forex Supply zone กับการเทรด คืออะไร ใช้อย่างไร

อ่าน 1829 ครั้ง

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

การหาจุด Supply zone ที่ดี

ตามหลักก่อนที่ราคาจะปรับตัวขึ้นในรอบใหญ่นั้น ต้องมีนักลงทุนรายใหญ่หรือ “Big players” ที่รู้ข้อมูลบางอย่าง และเข้าสะสม Position ก่อนที่จะดันราคาขึ้นไป โดยการเข้าของพวกนี้จะไม่สามารถเข้าภาพในไม้เดียวได้ ต้องอาศัยการสะสมของให้ครบก่อนที่จะพาราคาปรับตัวขึ้น เรียนว่าช่วง Accumulation zone

         ในช่วงนี้ราคาปรับตัวขึ้นจาก Accumulation zone นั้น คนซื้อในช่วงดังกล่าวยังคงถือ Position ซื้อไว้อยู่ ซึ่งสามารถใช้หลักการ Supple และ Demand ประกอบการเทรดได้ ซึ่งเทรดเดอร์ควรหาช่วงที่เป็น Supply zone ที่ดี เพื่อหาจังหวะการเข้าซื้อ เพื่อเล่นตาม Big players

 




ลักษณะ Supply zone ที่ดี ต้องประกอบด้วย

1) ความผันผวนปานกลาง : ในช่วงที่ความผันผวนมากอาจทำให้ราคาหลุดช่วงดังกล่าวได้ง่าย

2) เวลาสั้น : Supply zone  ที่ดีควรเกิดในช่วงเวลาอันสั้น

3) Break หลอก เป็นช่วงที่ราคาตบหลุด Low ก่อนหน้า แล้วยื้อสักพักหนึ่ง ก่อนที่จะดีดตัวขึ้นใหม่ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ Big players เข้ามาเก็บของอีกครั้ง โดยเป็นการให้รายย่อย Stop loss คลายของออกมา แล้วค่อยดันราคาขึ้นรอบใหม่

4) เป็นจุดที่ยังไม่ถูกทำลาย : คือไม่ควรนับรวมบริเวณที่ผ่านไปนานแล้ว ให้ดูบริเวณรอบล่าสุดที่ผ่านมา ว่าบริเวณที่ยังไม่เคยถูกลบล้าง ถ้าหากถูกลบล้างไปนานแล้วบริเวณนั้นก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะ Position ของเก่าที่ Big players ถือ กับของใหม่ เงื่อนไขแตกต่างกัน (อย่างเช่นไปดูกราฟย้อนหลังเป็น 10 ปี)

 

Supply zone กับการเทรด คืออะไร
 

ต้องเข้าใจหลักการเคลื่อนไหวของราคาก่อนว่า การที่ราคาขึ้นนั้นมาจาก แรงซื้อ มากกว่า แรงขาย คือ ซื้อ มากกว่า ขาย ในแนวโน้มขาขึ้นที่นิยมเรียกกันว่าช่วง Accumulation หรือ Demand zone ส่วนในช่วงที่ แรงขาย มากกว่า แรงซื้อ ในแนวโน้มขาลงเรียกว่าช่วง Distribution หรือ Supply zone

 

   หลัก Supple และ demand อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของราคา ถ้าคนต้องการซื้อสิ่งของ สิ่งหนึ่งเยอะ และปริมาณสิ่งของนั้นน้อยกว่าความต้องการ ราคาสิ่งของนั้นก็จะขยับขึ้นเพื่อให้เหมาะสม ส่วนในทางตรงกันข้าม ถ้าสิ่งของนั้นคนต้องการขาย และปริมาณสิ่งของนั้นเยอะกว่าความต้องการมาก ก็จะทำให้ราคาของสิ่งของนั้นปรับตัวลดลง

Demand หมายถึง "อุปสงค์" นั่นก็คือความต้องการ และสำหรับตลาดทุนมันก็คือ ความต้องการซื้อ ส่วน Supply หมายถึง "อุปทาน" ซึ่งก็คือ ความต้องการขาย
และในบทความนี้เราจะกล่าวถึงวิธีการเทรดโดยใช้หลักการดู Demand & Supply ซึ่งหลายคนอาจยังสงสัยถึงวิธีการดู ว่าจะดูอย่างไร หายังไง มันต่างจากแนวรับแนวต้าน (Support & Resistance) อย่างไร และจะใช้อย่างไรให้ได้ผล
การใช้งานแนวรับแนวต้านนั้น เราจะวางตามสวิง ไม่ว่าจะแนวนอนหรือแนวเฉียง ซึ่งเป็นเรื่องเบสิคที่ฝึกไม่ได้ยาก แต่เมื่อใช้บ่อย ๆ ก็จะมีความชำนาญมากขึ้น สามารถเลือกวางในแนวที่มีนัยสำคัญได้ดีขึ้น แต่ในการหา Demand & Supply นั้นต่างออกไป เราจะไม่มองเป็นแนวแต่เราจะมองเป็นโซนแทน ซึ่งถ้ารู้จักคัดกรองโซนว่าอันไหนมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ใช้ให้ถูกต้องก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการหาตำแหน่งเข้าเทรดได้ดีขึ้น
อย่างที่กล่าวข้างต้น "Demand คือความต้องการซื้อ" และ "Supply คือความต้องการขาย" แต่ทุกวันก็มีการซื้อการขายกันตลอดทั้งวัน แล้วจะดูยังไงว่าตรงไหนคือโซน ซึ่งอันที่จริงแล้ว หลักการหาดีมานซัพพลายนั้นไม่ยากเลย เริ่มด้วยการมองหาจุดที่มีแรงซื้อ (Demand) และจุดที่มีแรงขาย (Supply) ที่แข็งแกร่ง และมองหาต้นกำเนิดของแรงซื้อขายเพื่อวางโซน มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1. มองหาแท่งเทียนแท่งใหญ่ ๆ ยาว ๆ ซึ่งเป็น Strong Move ซึ่งแท่งเทียนลักษณะนี้มีความหมายในตัวเองว่า เป็นแท่งเทรนด์ที่แข็งแกร่ง และต้องแข็งแกร่งกว่าแท่งเทียนปรกติ (ใหญ่กว่าแท่งเทียนที่วิ่งตามเทรนด์แบบปรกติประมาณ 3 เท่าหรือมากกว่านั้น)
2. มองที่จุดเริ่มต้นของแท่ง Strong Move และมองหาแท่งเทียนที่มีความหมายถึงการไซด์เวย์ ได้แก่พวก แท่งเทียนที่มีบอดี้เล็ก ๆ ทั้งหลาย รวมถึงพวกแท่งพินบาร์ต่าง ๆ (ถ้าเป็นพวกพินบาร์ก็จะยิ่งดี เพราะไส้เทียนของพินบาร์ ได้บ่งบอกถึงการ Rejection ในตัวเองอยู่แล้ว ) ด้วย ซึ่งตรงนี้สำคัญ เพราะเราจะใช้ระยะของแท่งเทียนเล็ก ๆ เหล่านี้เพื่อเป็นโซนของดีมานและซัพพลาย หรือที่เรียกกันว่า "Base" นั่นเอง ซึ่งในส่วนของ Base นี้ จะมีเพียงแท่งเทียนแท่งเดียว หรือหลายแท่งก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน 6 แท่ง และจำนวนแท่ง Base ยิ่งน้อยก็ยิ่งดี
เมื่อเราเจอสิ่งที่เราตามหาแล้วก็ต้องทำการวางโซนเพื่อจะใช้ประโยชน์ในอนาคต โดยการใช้ Rectangle ที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานช่วยอำนวยความสะดวกของ MT4 ซึ่งการพิจารณาว่าจะวางจากตรงไหนถึงตรงไหนนั้นก็เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เช่นกัน บางคนอาจวางโซนแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย อยู่ที่วิจารณญาณและความชำนาญของแต่ละคน เบื้องต้นนี้สำหรับมือใหม่ให้ลองหัดใช้หลักการวางแบบโซนแบบง่าย ๆ มีดังนี้คือ
1. .ในกรณีของทั้ง Demand (ด้านล่าง) และ Supply (ด้านบน) หากแท่งเทียนหรือชุดแท่งเทียนที่เป็น base ไม่มีไส้เทียนหรือมีเพียงนิดหน่อย ก็ใช้ Rectangle ลากคลุมทั้งตัวและไส้เทียนได้เลย โดยลากยาวไปทางขวาของกราฟ เพื่อรอการใช้งานในอนาคตต่อไป
2. หากเป็น Demand และแท่งเทียนหรือชุดแท่งเทียนที่เป็น base นั้น มีไส้ เราจะลากจากไส้ด้านล่างมาจนถึงคลุมตัวบอดี้ของแท่ง base เท่านั้น หากมีไส้ด้านบน เราจะไม่เอา และในทางตรงกันข้าม หากเป็น Supply เราจะเอาเฉพาะไส้ด้านบนจนคลุมตัวบอดี้เท่านั้น ไม่เอาไส้ด้านล่าง
วิธีการหาและวางโซนก็มีง่าย ๆ เพียงเท่านี้ค่ะ ต่อมาก็มาถึงการคัดกรองซึ่งตรงนี้ขอกล่าวถึงชื่อเรียกและความหมายของโซนแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. Fresh หมายถึงโซนที่เพิ่งเกิด ยังสดใหม่อยู่ ยังไม่เคยถูกทดสอบมาก่อนเลย
2. Non-Fresh หมายถึงโซนที่เคยถูดทดสอบแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง
3. Used up หมายถึงโซนที่ราคาเคยถูกทดสอบหลายครั้งแล้ว ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของโซนอ่อนลงด้วย เพราะเมื่อราคายิ่งวิ่งมาทดสอบหลายครั้ง ก็หมายความว่านักลงทุนพยายาที่จะดันราคาผ่านโซนนั้นไปให้ได้ ทำให้มีโอกาสที่ราคาจะทะลุโซนมากขึ้นไปด้วย (ข้อนี้จะเหมือนหลักการใช้แนวรับแนวต้าน นั่นก็คือหากราคายิ่งมาทดสอบแนวมากแค่ไหน ก็มีโอกาสมากขึ้นเท่านั้นที่ราคาจะทะลุแนว เหมือนกับเวลาที่เราพยายามทำลายกำแพง เราก็จะทุบย้ำ ๆ เข้าไปที่กำแพงเพื่อให้มันทะลุ ดังนั้น ตามตำราเก่าที่บอกว่า แนวหรือโซน ยิ่งทูกทดสอบมากยิ่งแข็งแกร่งนั้น ไม่จริงค่ะ ลืมไปได้เลย )
4. Original หมายถึงโซนที่เกิดใหม่ ในจุดที่ไม่ซ้ำกับโซนเก่า ๆ ในอดีตเลย
5. Original and Fresh หมายถึงโซนที่เกิดใหม่ ไม่ซ้ำกับโซนเก่า ๆ และยังไม่เคยถูกทดสอบด้วย
เริ่มมึนรึยังคะ คงยังนะคะจำไม่ยาก ชื่อและความหมายตรงตัว มาต่อกันค่ะ ทีนี้มาดูกันต่อว่า Demand & Supply มีแบบไหนกันบ้าง
1. Rally Base Rally (RBR) มีลักษณะเป็นเทรนด์ขาขึ้นที่มาพักตัว (Base) สร้างโซน Demand ทิ้งไว้แล้วราคาก็วิ่งขึ้นต่อไปตามเทรนด์เดิม
2. Rally Base Drop (RBD) มีลักษณะเป็นเทรนด์ขาขึ้นที่พักสร้างโซน Supply แล้วราคากลับตัวลง
3. Drop Base Drop (DBD) มีลักษณะเป็นเทรด์ขาลงที่หยุดพักสร้างโซน Supply แล้วราคาวิ่งลงต่อตามเทรนด์เดิม
4. Drop Base rally (DBR) มีลักษณะเป็นเทรนด์ขาลงที่หยุดพักตัวสร้างโซน Demand แล้วราคาดีกลับตัวขึ้น
ทีนี้เกี่ยวกับ Action กันบ้าง ว่ามีแบบไหนบ้าง แต่ละแบบควรเล่นอย่างไร
First touch หมายถึง การทดสอบโซน (Fresh) ครั้งแรก ซึ่งจะมีโอกาสสูงที่สุดที่ราคาจะดีดตัวกลับ เป็นสิ่งที่ดิฉันชอบมาก โดยเฉพาะถ้าเป็น ฝั่งเดียวกับเทรนด์ก็ยิ่งดี นั่นหมายถึงกรณีที่เป็น DBD, RBR (ราคาวิ่งมาเป็นเทรนด์แล้วหยุดสร้าง Base เป็นโซน (Fresh) แล้ววิ่งไปต่อซักระยะแล้วกลับมาทดสอบโซนอีกครั้ง (First Touch)ก่อนไปต่อตามเทรนด์เดิม
Swap Zone หมายถึง การเปลี่ยนหน้าที่ของโซน โดยใช้หลักการเดียวกันกับการใช้แนวรับแนวต้าน (ต้านกลายเป็นรับ รับกลายเป็นต้าน) คือ เมื่อราคาทะลุโซนไปได้แล้วอย่างสมบูรณ์ และราคากลับมาทดสอบโซนเดิมนั้นอีก โซนนั้นจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นตรงข้าม นั่นคือ Demand กลายเป็น Supply และ Supply จะกลายเป็น Demand แทน ซึ่งที่เป็นจุดเด่นคือ ช่วงที่ราคาจะทะลุโซน ต้องทะลุไปเลย ไม่สร้างมาจอดสร้างโซนใหม่ก่อนทะลุ
Remove Zone หรือ Clear Zone เป็นลักษณะของโซนที่ถูกกำจัด เมื่อเกิดแล้วราคาจะไปยาว ๆ ไม่กลับมาทดสอบอีกแล้ว เราก็รอไหลตามเทรนด์ได้เลย ลักษณะเด่นคือ ก่อนที่ราคาจะทะลุโซนนั้นๆ จะสร้างโซนใหม่ก่อน กรณีที่โซนนี้นเป็น Demand ราคาก็จะวิ่งมาชะงักที่โซนก่อน แล้วสร้าง โซน Supply ใหม่ ก่อนที่จะวิ่งทะลุโซนไป และในทางตรงกันข้าม ถ้าโซนนั้นเป็น Supply ราคาก็จะสร้าง Demand ก่อนที่จะวิ่งทะลุไป
Demand & Supply จะใช้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหากใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ
* การเลือกเทรดจากโซนที่เป็นฝั่งเดียวกับแนวโน้ม จะเพิ่มโอกาสการทำกำไรได้มากขึ้น ซึ่งส่วนมากแล้วจะไม่ต้องนั่งลุ้นรอนาน ออเดอร์ก็จะบวกได้ไม่ยาก และยังมีโอกาสได้รันกำไรยาวด้วย หากว่าเทรนด์เพิ่งกลับตัวมาได้ไม่นาน (ถ้าเข้าเทรดได้ในเวฟ 3 ของ Elliott Wave จะมีโอกาสรันกำไรได้ยาวจนเวฟ 5)
* การคัดกรองคุณภาพแท่งเทียนที่เป็น Base อย่างที่กล่าวข้างต้น ถ้าเป็นพวกพินบาร์ที่มีความหมายถึงการกลับตัวแบบแท่งเดี่ยวได้อย่าง Hammer, Invert Hammer , Hanging Man, Shooting Star ก็จะทำให้โซนนั้นมีคุณภาพมากขึ้น
* ยิ่ง Time Frame ใหญ่ก็ย่ิงมีนัยสูงขึ้น การใช้ Demand & Supply ใน TF เล็ก ๆ ก็ใช้ได้ แต่มีโอกาสผิดพลาดสูงกว่า และระยะในการทำกำไรก็สั้นกว่าด้วย หากจะใช้สำหรับการ Scalping แนะนำว่าอย่าต่ำกว่า TF 15m และเน้นเล่นเฉพาะ First Touch และจะดีกว่าถ้าเทรดฝั่งเดียวกับเทรนด์
* หากโซนเกิดตามตามจุดกลับตัวของ Chart Pattern ก็จะยิ่งมีโอกาสสูงขึ้นที่ราคาจะกลับตัวได้ง่าย และแรง อย่างเช่น เกิดที่ขาแรกของ Double Top/ Bottom เราก็สามารถวางแผนและดักรอเข้าที่ขาสองได้ โดยเพียงดักรอแท่งเทียนกลับตัวซักแท่งก็ตัดสินใจเข้าเทรดได้ไม่ยาก เป็นต้น


https://www.youtube.com/watch?v=wxq96UIF8X0
  • นักศึกษา22

  • ***
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 0 | กระทู้ 201
  • เพศ: ไม่ระบุ
วิธีเปิดบัญชี forex exness อย่างละเอียด 2023 ทีละขั้นตอน | วิธีสมัคร Forex Update 2566



 

SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums