข้าในจังหวะที่พักตัวของแนวโน้มใหญ่

ตัวอย่าง


USDEUR


1. ADX > 30 และ +DI > -DI
B.         1. ราคาทำ Lower low
2. ทำ Lower Low ต่อ
3. ทำ Lower low ต่อเป็นครั้งที่ 3
4. ซื้อเมื่อราคาทะลุเหนือ High ของ 3 แท่งเทียนก่อนหน้า ตั้ง Buy stop เหนือบริเวณดังกล่าว (1 ticks หรือตามความเหมาะสม)

     จากนั้นราคาก็ปรับตัวขึ้นต่อตามแนวโน้มเดิม จริงๆแล้วรูปแบบนี้ออกแบบมาเพื่อเทรดในตลาดหุ้น แต่พอรูปแบบนี้เริ่มได้รับความนิยมก็มาเทรดเดอร์หลายท่านนำหลักการนี้มาใช้กับตลาดอื่นๆ ทั้งพวกสินค้าโภคภัณฑ์ ตลาด Futures และรวมทั้งตลาด Forex เช่นเดียวกัน

เงื่อนไขของ Set up นี้
สำหรับฝั่ง ซื้อ (ขาย ตรงกันข้าม)

1. ADX > 30
2. +DI (14-day) > -DI (14-day)
3. รอช่วงที่ตลาดพักตัว 3 วัน (1-2-3 correction)
4. ซื้อ (ตั้ง Buy stop) เมื่อราคาทะลุ High ของ 3 วันที่พักตัว
5. เมื่อ Match ให้ตั้ง Stop loss ที่บริเวณรอบ Swing low (Low ของ 3 วันที่พักตัว)
6. เมื่อกำไร ให้ตั้ง Trailing stop เพื่อ Lock กำไร

     อย่างที่บอกหลักการของรูปแบบค่อนข้างมีเหตุและผล เป็นการเล่นตามแนวโน้ม อาศัยจังหวะ Pullback ของราคาแล้วค่อยเข้าตาม เป็นการเทรดที่ความเสี่ยงค่อนข้างน้อย แต่ผลตอบแทนค่อนข้างมาก ลองเอาไปใช้กันดูนะครับ คราวหน้าถ้ามีรูปแบบเจ๋งๆอย่างนี้อีก เดี๋ยวจะมานำเสนอให้เพื่อนๆเทรดเดอร์ Forex มาศึกษากันนะครับ

18
1-2-3 Pullbacks คืออะไร

     Set up นี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อที่จะจับจังหวะในช่วงที่ตลาดเป็นแนวโน้มที่แข็งแกร่ง แล้วจะจังหวะเข้าเทรดเพื่อเล่นตามแนวโน้มนั้น โดยเชื่อว่าการพักตัวในของแนวโน้มที่แข็งแกร่งมันพักตัวเพียง 3 แท่งเทียน หลังจากนั้นจะวิ่งขึ้นต่อ นั่นแหละเป็นจังหวะที่เราสามารถเข้าไปมีส่วนร่วม


1-2-3 Pullbacks ใช้อย่างไร

ตัวอย่างกราฟ USD/EUR


1. สัญญาณ ADX > 30 และ +DI > -DI แสดงทิศทางของฝั่งขึ้น
2. รอจังหวะที่ราคาย่อตัว 3 วันติดต่อกัน หมายเลข 1-2-3
3. ตั้ง Long เมื่อราคาทะลุ High ของแท่งหมายเลข 3 ที่ 0.9086
4. เมื่อ Match ในที่นี้จะ Match ในแท่งหมายเลข 4 ให้ตั้ง Stop loss ที่จุด Low ของแท่งหมายเลข 3 ที่ 0.9051

สำหรับฝั่งซื้อ (Long)

1. หาช่วงที่แนวโน้มแข็งแกร่งโดยใช้เครื่องมือ ADX (14 วัน) โดยดูจาก ADX (14) ต้องมีค่ามากกว่า 30 (ADX (14) > 30)
2. ใช้ +DI และ –DI ในการดูทิศทาง ในฝั่งซื้อ จะเทรดในช่วงแนวโน้มขาขึ้น ซึ่ง +DI ต้องมากกว่า –DI (+DI > -DI)
3. รอจังหวะที่ราคาย่อตัว โดยการย่อตัวนั้นเป็นการย่อตัว 3 วันติดต่อกัน (ทำ Lower Lows ต่อเนื่อง) หรืออีกกรณีนึงคือ ลงติดกัน 2 วันและอีก 1 วันเป็น Inside bar
4. รอเปิด Long ตามเมื่อราคา ทะลุ High ของแท่งเทียนที่ 3 (ใช้คำสั่ง Buy stop)
5. ถ้าราคา Match ให้ตั้งจุด Stop loss ที่ Low ของแท่งเทียนที่ 3
6. เมื่อราคาวิ่งขึ้นตามที่เราคาด ให้ใช้การ Trailing stop

