forex การวิเคราะห์ทางเทคนิค คืออะไร ใช้อย่างไร

อ่าน 1314 ครั้ง

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

วันนี้เรามาดูกันกับเรื่อง forex การวิเคราะห์ทางเทคนิค คืออะไร ใช้อย่างไร

การวิเคราะห์ทางเทคนิคในตลาด Forex (Forex Technical)
                หากต้องการประสบความสำเร็จในตลาด Forex และอยากขนเงินเข้าประเทศครั้งละมากๆละก็ “คุณต้องอ่านตลาด Forex ให้ขาด” นั่นก็คือต้องมีเครื่องมือในการช่วยอ่านตลาด ในตลาด Forex มีหลักการอ่านตลาดอยู่สองแขนงใหญ่ๆ เช่นเดียวกับตลาดหุ้น คือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน กับการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งในส่วนนี้จะอธิบายการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Forex Technical Analysis)
การวิเคราะห์ทางเทคนิคคือ การหาจุดซื้อขายโดยใช้ข้อมูลของอัตราแลกเปลี่ยนในอดีตมาสร้างเป็นกราฟแผนภูมิ เพื่อดูแนวโน้มต่างๆโดยไม่สนใจข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ เช่น อัตราดอกเบี้ย ข้อมูลการว่างงาน เป็นต้น
แผนภูมิที่นักเทรด Forex นิยมใช้กันมีทั้งหมด 3 แบบคือ
1. แผนภูมิแบบเส้น (Line Chart) คือ การนำราคาปิด มาสร้างเป็นกราฟต่อเนื่องกันไป โดยไม่นำราคาเปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุดมาแสดง



2. แผนภูมิแบบแท่ง (Bar Chart) คือ แผนภูมิแบบแท่งที่ประกอบด้วย ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุด



3. แผนภูมิแบบแท่งเทียน (Candlesticks Chart) มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ในอดีตใช้ในการวิเคราะห์การขึ้นลงของราคาพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากแผนภูมิประเภทนี้นำเสนอข้อมูลด้านราคาอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุด และด้วยความรวดเร็วในการแสดงสัญญาณต่าง ๆ จึงทำให้การวิเคราะห์แบบแท่งเทียนเป็นที่นิยมสูงสุดในปัจจุบัน



                หลังจากที่ได้เรียนรู้ถึงลักษณะแผนภูมิทั้งสามแบบไปแล้ว อยากให้คุณลองกลับไปถามตัวเองดูว่า ชอบมองกราฟแบบไหน และกราฟแบบไหนน่าจะเหมาะกับสไตล์การเทรด Forex ของตัวคุณ ใช้เวลากับตรงนี้ให้มาก เพราะเราจะอยู่กับมันไปอีกนาน โดยคนส่วนมากจะใช้การวิเคราะห์แบบแท่งเทียน ให้เลือกรูปแบบที่เหมาะกับตัวเอง ขอจบการอธิบายพื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคในตลาด Forex (Forex Technical Analysis) แต่เพียงเท่านี้

ทฤษฎีพื้นฐาน
กราฟ

มีกราฟหลัก 3 ชนิดที่ใช้กันในการวิเคราะห์ทางเทคนิค:

กราฟเส้น (Line Chart):
กราฟเส้นเป็นการแสดงประวัติอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงินในเวลาที่ผ่านมาแบบกราฟิก เส้นถูกสร้างขึ้นโดยการเชื่อมต่อราคาปิดประจำวันเข้าด้วยกัน

กราฟแท่ง (Bar Chart):
กราฟแท่งเป็นการแสดงลักษณะการเคลื่อนไหวด้านราคาของคู่สกุลเงิน โดยสร้างขึ้นจากแท่งแนวตั้งในช่วงเวลาระหว่างวันที่กำหนด (เช่น ทุก 30 นาที) แต่ละแท่งมี 'จุดดู' 4 ตำแหน่ง โดยแทนอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเปิดตลาด ปิดตลาด ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุด (OCHL) สำหรับช่วงเวลา

กราฟแท่งเทียน (Candlestick Chart):
กราฟแท่งเทียนเป็นกราฟชนิดหนึ่งที่แยกออกมาจากกราฟแท่ง ยกเว้นว่ากราฟแท่งเทียนแสดงราคา OCHL เป็น 'แท่งเทียน' ที่มี 'ไส้' ที่ปลายแต่ละด้าน เมื่อราคาเปิดอยู่สูงกว่าราคาปิด แท่งเทียนจะมีลักษณะ 'ตัน' เมื่อราคาปิดอยู่สูงกว่าราคาเปิด แท่งเทียนจะมีลักษณะ 'กลวง'

ระดับแนวรับและแนวต้าน (Support & Resistance Levels)

การใช้การวิเคราะห์ด้านเทคนิคอย่างหนึ่งคือการหาระดับ 'แนวรับ' และ 'แนวต้าน' แนวคิดพื้นฐานคือ ตลาดจะมีแนวโน้มที่จะเทรดกันที่ราคาสูงกว่าระดับแนวรับและต่ำกว่าระดับแนวต้าน ระดับแนวรับแสดงถึงระดับราคาที่แน่นอนซึ่งค่าเงินจะตัดผ่านลงไปต่ำกว่าราคานี้ได้ยาก ถ้าราคาไม่สามารถเคลื่อนที่ลงไปต่ำกว่าจุดที่แน่นอนนี้ได้หลาย ๆ ครั้ง รูปแบบเส้นตรงจะปรากฏขึ้น

ในทางตรงข้าม ระดับแนวต้านแสดงถึงระดับราคาที่แน่นอนซึ่งค่าเงินจะตัดผ่านขึ้นไปสูงกว่าราคานี้ได้ยาก การที่ราคาไม่สามารถเคลื่อนที่ขึ้นไปสูงกว่าจุดนี้ได้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะสร้างรูปแบบเส้นตรงขึ้น

ถ้าราคาเคลื่อนที่ทะลุแนวรับหรือแนวต้าน ก็คาดหมายว่าตลาดจะเคลื่อนที่ต่อเนื่องในทิศทางนั้น ระดับเหล่านี้หามาจากการวิเคราะห์กราฟและโดยการประเมินถึงจุดซึ่งตลาดชนแนวรับหรือแนวต้านซึ่งไม่สามารถผ่านได้ในอดีต

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages)

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งสำหรับการติดตามแนวโน้มราคา ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด คือค่าเฉลี่ยของราคาในช่วงเวลาที่กำหนด เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วัน ถูกคำนวณโดยการบวกราคาปิดย้อนหลัง 10 วัน จากนั้นหารด้วย 10 ในวันต่อมา ราคาที่เก่าที่สุดจะถูกทิ้งไป และราคาปิดของวันใหม่จะถูกเพิ่มเข้ามาแทน จากนั้นก็จะหารผลรวมของ 10 วันนี้ด้วย 10 ด้วยการดำเนินการในลักษณะนี้ ค่าเฉลี่ยจะ 'เคลื่อนที่' ในแต่ละวัน

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นวิธีการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นในการเข้าหรือออกจากตลาด เพื่อช่วยหาจุดเข้าและจุดออก บ่อยครั้งที่จะนักวิเคราะห์จะวางทับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ลงบนกราฟแท่ง เมื่อตลาดปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยทั่วไปจะแปลความหมายว่าเป็นสัญญาณซื้อ ในทำนองเดียวกัน สัญญาณขายจะเกิดขึ้นเมื่อตลาดปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เทรดเดอร์บางคนชอบที่จะมองเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ให้เปลี่ยนทิศทางจริง ๆ ก่อนที่จะยอมรับว่านั่นเป็นสัญญาณซื้อหรือสัญญาณขาย

ความไวของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และจำนวนของสัญญาณซื้อและขายที่กราฟสร้างขึ้น มีความสัมพันธ์โดยตรงกับช่วงเวลาที่เลือกสำหรับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 วันจะมีความไวมากกว่าและจะให้สัญญาณซื้อและขายมากกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 วัน ถ้าค่าเฉลี่ยไวเกินไป เทรดเดอร์จะพบว่าตัวเองกระโดดเข้าและออกจากตลาดบ่อยเกินไป ในทางตรงข้าม ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ไม่ไวเพียงพอ เทรดเดอร์ก็เสี่ยงที่จะพลาดโอกาส เนื่องจากพบสัญญาณซื้อและขายสายเกินไป

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับเทรดเดอร์ที่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค

เส้นแนวโน้ม (Trend Line)

เส้นแนวโน้มช่วยในการหาแนวโน้ม รวมทั้งบริเวณที่มีศักยภาพในการเป็นแนวรับและแนวต้าน เส้นแนวโน้มเป็นเส้นตรงที่เชื่อมต่อจุดยอดที่สำคัญอย่างน้อย 2 จุด หรือเป็นร่องในพฤติกรรมราคาของสกุลเงินอ้างอิง ต้องไม่มีพฤติกรรมราคาอื่นที่ทะลุเส้นแนวโน้มระหว่าง 2 จุด ในลักษณะนี้ เส้นแนวโน้มจะสร้างแนวรับหรือแนวต้านซึ่งราคาเปลี่ยนทิศทาง (จุดยอดและร่อง) และไม่มีการทะลุ ยิ่งเส้นแนวโน้มยาวขึ้น ก็จะยิ่งมีความถูกต้องมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าราคาแตะเส้นหลายครั้งโดยไม่ทะลุ

การทะลุเส้นแนวโน้มระยะยาวอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเกิดการกลับตัวของแนวโน้ม อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรรับประกันว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น เช่นเดียวกับตัวชี้วัดทั้งหมดของการกลับตัวของแนวโน้มราคา ไม่มีวิธีที่บอกล่วงหน้าได้ว่าราคาในอนาคตจะไปทางไหน

จุดต่ำสุดสอง (สาม) จุด (Double (Triple) Bottoms) และจุดสูงสุดสอง (สาม) จุด (Double (Triple) Tops)

รูปแบบจุดต่ำสุดสองหรือสามจุด (double หรือ triple bottom) เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีสำหรับคำสั่งขายล่วงหน้า (sell-stop order) ทางเทคนิค โดยปกติคำสั่งขายล่วงหน้า (sell-stop order) ดังกล่าวจะถูกส่งออกไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาต่ำสุดก่อนหน้า ในทำนองเดียวกัน รูปแบบจุดสูงสุดสองหรือสามจุด (double หรือ triple top) เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีสำหรับคำสั่งซื้อล่วงหน้า (buy-stop order) ในราคาที่สูงกว่าราคาสูงสุดก่อนหน้า

การปรับฐาน (Retracement)

เมื่อตลาดเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างรวดเร็ว บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนทิศทาง เนื่องจากนักลงทุนในตลาดทำกำไรออกมา ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการปรับฐาน (Retracement) บ่อยครั้ง นี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งในระดับราคาที่น่าสนใจมากขึ้น ก่อนที่ราคาจะวิ่งตามแนวโน้มใหญ่ต่อไป

การใช้สัดส่วนฟิโบนัชชี (Fibonacci) เป็นวิธีทั่วไปในการวัดการปรับฐาน

การวิเคราะห์ทางเทคนิค
หลังจากที่เข้าใจแล้ว แนวคิดของการเทรด FX นั้นง่าย โดยที่สกุลเงินหนึ่งเป็นสินค้าที่มีความผันผวนเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง โดยการซื้อ (หรือขาย) สกุลเงิน เทรดเดอร์ FX มีเป้าหมายที่จะทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน FX จุดดีของ FX ก็คือต้นทุนในการเทรดที่ต่ำมาก นั่นหมายความว่า การเทรดสามารถถูกดำเนินการในระยะเวลาที่สั้นมาก ๆ เพียงไม่กี่วินาที หรือจะเทรดแบบระยะยาวก็ได้

สิ่งที่ควรดูในการวิเคราะห์ทางเทคนิค
ค้นหาแนวโน้ม

หนึ่งในสิ่งแรก ๆ ที่คุณจะได้ยินในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก็คือภาษิตต่อไปนี้: 'แนวโน้มคือเพื่อน' การหาแนวโน้มหลักจะช่วยให้คุณทราบทิศทางตลาดโดยรวมและทำให้คุณมองเห็นภาพได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเคลื่อนไหวระยะสั้นมีแนวโน้มที่จะบดบังภาพรวม กราฟรายสัปดาห์และรายเดือนมีความเหมาะสมกว่าสำหรับการหาแนวโน้มระยะยาว ทันทีที่คุณพบแนวโน้มในภาพรวม คุณจะสามารถเลือกแนวโน้มของระยะเวลาที่คุณต้องการเทรดได้ ผลก็คือ คุณสามารถซื้อในขณะที่ราคาย่อลงระหว่างแนวโน้มขาขึ้น และขายตอนที่ราคาขยับขึ้นระหว่างแนวโน้มขาลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวรับและแนวต้าน

ระดับแนวรับและแนวต้านเป็นจุดซึ่งกราฟจะมีแรงซื้อหรือขายออกมามากกว่าปกติ โดยปกติระดับแนวรับเป็นจุดต่ำในแพทเทิร์นกราฟใด ๆ (รายชั่วโมง รายสัปดาห์ หรือรายปี) ในขณะที่ระดับแนวต้านเป็นจุดสูง หรือจุดสูงสุดของแพทเทิร์นกราฟ จุดเหล่านี้ถูกระบุว่าเป็นแนวรับและแนวต้านเมื่อกราฟแสดงให้เห็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง ถ้าดูแล้วไม่น่ามีการทะลุแนวรับ/แนวต้าน การซื้อ/ขายใกล้ระดับนี้จะได้ราคาดีที่สุด

ทันทีที่กราฟทะลุแนวเหล่านี้ แนวเหล่านี้มักจะเปลี่ยนเป็นด้านตรงข้าม ดังนั้น ในตลาดขาขึ้น ระดับแนวต้านที่มีการทะลุก็จะกลายเป็นแนวรับสำหรับแนวโน้มที่กำลังขึ้น ส่วนในตลาดขาลง ทันทีที่กราฟทะลุแนวรับ จุดนี้ก็จะเปลี่ยนไปเป็นแนวต้าน

เส้นและช่วงราคา

เส้นแนวโน้มเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แต่ก็เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการยืนยันทิศทางของแนวโน้มตลาด ลากเส้นเอียงขึ้นโดยเชื่อมต่อจุดต่ำสุดที่ติดกันอย่างน้อยสองจุด โดยธรรมชาติ จุดที่สองต้องอยู่สูงกว่าจุดแรก ความต่อเนื่องของเส้นช่วยในการกำหนดเส้นทางที่ตลาดจะเคลื่อนที่ไป แนวโน้มขาขึ้นเป็นวิธีการที่เป็นรูปธรรมในการหาเส้น/ระดับแนวรับ ในทางตรงข้าม เส้นเอียงลงจะถูกลากโดยการเชื่อมต่อจุดสองจุดหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน ความถูกต้องของเส้นแนวโน้มมีความสัมพันธ์กับจำนวนจุดที่ใช้เชื่อมต่อ อีกอย่างหนึ่งคือ จุดต่าง ๆ ต้องไม่อยู่ใกล้กันเกินไป ช่วงราคา (channel) ถูกกำหนดโดยเส้นราคาที่ลากโดยเส้นแนวโน้มที่ขนานกันสองเส้น เส้นต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นแนวกั้นราคาขาขึ้น หรือขาลง คุณสมบัติที่คุ้นเคยกันดีของช่วงราคาสำหรับการเชื่อมต่อจุดของเส้นแนวโน้ม คือราคาจะเคลื่อนไหวระหว่างจุดที่เชื่อมต่อกันสองจุดของเส้นตรงข้าม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13/มิ.ย./2017 09:20:01 โดย นักศึกษา22 »
  • นักศึกษา22

  • ***
  • สถานะ: ออฟไลน์
  • พลังน้ำใจ: 0 | กระทู้ 201
  • เพศ: ไม่ระบุ
วิธีเปิดบัญชี forex exness อย่างละเอียด 2023 ทีละขั้นตอน | วิธีสมัคร Forex Update 2566



 

SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums