แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Lolox101

หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17
211
การใช้ Ichimoku , Ichimoku คือ
Ichimoku เป็น Indicator ตัวหนึ่งที่อยู่ในโปรแกรม MT4 เมื่อเปิด Ichimoku ขึ้นมา หลายๆคนคงจะงงกับเส้นต่างๆซึ่งอยู่บน Chart เพราะIchimoku มีส่วนประกอบอยู่หลายเส้นมากๆ ซึ่งส่วนประกอบของ Ichimoku มีดังนี้




1.Tenkan Sen (สีแดง )  Tenkan Sen แสดงค่าเฉลี่ยของราคาในระหว่างช่วงเวลาแรกจะกำหนดโดยผลรวมของค่าสูงสุดกับค่าต่ำสุดภายในช่วงเวลานี้ Tenkan Sen ถูกกำหนดโดย
Tenkan Sen =(Highest high +Lowest low)/2 คำนวณย้อนหลังไป 9 ครั้งในช่วงเวลานั้น(ค่าเริมต้นถูกตั้งค่าไว้ที่ 9 )
2.Kijun Sen (สีน้ำเงิน) Kijun Sen แสดงค่าเฉลี่ยของราคาในระหว่างช่วงเวลาที่สอง หรือ base line
ซึ่ง Kijun Sen คำนวณได้จาก (Highest high +Lowest low)/2 คำนวณย้อนหลังไป 26 ครั้งในช่วงเวลานั้น( ค่าเริมต้นถูกตั้งค่าไว้ที่ 26)
3.Senkou Span A (เส้นสีเหลือง) แสดงค่ากึ่งกลางของระยะระหว่างสองเส้นก่อนหน้านั้นถูก Shift ไปด้านหน้าโดยค่าของช่วงเวลาที่สอง(26) ซึ่ง Senkou Span A หาได้จาก
Senkou Span =(Tenkan Sen +Kijun Sen )/2 ถูก plot ไปข้างหน้า 26 ครั้ง ในช่วงเวลานั้น
4.Senkou Span B (เส้นสีขาว) แสดงค่าเฉลี่ยของราคาในระหว่างช่วงเวลาที่สาม ถูก shift ไปด้านหน้าโดยค่าช่วงเวลาครั้งที่สอง (highest high +Lowest)/2 คำนวณย้อนหลังไป 52 ครั้งในช่วงเวลานั้น (ค่าเริ่มต้นตั้งค่าไว้ที่ 52 )ถูก plot ไปด้านหน้า 26 ครั้ง
5. Chinkou Span หรือ Lagging Span (เส้นสีเขียว) Chinkou Span ถูก plot ย้อนหลัง 26 ครั้ง เส้นสีเขียว Chinkou Span แสดงโดยราคาปิดปัจจุบันถูก shift ย้อนหลังไป โดยหลักการทั่วไปของ Senkou Span คือ

เส้นประที่อยู่ภายใน Senkou Span คือ Cloud หรือที่เรียกกันว่า Kumo

ระยะระหว่างทั้งสองเส้นของ Senkou Span เป็นเส้นประไข่ปลาสีต่างๆ จะถูกเรียกว่า ก้อนเมฆ(Cloud)หรือเรียกว่า Kumo
เส้น Senkou Span ทั้งสองถูกดันไปข้างหน้าในช่วงเวลานั้นๆจะแสดงแนวรับและแนวต้านในอนาคต เมื่อราคาทะลุแนวรับที่เกิดจาก Senkou เส้นเหล่านี้ก็จะกลายเป็นแนวต้าน Senkou ไม่สามารถบอกเทรนได้แต่จะเป็นแนวรับแนวต้าน


- ถ้าราคาอยู่เหนือกลุ่มเมฆ  Senkou Span เส้นแรกจะเป็นแนวรับแรก( first support) และ Senkou Spanเส้นที่สองจะเป็นเส้นแนวรับที่สอง (second support)

- ถ้าราคาอยู่ต่ำกว่ากลุ่มเมฆ Senkou Span เส้นแรกจะเป็นแนวต้านแรก (First Resistance) และ Senkou Span เส้นที่สองจะกลายเป็นแนวต้านที่สอง(Second Resistance )
Ex1

Ex2

- ถ้าราคาอยู่ระหว่างสองเส้น Senkou Span นี้ แสดงว่าตลาดไซเวย์ ไม่มีแนวโน้ม เส้นด้านบนของ Senkou Span คือ แนวต้าน และเส้นด้านล่างของ Senkou Span คือ แนวรับ
Ex.1

Ex.2


นี่คือส่วนประกอบหลักๆ ของ Ichimoku แรกๆอาจจะยากหน่อยนะครับ พอดูไปเรื่อยๆ เราจะสามารถเข้าใจเส้นต่างๆที่อยู่ใน Ichimoku

โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/08/ichimoku_24.html

212
พูดคุยForexทั่วไป / Ichimoku forex
« เมื่อ: 30/ก.ค./2015 09:59:10 »
ระบบเทรดนี้ ผมยังไม่ได้ทดลองใช้นะครับ พอดีได้มาจากพี่ทัช (touch32999) เพื่อนลองโหลดไปใช้กันนะครับ แต่ดูโดยรวมแล้ว ถือว่าดีมากๆ มีสัญญาณให้เราด้วย

ขอบคุณผู้ค้นหาระบบเทรดนี้มาให้ครับ : พี่ทัด (touch32999)

โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/08/ichimoku.html

213
การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Ichimoku  ก่อนอื่นเราต้องจำชื่อแต่ละเส้นให้ได้ก่อนนะครับ ว่ามันมีลักษณะยังไง มีหลักการแบบไหน เมื่อมันอยู่รวมกันเราจะได้วิเคราะห์ถูก ว่าเส้นนี้คือเส้นอะไร มีความสำคัญอย่างไร

เมื่อทุกเส้นมารวมกันจะได้กราฟดังนี้


การเข้า Buy
1.เมื่อ Tenkan sen ตัด Kijun sen ขึ้นไป แล้วแท่งเทียนยืนอยู่เหนือ เส้นทั้งสอง
2. Tenkan sen , Kijun sen , และแท่งเทียน ต้องอยู่บน Senkou Span (kumo หรือ Cloud)
3. Chinkou span ตัด แท่งเทียนในอดีตขึ้นมา
Ex.1
อีกหนึ่งความลับของ Ichimoku ก็คือ การดูสัญญาณยืนยัน (Confirmation signal ) เราสามารถดูได้จาก เส้น chinkou span
- ราคามีการดีดกลับ จากขาลงกลายเป็นขาขึ้น แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่า มันจะขึ้นจริงหรือหลอก จุดสังเกตแรกที่จะสามารถบอกเราได้ว่ามันกำลังจะขึ้นก็คือ * จุดที่ Chinkou span ( Lagging line ) ตัดแท่งเทียน แล้วก็ตัด Senkou span A ขึ้นไป  ดังรูป



จุดยืนยันที่สองคือ  Chinkou span ตัด Senkou span B ขึ้นไป ดังรูป


การเข้า Sell ก็ทำตรงข้ามกับ Buy นะครับ
Ex. การเข้า Sell


ผมหวังว่าบทความที่ผมได้เขียนคงเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆชาวเทรดเดอร์ ทุกคนนะครับ เพื่อนๆสามารถนำ Ichimoku ไปประยุกต์กับ Indicators  ต่างได้นะครับ

โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/08/6-ichimoku.html

214
หลักการของ Chikou Span ที่อยู่ใน Ichimoku

Chinkou span ก็ถือ เส้นราคาที่แสดงราคาปิด แต่ถูก Shift ไปด้านหลัง Chikou span มีความสำคัญมากเพราะมันเป็นราคาปัจจุบันเพียงแค่ถูกเลื่อนไปอยู่ช้ากว่าราคาเท่านั้นเอง
กฎทั่วไปของ Chinkou span คือ
1. เมื่อ chinkou span ตัดแท่งเทียนขึ้นไป และอยู่เหนือแท่งเทียนนั้น แล้วราคามีการเคลื่อนที่ขึ้น แสดงว่า แนวโน้มกำลังจะขึ้น ดังรูปครับ

วงกลมที่ 1 คือ chinkou span เมื่อchinkou span อยู่บนแท่งเทียนในอดีต แล้ว chinkou span  มีความชันเป็นบวก แสดงว่าสภาวะกระทิง (Bullish) ราคาจะมีการขึ้นต่อ

2. เมื่อ Chinkou span ตัดผ่านแท่งเทียนแท่งมาและอยู่ต่ำกว่าแท่งเทียนในอดีต แล้วราคาเคลื่อนที่ลง แสดงว่าแนวโน้มกำลังจะลง ดังรูปด้านล่างครับ


จากกราฟด้านบน chinkou span ตัดแท่งเทียนในอดีตลง และอยู่ต่ำกว่าแท่งเทียน แสดงว่า สภาวะของตลาดปัจจุบันกำลังจะเป็นขาลง (bearish)

จากที่ผมได้กล่าวมาด้านบน เป็นหลักการพื้นฐาน
เรายังสามารถใช้ chinkou span เป็นแนวรับ(support)และ แนวต้าน(resistance) ได้อีกด้วย นอกจากนี้ เรายังใช้เส้น chinkou span เพื่อหาจุดกลับตัว  ได้

-แนวรับ (support) จาก chinkou span ผมจะใช้ เทรนไลน์ วัดหา Support trendline ดังรูป



-  แนวต้าน(resistance) จาก chinkou span ผมจะใช้เทรนไลน์เพื่อหา Resistance trendline ดังรูป

จากกราฟ ด้านบน ถ้าราคาสามารถทะลุเส้นแนวต้านของ chinkou span ราคาก็จะกลับตัวขึ้นไปเป็นขาขึ้นทันที

โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/08/5-chikou-span-ichimoku.html

215
การทำกำไรโดยใช้หลักการตัดกันระหว่าง Kijun sen และ Tenkan sen

ผมได้อธิบาย หลักการของ kijun sen และ tenkan sen ใน Ichimoku ไปแล้ว ตอนนี้เราจะเอาทั้งสองเส้นนี้มาใช้ร่วมกันโดยหลักการง่ายๆ คือ


1. เมื่อ tenkan sen ตัด kijun sen ขึ้น แล้วราคาสามารถยืนอยู่เหนือทั้งสองเส้นนี้ได้เป็นสัญญาณ Long (buy)
Ex.1 สัญญาณ Buy

2. เมื่อ tenkan sen ตัด Kijun sen ลง แล้วราคาสามารถอยู่ต่ำกว่าทั้งสองเส้นนี้ได้ เป็นสัญญาณ Short(sell)


3. เมื่อราคาได้ทะลุเส้นทั้งสองไปแล้ว ราคามักจะกลับมาทดสอบทั้งสองเส้นนี้อีกครั้ง แต่โดยส่วนใหญ่ราคามักจะมาทดสอบเส้น kijun sen หรือที่เรียกว่า Retest   ดูรูปกันเลยครับ

**แนะนำนะครับสำหรับการ Retest  ให้ใช้เฉพาะ กราฟขาลงเท่านั้น เพราะกราฟขาลงจะแรงกว่ากราฟขาขึ้น Time Frame ที่แนะนำ 15 นาที และ 30 นาที

216
หลักการทั่วไปของ Kijun Sen ที่อยู่ใน Ichimoku

ใน Ichimoku จะมี Slow ma อยู่หนึ่งเส้น นั่นก็คือ Kijun Sen  ซึ่งมี Period ที่มากกว่าเส้น Tenkan Sen 
Kijun Sen โดยทั่วไปจะใช้เป็นแนวรับแนวต้าน และดูความชัน แต่ความสำคัญของความชันน้อยกว่า Tenkan Sen
เมื่อ ราคาทะลุผ่าน Kijun Sen ขึ้นไป และแท่งเทียนสามารถปิดเหนือเส้น Kijun Sen ได้ แสดงว่าแนวโน้มกำลังจะเป็นขาขึ้น
เมื่อ ราคาทะลุผ่าน Kijun Sen ลงมา และแท่งเทียนสามารถปิดต่ำกว่า เส้น Kijun Sen ได้ แสดงว่าแนวโน้มกำลังจะเป็นขาลง
เมื่อ Kijun Sen มีความชันเป็นศูนย์ ( kijun sen อยู่ในแนวระนาบ ) ถ้าเส้นอยู่ในแนวระนาบยาวๆ (Flat) เส้นนี้จะกลายเป็นแนวรับ/แนวต้านที่มีความแข็งแกร่งพอสมควร

แต่โดยส่วนมากผมจะใช้เส้นนี้เพื่อเป็นแนวรับแนวต้าน และเป็นจุด Stop loss  เราสามารถเปิดกราฟที่ช่วงเวลาใหญ่ๆเพื่อดูแนวรับแนวต้าน



โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/08/3-kijun-sen-ichimoku.html

217
Tenkan Sen   มีลักษณะคล้ายๆกับเส้น Moving Average ที่มี Period น้อยๆ  ซึ่งผมได้ตั้ง Tenkan Sen เป็นสีแดง หลักการของเส้นนี้ เป็นหลักการทั่วไปการตัดกันของ ma cross

หลักการวิเคราะห์ของ Tenkan Sen
-เมื่อราคาตัดผ่านเส้น Tenkan Sen ขึ้นไป แล้วราคาอยู่เหนือ Tenkan Sen และความชันของ Tenkan Sen เป็นบวก แสดงว่า เป็นแนวโน้มขึ้น

-เมื่อราคาตัดผ่านเส้น Tenkan Sen แล้วราคาอยู่ต่ำกว่าเส้น Tenkan Sen และความชันของ Tenkan Sen เป็นลบ แสดงว่า เป็นแนวโน้มลง
ตัวอย่าง การเข้า Long (Buy)
Ex.1


โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/08/2tenkan-sen-ichimoku.html

218
หลักการทั่วไปของ Senkou Span ใน Ichimoku

Senkou Span เป็นส่วนประกอบของ Ichimoku ซึ่ง Senkou Span จะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ  Senkou Span A และ Senkou Span B   Senkou Span ไม่ได้บอกแนวโน้มในอนาคต แต่ Senkou Span จะถูก Shift ไปด้านหน้าของราคา ดังรูป

เราจะเห็นว่า Senkou Span ถูก Shift ไปด้านหน้าของราคา เส้นสีเหลืองคือ Senkou Span A และเส้นสีขาวคือ Senkou Span B
เส้นประที่อยู่ระหว่าง Senkou Span ทั้งสองเส้น เราจะเรียกกว่า ก้อนเมฆ (Cloud ) หรือเรียกว่า Kumo
Kumo เปรียบเสมือนจุดสมดุลของกราฟ  เมื่อราคาอยู่ภายใน Kumo มันจะสะสมพลังเพื่อไปในทิศทางใด ทิศทางหนึ่ง ดังรูปด้านล่าง

เมื่อราคาอยู่ภายใน Kumo เราต้องรอจนกว่าราคาจะทะลุทางใดทางหนึ่ง ถ้าราคาทะลุ Kumo ขึ้นไปด้านบน ให้ Long (Buy )
และถ้าราคาทะลุ Kumo ลงไปด้านล่าง ให้ Short (sell)



เมื่อ Senkou Span เป็น Flat  ราบเรียบขนานไปกับพื้นเป็นเส้นตรงยาวๆ หมายความว่า เส้น Senkou Span จะกลายเป็น แนวรับ/แนวต้านในทันที
Ex.1

Ex.2


กฎทั่วไปของ Kumo (Senkou Span)
ถ้า Senkou Span A อยู่สูงกว่า Senkou Span B   ,ให้ Long (buy )
ถ้า Senkou Span A อยู่ต่ำกว่า Senkou Span B   , ให้ Short(Sell)
ถ้า Kumo กลายเป็น Flat มันจะกลายเป็นแนวรับแนวต้านที่ดี
ถ้า ราคาอยู่เหนือ Kumo ให้  Long (Buy)
ถ้าราคาอยู่ต่ำกว่า Kumo ให้ Short (Sell)
คำแนะนำนะครับ  การดูแนวรับแนวต้านจาก Senkou Span (Kumo) เราต้องเปลี่ยนช่วงเวลาเพื่อหา แนวรับแนวต้านจาก Senkou Span  เราสามารถดูแนวรับแนวต้านจากกราฟ 5 m , 15 m , 30 m , 1H , 4H ,Daily
ตัวอย่างเช่น เมื่อเราดูกราฟ 5 นาทีของ GBP/USD เราจะพบว่าราคามันได้ทะลุ Kumo ขึ้นมา แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่า ราคาจะหยุดตรงไหน ดังรูป


ดังนั้นเราควรจะเปลี่ยนช่วงเวลา Time Frame ที่สูงกว่า TimeFrame เดิม  จากตัวอย่างผมเปิดกราฟ 30 นาที เพื่อหาแนวต้านและคาดการณ์ว่าราคาจะหยุดตรงนี้ดังรูป กราฟ GBP/USD 30 นาที


-ดูจุดกลับตัวจากจุดตัดของ Senkou Span เมื่อราคาได้ทะลุ Kumo(จุดที่ 1) ขึ้นไปแล้ว Senkou Span ทั้งสองเส้นตัดกันขึ้นไป ราคาขึ้นไปทำยอด แล้วราคามีการดีดตัวลงมา ถ้าราคาดีดตัวลงมาบริเวณจุดตัดของ Senkou Span (จุดที่ 2 ) ดังรูปด้านล่าง


โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/08/1-senkou-span-ichimoku.html

219
 กองทุนโจรสลัด (Hedge Funds)
   สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้มีโอกาสได้อ่านเกี่ยวกับ Hedge Funds ซึ่งเป็นเนื้อหาที่น่าสนใจ ก็เลยเอามาเขียนให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับ จากหนังสือ "วิธีเก็งกำไรการเงินโลก"   
      กองทุนโจรสลัดหรือที่เรียกกันว่า Hedge Funds มีบทบาทในการสร้างความปั่นป่วนให้กับระบบการเงินโลกหลายครั้งหลายคราเช่นในปี 1992 อัตราแลกเปลี่ยนของหลายๆประเทศในโลกอุตสาหกรรม ต่างผันผวนไปตามๆกัน เพราะการโจมตีของกองทุนโจรสลัดในปี 1994 ตลาดตราสารหนี้ทั้งโลกปั่นป่วนด้วยเหตผลเดียวกันรวมทั้งวิกฤติต้มยำกุุ้งในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ในปี 1997 ด้วย
 


กองทุนโจรสลัดหรือที่เรียกกันว่า Hedge Funds มีหน้าตาอย่างไร ?
      กองทุนโจรสลัดคือการลงทุนร่วมกันในลักษณะของหุ้นส่วน โดยมีผู้จัดการหรือนิติบุคคลเป็นผู้บริการกองทุน เงื่อนไขของการตั้งกองทุนในลักษณะนี้ตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์อเมริกาคือ ห้ามมีหุ้นส่วนเกิน 99 ราย และ 65 รายต้องมีทรัพย์สินสุทธิที่มีใบรับรองไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญ ดอลล่าสหรัฐ การกำหนดหุ้นส่วนในแต่ละกองทุน ไว้ไม่เกิน 99 ราย ก็เพื่อหลักเลี่ยงการควบคุมของกฎหมายของตลาดหลักทรัพย์ที่เขียนไว้ป้องกันสาธารณชน (Public) ถูกกองทุนเหล่านี้หลอกลวง ลงทุนอย่างสุ่มเสี่ยงและกรณีนี้ถ้ามีการชักชวนให้บุคคล 100 รายขึ้นไป ถือว่าเป็นเรื่องสาธารณะซึ่งมีกฎหมายควบคุมอย่างรัดกุม
     ผู้เข้าร่วมลงทุนในกองทุนโจรสลัดจะต้องลงนามสัญญาว่าจะไม่ถอนเงินออกก่อนในเวลา  1 ปี หลังจากนั้นก็อาจจะทยอยถอนทุน หรือ ถอนทุนทั้งหมดได้ในแต่ละไตรมาสของการลงทุนหรือรอบบัญชี
    ด้วยเหตที่เป็นการลงทุนโดยสมัครใจ ของผู้มีเงินล้นกระเป๋า จึงไม่ถูกควบคุมด้วยกฎหมายใดๆ เพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของสาธารณชน
    บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารเพื่อการลงทุนใหญ่ๆจะมีบริการให้จัดตั้งและบริหารกองทุนเหล่านี้โดยเรียกค่าตอบแทนประมาณร้อยละ 20 ของรายได้ บวกกับค่าจ้างบริหารอีกต่างหาก
     นายโจส โซรอส ( George Soros) เป็นผู้ทั้งผู้ก่อตั้ง ผู้ลงทุน และผู้บริหารลงทุน มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีล่ะ 1.1 หมื่นล้านเหรียญ ใน จูเลี่ยน โรเบริ์ตสัน ( Julian Robertson) มีรายได้ 300 ล้านเหรียญ นาย สแตนเลย์ ดรัคเคนมิลเลอร์(Stanley  Druckenmiller) 200 ล้านเหรียญ
    ในปี 1992 วิเคราะห์ว่าค่าเงินปอนด์สเตอลิ่งของอังกฤษ มีค่าแข็งเกินจริง( เหมือนเงินบาทไทยในวันนี้) เขาทำสัญญาณยืมเงิน 1 หมื่นล้านปอนด์สเตอลิ่ง ไปซื้อเงินสกุลอื่น ทำให้ธนาคารชาติของอังกฤษ ต้องประกาศขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งและใช้เงินอีก 1.5 หมื่นล้านปอนด์สเตอลิ่ง เพื่อปกป้องค่าเงินปอนด์ไม่ให้อ่อนตัวลง แต่ก็ไม่สามารถรักษาค่าเงินไว้ได้ ทำให้ต้องปล่อยให้ค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลง นายโซรอสได้กำไรไป 2000 ล้านปอนด์สเตอลิ่ง
      ที่น่าสนใจอีกกรณีหนึ่งคือ การที่รัฐบาลอเมริกา เข้ามาอุ้มกองทุนเสี่ยงเก็งกำไรเพื่อไม่ให้ล้มละลายโดยเอาเงินชาวบ้านมาอุ้ม ทั้งๆที่ตามประเพณีของการธุระกิจของอเมริกัน รัฐจะไม่เข้ามาก้าวก่าย หรือแทรรกแซงธุรกิจเอกชน แต่กรณีนี้เป็นข้อยกเว้น
      Hedge Funds ชื่อ Long Term Capital Management (LTCM) ซึ่งผู้ก่อตั้งและบริหารงาน เป็นอรหันต์ทางการเงินทั้งสิ้น อันได้แก่ นายเดวิด มูลลิน (David Mullins) อดีตรองประธานธนาคารชาติของสหรัฐ นายมายรอน สโกลส์ (Myron Scholes) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รางวัลโนเบลในด้านการประเมินราคาซื้อขาย Options และนายโรเบริ์ต เมอร์ตัน (Robert MerTon) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลอีกผู้หนึ่ง
     ด้านกองทุนเก็งกำไรขาลง LTCM มีผู้เชื่อถือมาก กองทุนนี้คิดค่าบริการร้อยล่ะ 25 ของผลกำไรของผู้ลงทุน และมีลูกค้าชั้นหนึ่งเช่น มูลนิธิ ร๊อคกี้เฟลเล่อร์ ธนาคารเดรสเน่อร์ของเยอรมัน กลุ่มเครดิตสวิสต์ ธนาคารยูบีเอส เอจี บริษัทประกันภัยเพรสซิเด้นท์ บริษัทนายหน้าเมอริล ลินซ์ เพน เวบเบอร์ และธนาคารกลางอิตาลี่ กองทุนนี้สามารถทำกำไรให้กับนักลงทุน ร้อยละ 42.8  หลังหลักค่าบริการแล้ว ในปี 1995 ร้อยละ 40 ในปี 1996 และร้อยละ 17 ในปี 1997
    ในปี 1997 มีสถาบันนักลงทุนและมหาเศรษฐีจากทั่วโลก แย่งกันส่งเงินมาเข้าร่วมลงทุนในกองทุนนี้ เพราะเห็นผลงานจากผลตอบแทนในสองปีที่ผ่านมา จนกระทั่ง LTCM ต้องส่งเงินจำนวน 2700 ล้านเหรียญ คืนให้กับผู้ลงทุน นักวิจารณ์บางคนถึงกับกล่าวว่า การได้ลงทุนในกองทุนนี้ เปรียบเสมือนได้นั่งรถโรลสรอยส์
    ในขณะที่กองทุนนี้มีเงินทุนอยู่แค่ 4800 ล้านเหรียญ แต่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารต่างๆมาเพิ่มการลงทุนได้มากถึง 2 แสนล้านเหรียญ โดยการใช้หุ้นที่ซื้อมาค้ำประกันเงินกู้ หรือสามารถกู้ได้มากกว่า 50 เท่า ไม่เพียงแค่นั้นกองทุนนี้ยังซื้อหุ้นที่ซื้อมาค้ำประกัน การซื้อดัชนีเก็งกำไรประเภทต่างทั่วโลก รวมทั้งดัชนีการขึ้นลงของดอกเบี้ย (Derivatives) รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นยอดเงินสูงถึง 1.25 ล้านล้านเหรียญ จากทุนดังเดิม 4800 ล้านเหรียญ หรือสองร้อยเท่า
     จะเห็นได้ว่าด้วยวิธีการเหล่านี้ จึงไม่มีทุนสำรองของธนาชาติแห่งใดในโลกที่เปิดเสรีทางการเงิน สามารถจะสู้ค่าเงินกับกองทุนเก็งกำไรความเสี่ยงเหล่านี้ได้
      เมื่อรัสเซียประสบปัญหาวิกฤติค่าเงินในเดือนสิงหาคม 1998 และประกาศพักชำระหนี้ในเวลาต่อมา ทำให้ดัชนีทั่วโลกเคลื่อนไหวอย่างระส่ำ ทำให้กองทุนเก็งกำไรขาลงรวมทั้งควันตั๊มฟันจ์ของนายโซรอส ขาดทุนอย่างระเนระนาด อย่างน้อยครึ่้งนึงของเงินทุน
      กองทุนของนายโซรอสขาดทุนมากถึง 2000 ล้านเหรียญ กองทุน LTCM ซื้อดัชนีเก็งกำไรพันธบัตรของเยอรมันและอเมริกาด้านขาลง แค่เมื่อเกิดวิกฤติ ทุนต่างวิ่งกลับไปยังแหล่งที่ปลอดภัยจึงทำให้พันธบัตรราคาสูงขึ้น กองทุน LTCM ขาดทุนมากถึงร้อยละ 90 ของเงินทุุนที่มีอยู่ จาก 4.8 พันล้านเหรียญมาเหลือเพียง 600 ล้านเหรียญ ในเดือนกันยายน 1998 (เหมือนกับธนาคารแห่งประเทศไทยเราที่สูญเงินทุนสำรองของชาติไปเกือบทั้งหมดในปี 1997 )
     กองทุน LTCM ได้แจ้งผลการประกอบการณ์ให้กับนาย อแลน กรีนสแปน ประธานธนาคารชาติของอเมริการับทราบ และขอความช่วยเหลือ นายกรีนสแปนจึงใช้ อิทธิพลดึงให้สถาบันการเงินยักๆเข้ามาอุ้ม โดยการลงทุนในกองทุนนี้เป็นจำนวน 3500 พันล้าน เพื่อชดเชยกับเงินที่สูญไป เพื่อจะได้ไม่ต้องล้มละลายอันจะทำให้สถาบันการเงินที่ลงทุนในกองทุนนี้ พังพาบ กลายเป็นภาระต่อรัฐบาลไปด้วย

โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/09/hedge-funds.html

220
1. การวางแผนการเทรดและเทรดตามแผนของคุณ(Plan your trade And Trade your plan)
ในการเทรด ไม่ควรตัดสินตามอารมณ์ ความรู้สึกของคุณ ว่าราคาน่าจะขึ้น ราคาน่าจะลง แล้วเปิดคำสั่งเทรด คุณจำเป็นจะต้องมีการวางแผนในการเทรดเพื่อนำไปสู่ึความประสบความสำเร็จ แผนการเทรดที่ดี ควรประกอบด้วย 1. การกำหนด จุดเข้า หรือ สัญญาณในการเข้าเทรด 2 . การกำหนดจุด ขาดทุน ( Stop Loss) 3. การกำหนดเป้าหมายกำไร ( Target) 4. การวางแผนทางการเงิน ( Money Management) 5. การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management) การจัดสรรค์การเรดให้เหมาะสม แผนการเทรดที่ดีจะช่วยให้คุณตัดอารมณ์ ออกจากการเทรด ช่วยให้คุณไม่ต้องมานั่งเครียด เวลาที่ติดลบ หรือ ไกล้จะ Call Margin ( เงินใกล้จะหมด) ไม่ต้องถูกบังคับปิด เช่น มาจิ้นของคุณหมด ตัวอย่างแผนการเทรดหรือระบบเทรด คุณสามารถ หาได้จากเ็ว็บนี้ หรือ จาก google ลองหาแผนการเทรดที่เหมาะกับตัวของคุณ ลองทดสอบระบบ และเทรดตามระบบด้วยเงินปลอม อาจจะปรับปรุงให้เหมาะสมกับตัวของคุณ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับการเทรดของคุณ ซึ่งไม่มีระบบไหนที่ได้ผลการเทรดของคุณออกมา 100% ระบบเทรดที่ดี ควรมีประสิทธิ์ภาพมากกว่า 60 % ไม่ว่าคุณจะได้ระบบเทพ หรือ สุดยอดเทพ ยังไง คุณก็ต้องติดลบก่อน ไม่มีใครไม่เคย ติดลบ
2. แนวโน้มของกราฟ คือเพื่อนของคุณ ( The Trend is Your Friend )
อย่าคิดสวนเทรน ให้หาสัญญาณ Buy/ Long เมื่อ ตลาดอยู่ในสภาวะขาขึ้น ( Bullish Market ตลาดแดนบวก) และหาจังหวะ Sell/Short เมื่อตลาดอยู่ในสภาวะขาลง ( ฺำBearish Market ตลาดแดนลบ)
3. การรักษาเงินลงทุน ( Focus on capital preservation)
สิงสำคัญอีกอย่างสำหรับการเทรด ต้องรักษาเงินในบัญชีของคุณให้ดีที่สุด การเปิดคำสั่งเทรดแค่ละคำสั่ง ไม่ควรจะเกิน 10 % ของเงินในบัญชีเทรดของคุณ เช่น เงินทุน 1000 $ คุณควจจะเทรดไม่เกิน 100$ ถ้าไม่มีการรักษาเงินทุนไว้ เงินทุนจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทรดมาก ได้มาก ก็เสียมาก เช่นกัน เมื่อเงินหมด คุณอาจจะท้อ หรือเลิกไปเลย เพราะฉะนั้น ควรจะเล่นน้อยๆ เรื่อย ๆ แล้ว จะประสบผลสำเร็จในตลาดฟอเร็ก ฟอเ็ร็กไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย
4.ต้องรู้ว่าเมื่อไรควรจะตัดขาดทุน (Know when to cut loss)
ถ้าราคาวิ่งตรงข้ามกับที่คุณได้เทรดไว้ หรือคาดการณ์ไว้ สิิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ตัดเนื้อร้ายออกไป อย่าให้มันรุกราม แล้วหาโอกาสหรือจังหวะดีๆ เพื่อเข้าใหม่ การถือติดลบไว้ เป็นการเสียโอกาสในการหาจังหวะเข้าใหม่ในสัญญาณดีๆ และต้องมานั่งเครียด เพราะกลัวว่า มาจิ้น จะหมด คังคำที่พูดกันว่าเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย และ ลบน้อยตัดยาก ลบมากตัดง่าย ถ้าเลวร้ายจริงๆ คุณอาจจะโดนคำสั่งปิด Margin Call ดังนั้นเมื่อทำการเทรดทุกครั้ง ควรหาจุด Stop Loss จุดที่คุณควรปิดทิ้ง เมื่อราคาวิ่งตรงข้าม จากทีคาดการณ์ไว้ โดนอาจจะกำหนดไว้เลย เช่น Exit stop Loss -20 จุด -30 จุด หรือตั้งไว้ตามแนวรับแนวต้าน Support- Resistance
5. ปิดทำกำไรเมื่อได้โอกาส หรือด้วยความพอใจของเรา(take Profit when the trade is good)
ก่อนทำการเทรด ตั้งเป้าหมายไว้ ว่าต้องการกำไรเท่าไร เมื่อได้โอกาส ก็ควรปิดทำกำไร เป้าหมาย ( Target) อาจจะกำหนดตายตัว หรือ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเรา เช่น ทำกำไร 20 จุด หรือ 30 จุด หรือกำหนด ตามแนวรับแนวต้าน ( Support and Resistance) หรือกำหนด โดย Fibonaccy ก็ได้
6. ตัดอารมณ์ออกไป(Be Emotionless)
สอง อารมณ์ ที่มีผลมากให้การเทรด คือ ความโลภ ( Greedy) และความกลัว(fear) อย่าทำให่้สองสิ่งนี้ครอบงำจิตใจของคุณ เพราะมันจะทำให้คุณไม่สามารถเทรดได้ หมั่นฝึกฝนเทรดให้เป็นระบบ เทรดตามแผน หรือระบบเทรดที่คุณได้เตรียมไว้ จัดการ กับ การกำหนดจุดเข้า ( Entry Position) จุดออก ( Exit Position) ระบบการเงินของคุณ(Money Management) เพียงแค่นี้ คุณก็จะประสบความสำเร็จกับฟอเร็กได้
7. อย่าเทรดตามคุณอื่น ( Do not trade base on tips from other people)
ควรเทรดตามระบบ ตามสัญญาณ หรือตามแผนที่วางไว้ อย่าเทรดตามคนอื่นโดยเด็ดขาด วิเคราะห์ให้ดีทุกครั้งก่อนการเทรด
8. จดบันทึกการเทรด (Keep A trade journal)
เมื่อคุณเปิดคำสั่ง ซื้อ (Buy/Long) ให้จด เหตุผลว่าเข้าเพราะอะไร และจดความรู็้สึกตอนนั้นไว้ เมื่อเปิดคำสั่ง ขาย ( sell/Short) ก็ทำเช่นเดียวกัน แล้วนำมาวิเคราะห์ บันทึก ข้อผิดพลาด ในการเทรด ขำข้อผิดพลาดของคุณที่เกิดขึ้น นำมาเป็นบทเรียน แล้วอย่าทำตามนั้นอีก
9.เมื่อไม่แน่ใจไม่ต้องเทรด( When in doubt, stay out)
เมื่อคุณไม่มั่นใจหรือกำลังสับสน กับสภาวะของตลาดไม่แน่ใจว่าราคาจะวิ่งไปทางไหน ให้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องเทรด ออกไปเดินเล่นหาอย่างอื่นทำ แล้วก็รอตลาดในช่วงต่อไป คุณค่อยมาหาจังหวะการเทรดใหม่
10. อย่าเทรดมากเกินไป ( DO Not Over Trade)
ไม่ควรเปิดเทรดมากเกินไป ในการเทรดแต่ละครั้งควรมีออเดอร์ที่เปิดทิ้งไว้ ไม่เกิน 3 ออเดอร์ ถ้ามีมากเกินไป คุณอาจจะควบคุมไม่ได้ หรือาจจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเมื่อตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นอย่าเปิดเทรดจนมากเกินไป

โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/07/general-tradings-guidelines.html

221
การวิเคราะห์
กราฟนั้น สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้คือ แนวโน้มของราคา แนวโน้มหรือเทรน
(Trend) จะสามารถบ่งบอกเราได้ว่า ราคากำลังจะไปทางไหน ราคาจะขึ้นหรือลง
ซึ่งการวิเคราะห์แนวโน้มนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. แนวโน้มขาขึ้น
(Uptrend) 2. แนวโน้มขาลง (Down Trend) 3. ไม่มีทิศทางที่แน่นอน (Sideway)






1. แนวโน้มขาขึ้น (Up Trend)

แนวโน้มขาขึ้น Up Trend คือ จุดสูงสุดของราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ และจุดต่ำสุดใหม่ของราคาก็สูงกว่าจุดต่ำสุดเก่า

ผมแทน จุดสูงสุด (High=H) และจุดต่ำสุด (Low=L)

นิยามของ Up Trend คือ Hn > ... H3>H2>H1 เมื่อ n คือ จำนวนใดๆ ความหมายคือ H3 ต้องสูงกว่า H2 และ H2 ต้องสูงกว่า H1
และ Ln>.. L3>L2>L1 เมื่อ n คือจำนวนใดๆ ความหมายคือ L3 ต้องสูงกว่า L2 และ L2 ต้องสูงกว่า L1
ดังรูปด้านล่างครับ เป็นตัวอย่าง UpTrend






จุด
สูงสุดใหม่ต้องสูงกว่าจุดสูงสุดเก่า
และจุดต่ำสุดใหม่ต้องสูงกว่าจุดต่ำสุดเก่า นี่คือ
คำนิยามของแนวโน้มขาขึ้น(Uptrend) จำแค่นี้ก็พอครับ






 






2.แนวโน้มขาลง (Down Trend)

แนวโน้มขาลง (DownTrend)คือ จุดต่ำสุดของราคาจะต่ำลงเรื่อยๆ และ จุดสูงสุดของราคาก็ลดต่ำลงเช่นกัน
นิยามของแนวโน้มขาลงคือ Ln<... L3
และ Hn <... H3







ดังรูปตัวอย่าง Down Trend ด้านล่างครับ












จุดต่ำสุดใหม่ต้องต่ำกว่าจุดต่ำสุดเก่า และจุดสูงสุดใหม่ต้องอยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเก่า นี่คือนิยามของคำว่า แนวโน้มขาลง (DownTrend)








3. ไม่มีทิศทางที่แน่นอน (SideWay)

SideWay คือ ราคาเคลื่อนที่ขึ้นลงในกรอบแคบๆ เคลื่อนตัวไปด้านข้างและมีทิศทางที่ไม่แน่นอน แนวโน้มจะเป็นลักษณะแบนราบ (Flat)
ดูรูปประกอบเลยครับ  SideWay


Side
 Way เป็นแนวโน้มที่เล่นยากที่สุด เพราะเราไม่สามารถรู้ทิศทางที่แน่นอนได้
ถ้าหลักเลี่ยงได้ ก็ไม่ควรเล่นช่วงนี้ วิธีการสังเกตการเคลื่อนตัวแบบ
Sideway คือ เมื่อกราฟได้เคลื่อนตัวโดยมีแนวโน้มที่ชัดเจนมาช่วงหนึ่งแล้ว
กราฟจะเกิดการพักตัวช่วงหนึ่ง การพักตัวของกราฟ อาจจะหมายความว่า
มันกำลังเตรียมตัวไปต่อในทิศทางเดิม หรือกำลังจะกลับตัวนั่้นเอง






การ
ดูแนวโน้มเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน
เพราะสิ่งนี้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์
ชั้นสูง เช่น การนับคลื่น Elliott wave , ทฤษฎีดาว เป็นต้น
ถ้าเรามีพื้นฐานเหล่านี้ การศึกษาในขั้นสูงก็เป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับเรา


โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/07/basis-of-chart-analysis.html

222
1. " ความรู้ทางการเงิน สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า ความรู้ทางการงาน " เพราะในชิวิตของคนเราทุกคนนั้น จะมีช่วงที่สามารถหา รายได้จากการทำงาน ( you at work ) จำกัด และจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณค่อนข้างยาวนาน จึงต้อง รู้วิะีที่จะ "ใช้เงินให้ทำงาน" ( Money at Work)
2. การออมเป็น " เกมแห่งระยะเวลา " ( Game Of Time ) ใครเริ่มต้นก่อน ก็รวยก่อน เพราะยิ่ง ทิ้งไว้นาน ยิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ ถือเป็น " เงื่อนไขจำเป็น" ของทุกคนที่มีเป้าหมายต้องการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน
3.การลงทุนเป็น " เกมแห่งจังหวะเวลา" ( Game Of Timing) ต้องรู้จังหวะในการเข้าออกตลาดที่เหมาะสม ซื้อเมื่อต่ำ ขายเมื่อสูง หยุดเมื่อสงสัย เพราะถ้าหากเข้าผิดจังหวะ ยิ่งทิ้งไว้นาน จะยิ่งเสียหายมาก และทำให้โอกาสที่จะได้ทุนคืนนั้นยากขั้นเรื่อยๆ ( Losses are harder to regain)
4. การตัดสินใจเกี่ยวกับจังหวะการลงทุนไม่ใช่การตัดสินใจซื้อสินค้าสำเร็จรูป (Product) แบบที่ตัดสินใจตอนซื้อครั้งเดียวจบ ถ้าไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งมันไว้เฉยๆ จริงๆแล้วการลงทุนเปนกระบวนการ ( Process) ที่ต้องมีการเอาใจใส่ ติดตามผล และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา
5.หนทางนำไปสู่ ความสำเร็จไม่ได้เพียงเส้นทางเดียว จุดสำคัญในการบริหารการลงทุนนั้นไมไ่ด้อยู่ที่รุปแบบ วิธีการหรือ style ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเพียงเกมส์ภายนอก" Outer Game" แต่เป็นเรื่องทัศนคติ วิธีคิด พลังใจ ซึ่งเป็น "เกมภายใน" ( Inner Game)
6.ลำพังแค่การ " เอาชนะดัชนี" ( Beat the Index) ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ ก็ไม่มีใคร "เอาชนะตลาด" ( Beat The Market) ได้ เคล็ดไม่ลับในการยืนหยัดอยู่ในเกมส์การลงทุนอย่างตลอดรอดฝั่งในฐานะ " ผู้ชนะ" นั้น อยู่ที่การยืยอยู่ข้างเดียวกับตลาดไม่ใช่ ฝืนตลาด
7.ความ สำเร็จในการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จริงๆแลว มันอาจเปรียบได้กับการวิ่งระยะไกล ( Marathon) ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร( Sprint) ดังนั้น คุณต้อง " รู้จักตัวเอง "( Know yourself) ว่าอะไรคือ style การลงทุนที่เหมาะสมที่เข้ากันได้กับความสามารถในการรับความเสี่ยง ( Risk Attitude) และทักษะในการลงทุน ( Risk Aptitude) เพราะนั้นคือ "ระบบ" ที่คุณต้องใช้ในเพื่อ "ทำธุระกิจ" นี้ในระยะยาว
8. ในการใช้เงินต่อเงินนั้น คุณต้อง " รู้จักเครื่องมือ " ( Know the vehicle) ว่ามีลักษณะ และรุปแบบการให้ผลตอลแทนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดอะไรบ้าง
9. นอกจากนี้ คุณต้อง " รู้จักตลาด " ( Know the Market) คือ รู้ว่าตลาด การเงินมีธรรมชาติอย่างไร อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เกิด การกระเพิ่อมขึ้นลงของตลาด และรู้วิธีการในการบริการความเสี่ยงในการลงทุนว่าต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้อย่างไร
10. อย่าติดอยู่กับดักของ " การบริโภคข้อมูลเกินขนาด" ( Information overload) ซึ่งมั่วแ่ต่สนใจหาข้อมูล ศึกษาวิเคราะหฺ จนไม่กล้าลงมือ ปฏิบัติ( Analysis paralysis) เพราะมีความเชื่ออย่างผิดๆ แบบพวกมองโลกแบบสมบูรณ์ ( Perfectionish) ว่าถ้ามีข้อมูลที่สมบูรณ์จะไม่เกิดความผิดพลาด ( Zero-Defect-Mentality) จริงๆแล้ว หัวใจสำคัญของการบริหารการลงทุนนั้นอยู่ที่การ " จำกัดความเสี่ยง" ( Risk Limitation) ไม่ใช่ " กำจัดความเสี่ยง"( Risk Elimination) ถ้าถามว่ากฏที่สำสำคัญทีสุดที่สรุปได้จากการปฏิบัติ ( Rule Of Thumb) ของผู้เขียนหนังสือชุด " อยากรวย ต้องรู้" คืออะไร ก็อยากตอบว่า Rule Of "ทำ" นั่นคือ "รู้แล้วต้องทำ" เพราะในภาษาอังกฤษ คำว่า "โชคลาภ " ( Luck) เป็นตัวย่อของ Laboring Under Correct Knowledge
แปลว่า "ลงมือทำ ด้วยความพากเพียร โดยอาศัยความรู้ที่ถุกต้อง " นั่นเอง

โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/07/10.html

223
ตารางการทำกำไรจากเงินฟรี จาก Marketiva จาก 5$ เป็น 20480 ภายใน หนึ่งปี คุณก็สามารถทำได้ หากทำตามแผนนี้

จากตาราง  เป็นแผนการทำกำไรภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งเราเริ่มจาก 5 เหรียญ ที่ได้มาฟรีๆจาก Marketiva แถวที่สองเป็นจำนวนจุดต่อเดือน แถวที่สามคือ จำนวนจุดต่อวันและแถวที่สี่เป็นเปอร์เซนต์ของเงินลงทุนของเรา ซึ่งถ้า % เงินลงทุนน้อย จำนวนจุดต่อวันก็จะมาก แต่ถ้า % ของเงินลงทุนเยอะ จำนวนจุด  ที่ต้องการต่อวันก็จะน้อยลง ซึ่งก็มีความเสี่ยงมากกว่าด้วยยกตัวอย่างนะครับ เราจะเล่นที่ 5 % ของทุน คือ 0.25 เหรียญคงที่ตลอดระยะเวลา 1เดือนเราต้อง ทำกำไรวันละ 100 จุด (pips) และต้องทำให้ได้ 2000 จุด ภายใน 1 เดือน และทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อครบกำหนด 1 ปี เราก็จะมีเงิน  20480  เหรียญ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากโดยที่เราจะต้องสามารถควบคุมอารมณ์และความโลภของเราให้ ได้และศึกษาการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการเข้าเทรด เพียงแค่นี้เราก็สามารถทำเงินก้อนใหญ่ได้จากฟอเร็กซ์แล้ว

โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/07/5-20480-1_25.html

224
หลายคนดูข่าวใน
โค๊ด: [Select]
www.forexfactory.com แต่ไม่รู้ความหมายของข่าวนั้นว่าแปลว่าอะไร ตัวเลขออกมาแล้วจะส่งผลยังไง วันนี้ผมก็เลยหาความหมายของข่าวมาให้นะครับ

ตารางข่าวเศรษฐกิจจาก ForexFactory

จากตารางข่าวด้านบน จะประกอบด้วย Date(วันที่) ,Time (เวลา), Currency(ค่าเงิน), Impact(ความแรงของข่าว) ,Actual (ตัวเลขที่ออกจริง),
forecast(ตัวเลขคาดการณ์จากนักวิเคราะห์) ,previous(ตัวเลขที่ออกก่อนหน้านั้น)Impact
สีแดงจะเป็นข่าวที่มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือสีส้ม และสีเหลือง
และสีข่าวจะแสดงว่าเป็นวีนหยุดของตลาดของประเทศนั้นและตัวเลขจริงที่ออก มาActual ตัวเลขที่ออกมาจะมี 3 สีด้วยเช่นกัน
คือ
สีเขียวคือข่าวดี
สีแดงคือข่าวไม่ดี
สีดำคือไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ทั้งนีี้้ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย Impact ถ้าข่าว High Impact สีแดง
และตัวเลขที่ประกาศออกมา เป็นสีเขียวหรือสีแดง ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงประมาณ 100 pips ขึ้นไป
-วิธีการเก็งกำไรจากข่าวในตาราง Forexfactory ให้รอดูตัวเลขจริง Actual ออกมาก่อนนะครับ เมื่อตัวเลขจริง(actual)ออกมามากกว่าเมื่อเทียบกับตัวเลขที่คาดการณ์(forecast)ไว้จะส่งผลทำให้ดีกับค่าเงินนั้นๆ แต่ถ้าตัวเลขจริงออกมาน้อยกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้จะส่งผลเสียกับค่าเงินนั้นๆ เช่น ถ้าข่าวของ USD ออกมามากกว่า
ตัวเลขคาดการณ์(Forecast) จะทำให้ USD / XXX ขึ้น และทำให้ XXX / USD ลง ( XXX คือ ค่าเงินของประเทศนั้นๆเมื่อเทียบกับดอลล่าห์สหรัฐ(USD)อาทิเช่น JPY CHF CAD AUD NZD GBP )
ถ้าข่าว Gross Domestic Product หรือ GDP ของอังกฤษ(GBP) ตัวเลขออกมามากกว่าที่ตัวเลขที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้จะส่งผลให้กราฟของ GBP/USD , GBP/JPY,GBP/CHF ขึ้น และกราฟ EUR/GBP จะลง

ระดับความสำคัญของปฏิทินเศรษฐกิจ

1. สำคัญมาก
ชื่อก็บอกอยู่ แล้วว่าสำคัญมาก ซึ่งจะเป็นข่าวและตัวเลขที่มีผลกระทบกับค่าเงินของประเทศนั้น ๆ อย่างแรง เมื่อตัวเลขประกาศแล้ว จะมีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ๆ ซึ่งจะส่งผลอยู่ประมาณ 5 – 10 นาที เราอาจจะได้เห็นกราฟเป็นแท่งยาว ๆ ทั้งขึ้น และ ลง ในเวลาเดียวกัน

2. สำคัญ
อันนี้ก็สำคัญ ก็จะส่งผลกระทบกับตลาดเงินมากแต่น้อยกว่า “สำคัญมาก” อยู่นิดนึง ซึ่งก็จะส่งผลให้มีกราฟยาว ๆ (แต่ขนาดของแท่งจะสั้นกว่าแบบแรก)

3. ทั่วไป
อัน นี้จะเป็นข่าวเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป มีผลบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง หากประกาศวันเดียวกับ 2 ตัวบน อาจจะไม่ส่งผลอะไรสำคัญเลย แต่ถ้าประกาศตัวเดียว โดด ๆ อาจมีผลบ้างโดยหากสวนทางกับ 2 ตัวข้างบนอาจทำให้ตลาดนำข่าวนี้มาเล่นได้ เพราะจะเป็นตัววัดอย่างหนึ่งว่า ตัวเลขอื่นอาจจะหลอกลวงได้


คราวนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศนั้นเกี่ยวอะไรกับราคาทองคำ

โดยปกติราคาทองคำจะขึ้นอยู่กับ

1. อัตราแลกเปลี่ยนของ USD
2. ราคาน้ำมัน
3. ราคาของโลหะพื้นฐาน และ โลหะอื่น พวก ทองแดง เงิน แพตตินั่ม พาลาเดียม
4. อื่น ๆ (ยังนึกมะออกจ้ะ)

คราวนี้ตัวเลขที่ประกาศจะกระทบกับ 2 อย่างตรง ๆ คือ อัตราแลกเปลี่ยน กะ ราคาน้ำมัน


แล้ว 2 ตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกะราคาทองคำอย่างไร?

1. อัตราแลกเปลี่ยน โดยปกติ ถ้าไม่มีข่าวอย่างอื่น (หมายถึงพวกข่าวก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่มีน้ำหนักมากกว่า อัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีผลตรง ๆ โดยไม่มีอย่างอื่นมาทำให้ราคาเพี้ยนไปจากเดิม โดยปกติแล้ว ทองคำจะขึ้นเมื่อ USD อ่อนค่า และ ทองคำจะลง เมื่อ USD แข็งค่า
แล้วคำที่ว่าอ่อนค่า กับ แข็งค่า เนี่ย เค้าเทียบกะสกุลไหนบ้าง โดยปกติแล้วจะดูที่ 2 สกุลใหญ่ ชื่อ JPY และ EUR หากสองอันนี้ไปในทิศทางเดียวกัน ก็แสดงว่า USD อ่อน หรือ แข็งจริง ๆ จ้ะ

2. ราคาน้ำมัน จะเป็นตัวช่วยดัน หรือ ฉุด ราคาทองคำในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน


เอาละ... มาดูกันว่าโดยปกติปฏิทินเศรษฐกิจที่เค้าขยันประกาศตัวเลขกันมีอะไรบ้าง (มันอาจจะไม่ครบทุกอย่างนะ)


ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง...

ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance
4 GDP ( Gross Domestic Production )
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure)
6 CPI ( Consumer Price index )
7 TICS ( Treasury International Capital System )
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting )
9 Retail Sales
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey
11 PPI ( Producer Price Index )


ระดับที่เรียกว่าสำคัญ...

ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

12 Weekly Jobless Claims
13 Personal Income
14 Personal spending
15 BOE Rate Decision ( Bank Of England )
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager )
19 Philadelphia Fed. Survey
20 ISM Non-Manufacturing Index
21 Factory Orders
22 Industrial Production & Capacity Utilization
23 Non-Farm Productivity
24 Current Account Balance
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment )
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index )
27 Leading Indicators
28 Business Inventories
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany )


ระดับปานกลางถึงทั่วไป โดยมากใช้เป็นตัววัดพื้นฐาน...
ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)
กลุ่มสำคัญมาก

Trade Balance
โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Gross Domestic Product หรือ GDP
จะ ประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE)
ประกาศ ทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Price Index หรือ CPI
ประกาศ ทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Treasury International Capital System หรือ TICS
ประกาศ ทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Federal Open Market Committee หรือ FOMC
จะ ประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตรา ดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Retail Sales
ประกาศ ทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

University of Michigan Consumer Sentiment Index
ออก ทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Producer Price Index หรือ PPI
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

กลุ่มสำคัญ

Initial Weekly Jobless Claims
ประกาศทุกวัน พฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Personal Income
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Personal Spending
ประกาศ แถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Europe Central Bank (ECB), Bank Of England (BOE), Bank Of Japan (BOJ)
การ ประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)
- อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด

ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany, Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden, Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และ Slovenia

Durable Goods Orders
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Institute of Supply Management หรือ ISM
ออก ทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้

Philadelphia Fed Survey
ออก ราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น

ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM
ออก ราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Factory Orders
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Industrial Production
ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Non-Farm Productivity
ออก ราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้ สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Current Account Balance
ออก ราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Confidence
ออก ทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า

NY Empire State Index
ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า

Leading Indicators
ออก ราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim, Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices

Business Inventories
ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า

IFO Business Indexes
ประกาศ ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูง หมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/07/blog-post_28.html

225
กฏทั้ง 10 ข้อนี้ เป็นหลักการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้วิธการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับการลงทุน เพราะหากไม่มีหลักการดังกล่าวแล้ว เราก็จะไม่สามารถกำหนดการซื้อขายที่เป้นรุปแบบได้ ซึ่งให้กฏเหล่านี้ จะพูดถึงการวิเคราะห์แนวโน้ม หาจุดกลับตัว ติดตามเส้นค่าเฉลี่ย ( moving average) มองหาสัญญาณเตือน และอื่นๆ หาคุณสามารถเข้าใจและปฏิตามหลักการเหล่านี้ เชื่อว่าคุณก็จะสามารถเอาตัวรอดด้วยการลงทุนแบบวิเคราะหฺทางเทคนิคได้แน่นอน

1. ดูแนวโน้ม ( Trend )
เรียน รู้ Chart กราฟ ในระยะยาว โดยเริ่มจาก กราฟ ในระดับเดือน Monthly และ สัปดาห์ ( weekly) ของช่วงเวลา ( Time Frame) หลายๆปี การดูกราฟช่วงเวลาที่กว้างขึ้นจะสามารถทำให้มองเห็นแนวโน้มของตลาดในระยะยาว ได้อย่างแม่นตรงกว่าการมองกราฟในระยะสั้น เมื่อทราบถึงแนวโน้มระยะยาวแล้ว ก็ต้องกลับดูกราฟระยะสั้น ระดับวัน Daily ระดับ ชั่วโมง Hourly การดูแนวโน้มในระยะสั้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้เิืกิดข้อผิดพลาดได้ ถึงแม้ว่าคุณจะลงทุนในระยะสั้นคุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหากคุณลงทุนในทิศ ทางเดียวกับแนวโน้มในระยะกลางและระยะยาว ( Middle Term and Long Term )

2. วิเคราะห์และไปตามแนวโน้ม ( Analysis and follow trend)
แนว โน้มของตลาดมีหลายช่วงเวลา ระยะยาว(Long Term) ระะกลาง(Middle Term) และระยะสั้น(Short Term) สิ่งแรก คือ คุณต้องรู้ว่าคุณลงทุนเป็นระยะเวลาเท่าใด และวิเคราะห์ กราฟของช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยที่คุณไม่แน่ใจว่าคุณลงทุนไปในทิศทางเดียวกับ แนวโน้มในระยะเวลานั้นๆ ซื้อเมื่อแนวโน้มอยู่ในช่วงขาขั้น ( Up trend) และขายเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาลง ( Down Trend) หากคุณลงทุนในระยะกลาง ให้ใช้กราฟในระดับวันและัสัปดาห์ ถ้าคุณลงทุนในระยะสั้น ให้ใช้กราฟระดับวันและชัวโมง อย่างไรก็ตามในแต่ละกรณี ให้ดูแนวโน้มของช่วงเวลาที่ยาวขึ้น และใช้กราฟของช่วงเวลาที่สั้นลงในการหาจุดที่จะเข้าซื้อ-ขาย

3.การหาจุดสูงสุดและต่ำสุด
วิเคราะห์ แนวรับแนวต้าน จุดที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อBuy/Long ก็คือจุด ที่ไกล้แนวรับมักจะเป็นจุดต่ำสุดของรอบการซื้อขายที่แล้ว จุดที่ดีที่สุดสำหรับการขายSell/Short ก็คือ จุดที่ใกล้แนวต้าน ซึ่งมักจะเป็นจุดสงสุดของกรอบราคาการซื้อขายที่แล้ว หากมีการเคลื่อนที่แนวต้าน แนวต้านก็กลายเป็นแนวรับสำหรับการปรับตัวลดลงอีกนัยนึง จุดสูงสุดเดิมกลายเป็นจุดสูงสุดใหม่และเ่ช่นเดียวกัน ในกรณีที่ราคาทะลุผ่านแนวรับ มักจะมีแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่องทำให้จุดต่ำสุดเดิมกลายเป็นจุดต่ำสุดใหม่

4.รู้ว่าจะไปไกลแค่ไหน จึงจะกลับตัว
เทียบอัตราส่วนการขึ้นลงเป็นเปอร์เซนต์ โดยทั่วไปตลาดจะ มีการกลีบตัวทั้งขึ้นและลงตามสัดส่วนเปอร์เซนของแนวโน้ม ของช่วงเวลาก่อน คุณสามารถวัดอัตราส่วนของการปรับตัวขึ้นลงของแนวโน้มปัจจุบันโดยใช้ อัตรส่วนชุดหนึ่งที่มีการกำหนดค่าไว้แล้ว เช่น การกลับตัวขั้นหรือลง 50%ของแนวโฯ้มก่อน เป็นอัตราพื้นฐานที่ใช้กันบ่อย อัตราส่วนต่ำสุดของการวัดการดีดกลับ คือ 1/3 ของแนวโน้มก่อนหน้านั้น และอัตราส่วนสูงสุดคือ 2/3 อัตราส่วนที่สำคัญและควรให้ความสนใจคือ อัตราส่วนของFibonacci 38.2% 61.8 % ดังนั้นเมื่อตลาดมีการพัดตัวในแนวโน้มขาขึ้นจะมีจุดซื้อคืนจุดแรก เมื่อตลาดปรับตัวลง 33-38% ของจุดสูงสุด

5.ใช้เส้นแนวโน้ม TrendLine
เส้น แนวโน้ม TL เป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิเคราะห์ที่่ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งที่ต้องคำนึงมีเพียงของเขตที่เส้นแนวโน้มแสดงและจุด 2 ตำแหน่งบนกราฟ เส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดต่ำสุด / 06f ที่อยู่ไกล้กัน และเส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดสูงสุด 2 จุดที่อยู่ไกล้กัน ราคามักจะเคลื่อนที่เข้าใกล้เส้นแนวโน้มก่อนที่จะเคลื่อนที่กลับเข้าสู่แนว โน้มของมัน หาราคาทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม จะแสดงถึงสัญญาณของการเปลีี่ยนแปลงแนวโน้ม เส้นแนวโน้มจะมีผลเมื่อราคาเคลื่อนที่แตะที่เส้น สาม ครั้ง เป็นอย่างน้อย เส้นแนวโน้มที่ลากได้ยิ่งยาว หมายถึง จำนวนครั้งมากขึ้นของการทดสอบเส้นแนวโน้มและยิ่งทำให้เส้นแนวโน้มมีความ สำคัญมากขึ้น

6.ติดตามเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average)
หมายถึงการ เคลื่อนที่ของเส้นค่าเฉลี่ย( Moving Average) ซึ่งจะบอกถึงราาเป้าหมายที่จะซื้อและขาย เ้ส้นค่าเฉลี่ยนี้จะแสดงให้เห็นว่าราคาอยู่ในแนวโน้มเช่นใด และช่วยยืนยันสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม อย่างไรก็ตามเส้่นค้่าเฉลี่ยไม่ใช่เครื่องมือที่จะบอกล่วงหน้าว่าแนวโน้มกำ ลังจะเปลียน รุปแบบของการใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นที่นิยมคือการใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้น เพื่อหาจุดซื้อ-ขาย ค่าที่นิยมใช้สำหรับเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้คู่กัน คือ period 5 , 10 , 20 , 34, 50 , 89 , 100 , 200 โดยทั่วไปแล้วจะจับคู่กันระหว่างเส้นแนวโน้มระยะสั้น และระยาว เส้นแนวโน้มระยะสั้นจะมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 50 และ เส้นแนวโน้มระยะยาวจะมากกว่า Period 50 สัญญาณการชื้อ ขาย เกิดขึ้นเมื่อ แนวโน้มระยะสั้นตัดกับแนวโน้มระยะยาว เช่น เส้นแนวโน้ม Period 5 ตัดกับ 50 เมื่อตัดกันแล้ว คุณก็ ซื้อ ด้วยเหตนี้ เส้นแนวโน้มค่าเฉลี่ยจึงเหมาะกับตลาดที่อยู่ในช่วงที่มีแนวโน้มที่ชัดเจน หรือตลาด มีเทรน

7. รุ้ถึงจุดที่ตลาดกลับตัว
Oscillators เป็นเครื่องมือที่ช่วงของขอบเขตอยู่ในช่วง 0 ถึง 100 เป็น เครื่องมือที่วัดการแกว่งของตลาด เหมาะ สำหรับตลาด ที่มีเทรนไม่แน่นอน เป็นดัชนีที่ช่วยบ่งชี้จุดที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป ในขณะีี่ที่เส้นค่าเฉลี่ยจะช่วยยืนยันว่าตลาดมีการเปลี่ยนแนวโน้ม Oscillators จะช่วยเตือนล่วงหน้าว่าตลาดเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทางหนึ่งมากเกินไป และทำให้เกิดจุดกลับตัว Oscillator ที่เป็นที่นิยมได้แก่ Relative Strength Index (RSI) และ Stochastic ทั้งสองตัวนี้จัดเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Oscillator เพราะให้ค่าที่อยู่ในช่วง 0 ถึง 100 เมื่อ RSI มีค่าเกิน70 จะแดงว่ามีการซื้อที่มีมากเกินไป ( Overbought)และต่ำกว่า 30 แสดงว่ามีการขายมากเกินไป ( Oversold) ค่า OB และ OS สำหรับ Stochastic คือ80 และ 20 นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ค่า 14 และ 9 สำหรับRSI และ Stochastic ใช้ค่า( 8 3 3 ) ( 14 3 3 ) ( 17 4 8 ) และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความพึ่งพอใจของแต่ละบุคคล สัญญาณการกลับตัวที่เกิดขึ้นใน Oscillator จะเป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดกำลังจะกลับตัว เครื่องมือเหล่านี้ใช้ได้ดีเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับการเล่นเกร็ง กำไร และไม่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจน สัญญาณในระดับสัปดาห์สามารถนำมาช่วยในการขจัดสัญญาณหลอกและยืนยันสัญญาณ ในระดับวัน และใช้สัญญาณในระดับวัน สำหรับยืนยันสัญญาณในรายชั่วโมง

8.มองเห็นสัญญาณเตือน
Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็นดัชนีวัด(พัฒนาโดย Gerald Appel) ที่รวมเอาระบบการตัดผ่านของเส้นค่าเฉลี่ยและการชี้จุด Overbought/Oversold ของ oscillator ไว้ด้วยกัน สัญญาณที่จะซื้อจะเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดขึ้นเหนือเส้นที่ช้ากว่าา โดยทั้งสองเส้นอยู่ต่ำกว่า 0 Zero line สัญญาณขายเกิดขึ้นเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดลงต่ำกว่าเส้นที่ช้ากว่าเหนือ 0 Zero Line สัญญาณในระดับสัปดาห์ จะมีน้ำหนักและความสำคัญมากกว่าสัญญาณในระดับวัน MACD Histogram ซึ่งมาลักษณะเป็นแท่ง แสดงถึงส่วนต่างระหว่างMACD สองเ้ส้น สามารถส่งสัญญาณว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มได้เร็วกว่าอีกด้วย

9. เป็นแนวโน้มหรือไม่เป็นแนวโน้ม
Average Direction Index( ADX) เป็นดัชนี ที่จะบอกว่าตลาดอยู่ในช่วงที่มีแนวโน้มหรือไม่และเป็นตัวช่ยวัดว่าแนวโน้ม อยู่ในระดับใด เส้น ADX ที่ชี้ขึ้นแสดงถึงแนวโน้มที่มีความชัดเจนมาก คงรใช้เส้นค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ หากเส้น ADX ปรับตัวต่ำลง แสดงถึงตลาดที่ไม่มีแนวโน้มและเหมาะสำหรับเกร็งกำไรระยะสั้นคงรใช้ Oscillator ในการวิเคราะห์ การใช้ ADX ช่วยนักลงทุนในการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและในการเลือกใข้เครื่องมือที่เหมาะ สมกับสภาวะตลาด

10. รู้จักการดูสัญญาณเพื่อยนยันแนวโน้ม
สัญญาณที่ให้ การยืนยันรวมถึงปริมาณการซื้อขายและจำนวนการซื้อขายที่มีการลงทุนจากผู้ที่ เข้ามาซื้อขายใหม่(Open Interest) ทั้ง สอง ตัวนี้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการยืนยันแนวโน้มสำหรับตลาดล่างหน้า ปริมาณการซื้อขายมักจะส่งสัญญาณกลับตัวก่อนที่ราคาจะกลับตัว สิ่งสำคัญคือต้องมั่นใจว่ามีปริมาณการซื้อขาย อย่างหนาแน่นในทิศทางเดียว กับแนวโน้มปัจจบัน ในแนวโน้มขาขั้น ควรมีปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นเพื่อยืนยันว่าแนวโน้มนั้นยังแข็งแรงอยู่ ส่วน Open Interest ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยยืนยันว่ามีเงินไหลเข้ามาต่อเนื่องและช่วยหนุนให้แนว โน้มปัจจุบันคงอยู่ หาก Open Interest ลดลง ย่อมเป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มนัั้นใกล้สิ้นสุดลง ดังนั้น ราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นควรมีปริมาณซื้อและ Open Interest หนุนอยู่ด้วย

โค๊ด: [Select]
http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/07/10_11.html

หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17
SMF 2.0.15 | SMF © 2011, Simple Machines
SMFAds for Free Forums