สำหรับฝั่งขาย (Short)

     สำหรับฝั่ง Short ก็ตรงกันข้าม ซึ่ง Set up นี้ต้องบอกเลยว่าเป็น Set up ที่เกิดขึ้นไม่บ่อย นานๆ เกิดขึ้นที แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วผลตอบแทนที่ได้มักคุ้มค่ากับการรอคอย อย่างไรก็ดีการพักตัวของราคาในแนวโน้มแข็งแกร่งนั้นไม่จำเป็นต้อง 3 วัน อาจ 2 วันหรือ 4 วันก็ได้ แต่ส่วนมากเป็น 3 วัน จึงทำให้ Set up นี้นำหลักการนี้มาเทรด ด้วยความเสี่ยงที่ต่ำ และผลตอบแทนที่สูง ทำให้ Set up นี้น่าสนใจที่จะนำไปใช้อย่างยิ่ง

19
RSI คืออะไร

     คำว่า RSI มาจากคำเต็มที่ว่า Relative Strange index หรือเป็นค่าที่บอกให้เห็นปริมาณการซื้อหรือขาย โดยมีการคำนวณมาจากความเร็วของการเคลื่อนที่ของราคา ตัวเลขที่นำมาใช้ในการวัดค่า RSI คือเลข 0-100 โดยค่านี้จะถูกนำมาประกอบกับการตัดสินใจในการเทรดหุ้น หรือการเทรด forex นั่นเอง
 
การใช้ RSI กับการเทรด forex

     แต่ในประสบการณ์ของผู้เขียนแล้ว ค่า RSI นั้นกับการเทรด forex มักมีค่าที่แตกต่างในการตัดสินใจออกไปจากข้างต้นสักหน่อย ซึ่งผู้เขียนขอเอามาให้ทุกท่านได้พิจารณาประกอบเป็นความรู้ดังนี้คือ

1.หาก RSI มากกว่า 90 เป็นสัญญาณว่า ราคาจะขึ้นแรงมากๆ ให้ระวังการกลับตัว เราจะเปิดสัญญา Sell ต่อเมื่อกราฟหัวทิ่มลงมาแล้วเท่านั้น

2.หาก RSI มีค่าน้อยกว่า 17 เป็นสัญญาณว่า ราคาลงแรงมากๆ ให้ระวังการกลับตัวขึ้นเช่นเดียวกัน และเราอาจเลือกเปิด Buy เมื่อกราฟงอหัวกลับมาแล้ว

     สำคัญมากๆคือคุณห้ามทำการซื้อหรือขายในขณะที่กราฟยังมีลักษณะเป็นแบบหัวปักอยู่นะครับ เพราะว่าอันตรายและเสี่ยงมากๆที่คุณจะรับมือ
     สรุปแล้วการเลือกใช้ค่า RSI ถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะว่าสามารถบอกให้เราเห็นคร่าวๆว่า เมื่อใดที่เกิดแรงกระเพื่อมหรือแรงซื้อขายมากเกินไป อันอาจทำให้เรามีการกลับตัวหรือมีการเปลี่ยนแปลง เพียงแต่ว่าคุณไม่สามารถที่จะพิจารณาค่าของ RSI ได้เพียงอย่างเดียว จะต้องดูกับค่าอื่นๆประกอบกันไปด้วยครับ จึงจะสามารถตัดสินใจในการเข้าทำได้ถูกต้อง

แล้ววิธีใช้งาน RSI ที่ถูกต้อง ต้องทำยังไง ?

     ต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นมากกว่า Indicators และใช้ Indicators เพื่อช่วยส่งสัญญาณเตือนหรือเป็นข้อมูลเสริมเพื่อประกอบการตัดสินใจเท่านั้น  ดังนั้นห้ามให้ความสำคัญกับ Indicators มากกว่ากราฟราคาหุ้น และห้ามตัดสินใจลงมือซื้อขายหุ้นจากข้อมูล Indicators แต่เพียงอย่างเดียว

ตัดสินใจลงมือซื้อขายจากกราฟราคาหุ้นเท่านั้น

     เมื่อ RSI เกิดสัญญาณเตือน ไม่ว่าจะเป็น Ovebought Oversold หรือ Divergence ก็ตาม เราจะใช้สัญญาณเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่าหุ้นตัวนี้เริ่มมีความน่าสนใจ หรือเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าราคาหุ้นในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงทิศทาง เพื่อให้เราติดตามกราฟราคาอย่างใกล้ชิดเพื่อหาจังหวะที่ลงมือซื้อหรือขายที่ดีต่อไป หรือเป็นสัญาณ แต่การหาจังหวะลงมือซื้อขายหุ้นที่ดีนั้น จะต้องกลับไปวิเคราะห์จากกราฟราคาหุ้นเสมอ เนื่องจากกราฟราคาหุ้นเป็นข้อมูลที่ใช้แสดงพฤติกรรมของคนที่เข้ามาซื้อขายในตลาดได้ดีที่สุด 


รูปแสดงขั้นตอนการใช้งาน RSI ที่ถูกต้อง โดยใช้สัญญาณจาก RSI เป็นสัญญาณเตือน แต่ตัดสินใจลงมือซื้อขายหุ้นจากการวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นเท่านั้น



รูปตัวอย่างแสดงให้เห็นกรณีที่ RSI ส่งสัญญาณ Overbought แต่หลังจากติดตามกราฟราคาหุ้นอย่างใกล้ชิดแล้วไม่มีสัญญาณให้ขายจึงถือหุ้นต่อ ทำให้ไม่ได้ลงมือขายหุ้นจากสัญญาณ Overbought ของ RSI



รูปตัวอย่างถัดมาแสดงให้เห็นกรณีที่ RSI ส่งสัญญาณ Overbought หลังจากติดตามกราฟราคาหุ้นอย่างใกล้ชิดแล้วเกิดสัญญาณให้ขายจากการทำจุดต่ำสุดใหม่ จึงค่อยตัดสินใจขายลงมือหุ้น



รูปตัวอย่างแสดงให้เห็นกรณีที่ RSI ส่งสัญญาณ Bearish Divergence แต่หลังจากติดตามกราฟราคาหุ้นอย่างใกล้ชิดแล้วไม่มีสัญญาณให้ขายจึงถือหุ้นต่อ ทำให้ไม่ได้ลงมือขายหุ้นจากสัญญาณ Divergence ของ RSI



รูปตัวอย่างถัดมาแสดงให้เห็นกรณีที่ RSI ส่งสัญญาณ Bearish Divergence หลังจากติดตามกราฟราคาหุ้นอย่างใกล้ชิดแล้วเกิดสัญญาณให้ขายจากการทำจุดต่ำสุดใหม่ จึงค่อยตัดสินใจขายลงมือหุ้น

ใช้ RSI เป็นสัญญาณเตือน !!

      เมื่อเกิดสัญญาณจาก RSI ก็เหมือนกับเราเจอป้ายเตือนภัยนั่นเองครับ เมื่อเราเจอป้ายเตือนภัย สิ่งที่ควรทำก็คือ ให้เพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น เวลาที่เราเจอป้ายเตือนว่าระวังของตกจากด้านบน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีของตกลงมาจากข้างบนตลอดเวลา แต่ให้เราคอยระวังเพราะบริเวณนั้นมีของตกลงมาบ่อยครั้ง ถ้าจำเป็นต้องเดินเข้าไปใกล้ ๆ บริเวณนั้นก็ให้เพิ่มความระมัดระวัง หรือหาเครื่องป้องกัน 

      #RSI ก็เช่นกัน เวลาที่เกิดสัญญาณจาก RSI ไม่ว่าจะเป็น Overbought Oversold หรือ Divergence ก็ให้เราใช้สัญญาณนั้นเป็นสัญญาณเตือน ให้เพิ่มความระมัดระวัง และติดตามกราฟการเคลื่อนที่ของราคาหุ้นอย่างใกล้ชิดยิ่งขี้น เนื่องจากอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางในอนาคต เช่น

     สัญญาณ Overbought หมายความว่า ราคาหุ้นได้เพิ่มสูงขึ้นมาก ให้ระวังว่าราคาหุ้นอาจจะมีการพักตัวชั่วคราว หรืออาจจะปรับตัวลดลงในอนาคต แต่ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นจะต้องปรับตัวลดลงจริง ๆ ในอนาคต

     สัญญาณ Oversold หมายความว่า ราคาหุ้นได้ลดลงมากแล้ว ให้ระวังว่าราคาหุ้นอาจจะมีการเด้งขึ้นชั่วคราว หรืออาจจะปรับตัวสูงขึ้นขึ้นในอนาคต แต่ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นจะต้องปรับตัวขึ้นจริง ๆ ในอนาคต

     สัญญาณ Bullrish Divergence หมายความว่า Momentum ของราคาหุ้นในทิศทางขาลง เริ่มอ่อนแรง ให้ระวังว่าราคาหุ้นอาจจะมีการเด้งขึ้นชั่วคราว หรืออาจจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต แต่ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นจะต้องปรับตัวขึ้นจริง ๆ ในอนาคต

     สัญญาณ Bearish Divergence หมายความว่า Momentum ของราคาหุ้นในทิศทางขาขึ้น เริ่มอ่อนแรง ให้ระวังว่าราคาหุ้นอาจจะมีการพักตัวชั่วคราว หรืออาจจะปรับตัวลดลงในอนาคต แต่ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นจะต้องปรับตัวลดลงจริง ๆ ในอนาคต

ข้อสังเกตเพิ่มเติมของ RSI

     มีข้อสังเกตเพิ่มเติม 2 ข้อของกราฟ RSI ที่เกี่ยวข้องกับทิศทางแนวโน้มของกราฟราคาหุ้นที่แด๊ดดี้อยากแนะนำ คือ

1) สัญญาณ Overbought และ Oversold จะใช้งานได้ดีเมื่อกราฟราคาหุ้นมีทิศทางของแนวโน้มเป็นแบบ Sideways และจะใช้งานได้ไม่ดีถ้ากราฟราคาหุ้นมีทิศทางของแนวโน้มที่แข็งแกร่ง และชัดเจน เพราะในกรณีที่กราฟราคาหุ้นมีแนวโน้มอย่างชัดเจนและแข็งแกร่ง RSI จะส่งสัญญาณ Overbought หรือ Oversold อย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยที่กราฟราคาหุ้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางของแนวโน้มเลย จึงเป็นที่มาของข้อแนะนำให้ตัดสินใจลงมือซื้อขายหุ้นจากกราฟราคาหุ้นไม่ใช่สัญญาณจาก RSI


รูปตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าถ้ากราฟราคาหุ้นมีทิศางแนวโน้มขาขึ้นชัดเจนแข็งแกร่ง RSI สามารถอยู่ในเขต Overbought ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน


2) ถ้ากราฟราคาหุ้นมีทิศทางแนวโน้มเป็นขาขึ้นแบบชัดเจน RSI มักจะ มีค่าอยู่ระหว่าง 40-80 เนื่องจากในช่วงที่ทิศทางของราคาหุ้นเป็นขาขึ้นชัดเจนนั้น พฤติกรรมของคนในตลาดส่วนใหญ่ ควรจะไม่อยากขายหุ้นมากนัก ถึงแม้จะมีบางช่วงที่ราคาหุ้นมีการพักฐานแต่ก็พักฐานได้ไม่นาน ดังนั้น RSI จึงมักจะยังปรับตัวลดลงไม่มาก (RSI มักจะไม่ต่ำกว่า 40 เพราะ หุ้นทิศทางขาขึ้น Momentum ควรให้มุมมองเชิงบวก)
     ถ้ากราฟราคาหุ้นมีทิศทางแนวโน้มเป็นขาลงแบบชัดเจน RSI มักจะ มีค่าอยู่ระหว่าง 20-60 เนื่องจากในช่วงที่ทิศทางของราคาหุ้นเป็นขาลงชัดเจนนั้น พฤติกรรมของคนในตลาดส่วนใหญ่ ควรจะไม่อยากซื้อหุ้นมากนัก ถึงแม้จะมีบางช่วงที่ราคาหุ้นมีการปรับตัวสูงขึ้นแต่ก็เด้งขึ้นได้ไม่นาน ดังนั้น RSI จึงมักจะยังปรับตัวขึ้นไม่มาก (RSI มักจะไม่สูงกว่า 60 เพราะ หุ้นทิศทางขาลง Momentum ควรให้มุมมองเชิงลบ)


ในหลาย ๆ ครั้ง ถ้าผมเชื่อว่าหุ้นน่าจะอยู่ในช่วงแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงอย่างชัดเจน ผมมักจะใช้ระดับ RSI 40-50 ในการหาจังหวะซื้อหุ้น ตอนที่หุ้นมีการปรับฐานในช่วงแนวโน้มขาขึ้น และจะใช้ระดับ RSI ที่ 50-60 ในการหาจังหวะขายหุ้นตอนที่หุ้นมีการเด้งขึ้นชั่วคราวในช่วงแนวโน้มขาลง



รูปตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าช่วงที่หุ้นมีทิศทางแนวโน้มขาขึ้นชัดเจน ราคามักจะปรับฐานเสร็จที่ RSI 40-50 และในช่วงที่หุ้นมีทิศทางแนวโน้มขาลงชัดเจน ราคาหุ้นมักจะเด้งไปถึงระดับ RSI 50-60 แล้วลงต่อ

   
สุดท้ายย้ำอีกสักรอบว่า การลงมือซื้อขายหุ้น ต้องตัดสินใจจากกราฟราคาหุ้นเท่านั้น ใช้ RSI หรือ Indicators เป็นตัวช่วยสนับสนุนการตัดสินใจซื้อขายเท่านั้น

หน้า: 1 [2]
SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums